คำศัพท์
  • ภาษาเขมร
  • เกิด - กำหนด
    เกิด ก. เป็น ได้ เกิด ขึ้น อย่างข้างขึ้น
    กํเณีต น. กำเนิด ที่เกิด การการเกิด
    เกิด ก. เป็นขึ้น มีขึ้น
    กำเนิด กำเนิด น.การเกิด
  • ขจัด - กำจัด
    ขฺจาต่ ก. กระจัด พลัด แยก
    กํจาต่ ก. กำจัด ขจัด
    ขจัด ก. กำจัด
    กำจัด ๒ ก. ขับไล่ ปราบ ทำให้สิ้นไป
  • ขเดา - กำเดา
    เกฺฎา ว. ร้อน
    กํเฎา ก. ทำให้ร้อน อุ่นให้ร้อน ไอของร้อน
    เขดา น. กำเดา ความร้อน
    กำเดา น. เลือดที่ออกทางจมูกก เรียกว่าเลือดกำเดา
  • ขลัง - กำลัง
    ขฺลําง ว. มีกำลังที่อาจบันดาลให้เป็นไปได้
    กํลําง น. กำลัง แข็งแรง
    ขลัง ว. มีกำลังหรืออำอาจที่อาจบันดาลให้เป็นไปได้ มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้สำเร็จได้ดังประสงค์
    กำลัง ๑ น. แรง สิ่งที่ทำให้เกิดอำนาจความเข้มแข็ง
  • แขง - กำแหง
    แขง ว.แกล้วกล้า องอาจ วางท่าโก้
    กํแหง ก. ข่มเหง ขู่ตวาด
    แข็ง ว. กระด้าง
    กำแหง ว. แข็งแรง กล้าแข็ง เข้มแข็ง
      ก. อวดดี
  • ครบ - คำรบ
    ครบ่ น. เต็มตามจำนวน ครบ ไม่ขาด
    คํรบ่ คมฺรบ่ ก. ๑. เพิ่มให้ครบจำนวน
        ๒. คำรบ น.ครั้งที่
    ครบ ว. ถ้วน เต็มจำนวนที่กำหนดไว้
    คำรบ น. ครั้งที่
  • แจก - จำแนก
    แจก ก. แจก แบ่ง
    จํแณก น. ส่วนแบ่ง
    แจก ก. แบ่งหรือปันให้แก่คนหลายๆ คน
    จำแนก ก. แจก แบ่ง แยกออก
  • จ่าย - จำหน่าย
    จาย ก. จ่าย
    จํณาย ก. ๑. ใช้ให้คนอื่นจ่ายหรือแจก
         ๒. จำหน่าย
         ๓. ของสำหรับแจกจ่าย
    จ่าย ก. เอาออกใช้หรือให้
    จำหน่าย ก. ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน โอน เอาออก
  • ฉลัก - จำหลัก
    ฉฺลาก่ ก. สลัก
    จมฺลาก่ น. ลายจำหลัก ลายแกะสลัก
    ฉลัก ก. สลัก แกะให้เป็นลวดลาย
    จำหลัก ก. สลัก แกะให้เป็นลวดลาย
  • ชะ - ชำระ
    ชฺระ ว. สะอาด หมดจด ไม่มีมลทิน
    ชํระ ชมฺระ ก. ชำระ ทำให้สะอาด
         ทำให้เสร็จเด็ดขาด
    ชะ ๑. ก. ทำให้สิ่งที่ติดอยู่หลุดไปหรือหมดไปด้วยน้ำ ในลักษณะและอาการอย่างชะแผล ชำระล้างด้วยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น
    ชำระ ก. ชะล้างให้สะอาด
  • ชนะ - ชำนะ
    ณฺนะ ก. ทำให้เขาแพ้
    ชํนะ ชมฺนะ น. ความชนะ
    ชนะ ก. ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งพ่ายแพ้
    ชำนะ ก. ชนะ ทำให้เข้าพ่ายแพ้
  • ชาญ - ชำนาญ
    ชาญ ว. ชาญ
    ชํนาญ ว. ชำนาญ เชี่ยวชาญ
    ชาญ ว. ชำนาญ
    ชำนาญ ก. เชี่ยวชาญ จัดเจน
  • เดิน - ดำเนิน
    เฎีร ก. เดิน
    ฎํเณีร การเดิน ท่าเดิน การดำเนิน เหตุการณ์ เรื่องราวที่ดำเนินไป เรื่องหรือเหตุ
    เดิน ก. ยกเท้าก้าวไป โดยปริยายหมายความว่า เคลื่อนไปด้วยกำลังต่างๆ
    ดำเนิน ๑ ก. เดิน ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงพระดำเนิน
  • ติ - ตำหนิ
    ติะ ก. ติ ติฉินนินทาทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    ตํณิะ น. ตำหนิ คำติเตียน เรื่องอันชวนให้ติเตียน
    ติ ก. ชี้ข้อบกพร่อง
    ตำหนิ น. รอยแผลเป็นหรือไฝปานเป็นต้น ที่เป็นเครื่องหมายให้สังเกตเห็นได้ รอยเสียที่ผลไม้หรือสิ่งของ
  • ตรง - ดำรง
    ตฺรง่ ว. ๑. ตรง ซื่อตรง ตรงๆ ตรงไปตรงมา
         ๒. เวลาเที่ยง
         ๓. ตรง จำเพาะ
    ฎํรง่ ตมฺรง่ ก. ทำให้ตรง เล็งให้ตรง
    ตรง ว. ไม่คิดโค้ง
    ดำรง ก. ทรงไว้ ชูไว้ ทำให้คงอยู่
  • ตรัส - ดำรัส
    ตฺราส่ ก. ๑. ตรัสรู้
         ๒. ตรัส
    ฎํราส่ ตมฺราส่ ก. ดำรัส
    ตรัส ก. พูด
    ดำรัส น. คำพูดของเจ้านาย ใช้ว่า พระดำรัส
         คำพูดของพระมหากษัตริย์ใช้ว่าพระราชดำรัส
  • ตรวจ - ตำรวจ
    ตฺรวต ก. พิจารณาดูให้รู้ถูกผิด บังคับบัญชาให้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง
    ตมฺรวต ฎํรวต ๒​ น. ผู้ตรวจ ตำรวจ
    ตรวจ ก. พิจารณาดูความเรียบร้อย
    ตำรวจ น. เจ้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ
  • บวช - ผนวช
    บวส ก. บวช
    ผฺนวส ก. ผนวช (ราชาศัพท์)
    บวช ๑ ก. ถือเป็นเพศเป็นภิกษุสามเณร หรือนักพรตอื่นๆ
    ผนวช (ราชา) ก. บวช
  • ปรุง - บำรุง
    ปฺรุง ก. ๑. ระวังไว้ล่วงหน้า ตั้งใจ เตรียมตัวไว้
         ๒. ตั้งใจ จงใจ
         ๓. ตระเตรียม จัดแจง
    บมฺรง บํรุง ก. ๑. ตั้งใจ เตรียม
         ๒. จัดเตรียม
    ปรุง ก. ประสมหรือประกอบให้เหมาะส่วน
    บำรุง ก. ทำให้งอกงาม ทำให้เจริญ
  • รำ - ระบำ
    รำ ก. รำ
    รบำ ก. รำ
    รำ ก. แสดงท่าทางเคลื่อนไว้ดดยมีลีลาและ แบบท่าเข้ากับจังหวะเพลงร้องหรือเพลงดนตรี
    ระบำ น. การแสดงที่ใช้ท่าฟ้อนรำ ไม่เป็นเรื่องราว มุ่งความสวยงามหรือความบันเทิง
  • เสียง - สำเนียง
    เสียง ๑ น. เสียง
    สํเนียง น. สำเนียง เสียง น้ำเสียง หางเสียง
    เสียง น. สิ่งที่รับรู้ด้วยหู
    สำเนียง น. เสียง น้ำเสียง หางเสียง วิธีออกเสียง
  • สราญ - สำราญ
    สฺราล ว. เบา
    สํราล ก. ทำให้เบา คลอดลูก
    สราญ ว. สำราญ
    สำราญ ก. สุขสบาย
  • เสร็จ - สำเร็จ
    เสฺรจ ก. จบแล้ว หมดธุระแล้ว
    สมฺเรจ ๑ ก. ทำให้เสร็จ ทำให้แล้วเสร็จ ทำให้เสร็จเด็ดขาด
    เสร็จ ก. จบ สิ้น
    สำเร็จ ก. เสร็จ
  • อาจ - อำนาจ
    อาจ ก. อาจ หาญ กล้า ทำได้ ไม่ถดถอย ไม่กลัวเกรง
    อํณาจ น. อำนาจ ความองอาจความอาจหาญ ความอาจสามารถทำอะไรได้คามใจ
    อาจ ว. อาจ หาญ กล้า ทำได้
    อำนาจ น. ความองอาจ ความอาจหาญ
  • อวย - อำนวย
    อวย ก. ให้
    อํโณย น. การให้ สิ่งที่ให้
    อวย ๑ ก. ให้
    อำนวย ก. ให้
  • ภาษาบาลี
  • คูณ - คำนวณ คำนวณ
    คุณ น. ความดี อนิสงค์ เชื่อก สายธนู การเพิ่ม การทบทวีตามเลขจำนวนใดจำนวนหนึ่ง เช่น เอกคุณ เหมายถึงทบ ๑ เท่า หรือ ๑ ครั้ง (ป., ส.)
    คูณ ก. เพิ่มจำนวนเท่าตัวตามหน่วยที่ต้องการ
      น. เครื่องหมายคูณ
    คำนวณ ก. กะประมาณ คิดหาผลลัพธ์โดยวิธีเลข
    คำนูณ ก. คูณ ทบ ทำให้มากขึ้นตามส่วน
  • เจรจา จรรจา - จำนรรจา
    จรฺจา น. ๑. การท่องจำ การเรียน การอ่านทบทวน
         ๒. การโต้ตอบ การสอบถาม การสืบสวน
         ๓. การสะท้อนกลับ
         ๔. การลูบไล้ร่างกายด้วยขี้ผึ่ง (ส.)
    เจรจา ก. พูด พูดจากัน พูดจากันเป็นทางการ
    จรรจา (กลอน) น. พูด
    จำนรรจา (กลอน) ก. เจรจา พูด กล่าว
  • เจียร - จำเนียร
    จิร ค. นาน ช้า ช้านาย ยืนนาน ยั่งยืน (ป.,ส)
    เจียร ว. นาน ช้านาน ยืนนาน
    จำเนียร ว. นาน ช้า
  • บริบูรณ์ - บริบวรณ์
    ปริปูรณ ก. เต็มพร้อมแล้ว เติมเต็มแล้ว (ส.)
    บริบูรณ์ ก.ครบถ้วน เต็มที่ เต็มเปี่ยม
    บริบวรณ์ (โบ; กลอน) ก. บริบูรณ์
  • ประลัย - บรรลัย
    ปฺรลย น. ๑. การทำลายล้าง การล่มสลาย
         ๒. การสิ้นสุดของกัลป์
         ๓. ความพินาศ
         ๔. ความตาย
         ๕. การสิ้นสติ (ส.)
    ประลัย น. ความตาย ความฉิบหาย ความป่นปี้ ความย่อยยับไป
    บรรลัย ก. ฉิบหาย วอดวาย ย่อยยับ มอดม้วย ประลัย ก็ว่า
  • อนรรฆ - อำรรรฆ
    อนรฺฆ ค. หาค่ามิได้ มีค่าที่ประเมินไม่ได้ มีค่ามากเกินกว่าจะเปรียบ (ส.)
    อนรรฆ ว. หาค่ามิได้ เกินที่จะประมาณราคาได้
    อำนรรฆ (กลอน) ว. หาค่ามิได้ เกินที่จะประเมินราคาได้
  • อมาตย์ - อำมาตย์
    อมาตฺย น. ผู้ทำงานให้รัฐ ที่ปรึกษา มนตรี ข้าราชการ (ส.)
    อมาตย์ น. อำมาตย์ ข้าราชการ ข้าเฝ้า ที่ปรึกษา
    อำมาต, อำมาตย์ น. ข้าราชการข้าเฝ้า ที่ปรึกษา
  • อมรา - อำมรา
    อมร ค. ไม่ตาย (ป.)
      น. เทวดา ผู้ไม่ตาย ปรอท วิมานพระอินทร์ สายสะดือ ครรภ์ เสาเรือน หญ้าแพรก (ส.)
    อมร, อมร- น. ผู้ไม่ตาย เทวดา
    อำมาต, อำมาตย์ ว. ไม่ตาย ไม่เสื่อมสูญ ยั่งยืน
  • อมรินทร์ - อำมรินทร์
    อมร+อินฺทฺร น. ศัพท์สมาสระหว่างคำว่า อมร (ป.,ส.)กับคำว่า อินฺทฺร (ส.) หมายถึงผู้เป็นใหญ่ในหมู่เทวดาคือพระอินทร์
    อมรินทร์ น. พระอินทร์
  • อมฤต - อำมฤต
    อมฤต ค. ไม่ตาย ทำลายไม่ได้
      น. เทวดา. (ส.)
    อมฤต, อมฤต- น. น้ำทิพย์ เรียกว่า น้ำอมฤต เครื่องทิพย์
    อำมฤต น. น้ำทิพย์ เรียกว่า น้ำอมฤต เครื่องทิพย์
  • ภาษาไทย
  • จุ่ง - จ่ง
    จุ่ง ก. จง
    จ่ง (กลอน) ว. จง เป็นคำช่วยกริยา
    จุ่ง ปัจจุบันใช้ในคำประพันธ์
    จ่ง ปัจจุบันใช้ในคำประพันธ์
    จุ่ง-จ่ง ใช้เป็นคำช่วยกริยา
    ในภาษาไทยปัจจุบันใช้ “จง” เป็นคำช่วยกริยาเช่น ทุกคนจงทำแต่ความดี
  • ทุ่ง - ท่ง
    ทุ่ง น. ที่ราบโล่ง
    ท่ง (กลอน) น. ทุ่ง
    ทุ่ง หมายถึง ที่ราบโล่ง เป็นคำนาม ภาษาไทยปัจจุบันยังใช้อยู่
    ท่ง ปัจจุบันใช้ในคำประพันธ์ในความหมายเดิม
  • ทุก - ทก
    ทุก ว. ทั้งหมด โดยหมายแยกเป็นหน่วยๆ
    ทก (โบ) ว. ทุก
    ทุก ปัจจุบันใช้ในคำประพันธ์ในความหมายเดิม
    ทก ปัจจุบันใช้ในคำประพันธ์
  • ฟุ้ง - ฟ้ง
    ฟุ้ง ก. ตลบไป
    ฟ้ง (กลอน) ก. ฟุ้ง
    ฟุ้ง ปัจจุบันใช้ในคำประพันธ์ในความหมายเดิม
    ฟ้ง ปัจจุบันใช้ในคำประพันธ์
  • เช่นไหน - ไฉน
    เช่นไหน ไม่มีความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
    ไฉน ว. ฉันใด เช่นไร อย่างไร
    เช่นไหน ปัจจุบันไม่ปรากฏใช้
    ไฉน ปัจจุบันใช้ในความหมายเดิม
  • เช่นนี้ - ฉะนี้
    เช่นนี้ ว. อย่างนี้
    ฉะนี้ ว. ฉันนี้ เช่นนี้ อย่างนี้ ดังนี้ ดั่งนี้ เพราะฉะนี้ เพราะเหตุนี้
    ปัจจุบันใช้ทั้งสองคำในความหมายเดิม
  • เช่นนั้น - ฉะนั้น
    เช่นนั้น ว. อย่างนั้น
    ฉะนั้น สัน. อย่างนั้น เช่นนั้น
    ปัจจุบันใช้ทั้งสองคำในความหมายเดิม
คำแผลง
คำ และ ความหมายในภาษาเดิม คำ และ ความหมายในภาษาไทยปัจจุบัน