พิณเป็นคำที่มาจากคำว่า วีณา ในภาษาอินเดีย บ้างก็เรียกว่า ซุง ซึ่งเป็นคำโบราณที่พบในวรรณคดีอีสาน มีความหมายตรงกับคำว่าซึงในภาคเหนือ รวมถึง ซุง
หมากโต้ดตง หมากจบปี่ และคำว่า เซาง์ในภาษาพม่า ซึ่งแปลว่าเครื่องดีด
         พิณอิสานทำจากไม้หลายชนิดที่ขึ้นอยู่ตามท้องถิ่นเช่น ไม้ขนุน ไม้ยอป่า ไม้โมกมัน หรือไม้เนื้อแข็ง เช่น พยุง นำมากลึงให้เกิดเป็นรูปกระพุ้ง กว้างประมาณ 25 ซม. หนา ประมาฯ 7-10 ซม. ภายในเซาะโปร่งเป็นกล่องเสียง เชื่อมต่อกับด้ามไม้ยาว เรียกว่า “คอพิณ” ยาวประมาณ 40-50 ซม. ซึ่งด้านหนึ่งปาดเรียบวางชิ้นนำไม้เล็กๆเป็นตำแหน่งของการกดนิ้ว เรียกว่านมพิณ ด้านปลายมีลิ่มไม้สอดเข้ากับตัวพิณ ทำหน้าที่เป็นลูกบิด ผูกโยง ปรับแต่งความตึงของสายตามที่ต้องการ ส่วนสายพิณนั้นทำจากสายห้ามล้อรถจักรยาน จำนวน 2-4 สาย เทียบเสียงเป็นคู่ 4
         ไม้ดีดพิณ ทำจากเขาสัตว์นำมาเหลาเป็นแผ่นบาง
         พิณเป็นเครื่องดนตรีที่เรียบง่ายสามารถนำมาบรรเลงเดี่ยว ประสานเสียงกับหมอลำ หรือประสมกับเครื่องดนตรีอื่น เช่น แคน โปงลาง ก็เป็นที่นิยม