โปงลางเป็นคำที่ใช้เรียกกระดิ่งสำริดที่ใช้แขวนคอวัว โดยเรียกตามเสียงที่ได้ยิน ต่อมามีการนำชื่อเรียกนี้ไปเรียกชื่อลาย(ทำนอง) แคนที่เป่าเลียนเสียงกระดิ่งดังกล่าว ต่อมาก็ได้นำชื่อนี้ไปเรียกเครื่องดนตรีประเภทตีชนิดหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า หมากกะลอ หมากขอลอ หรือหมากกลิ้งกล่อม
         หมากขอลอ หรือ หมากกลิ้งกล่อม ทำจากไม้มะหาด (หมากหาด) หรือไม้หมากเลื่อม นำมาถากให้ได้รูปเป็นแท่งกลมมีขนาดลดหลั่นกันไป ตามเสียงที่ต้องการ ในระบบ 5 เสียง คือ มี ซอล ลา โด เร แล้วนำมาร้อยเชือกผูกแขวนไว้กับหลักไม้ง่ายๆ เช่น ต้นไม้ เถียงนา หรือทำที่แขวนไว้โดยเฉพาะ
         การตีโปงลางนั้น นิยมใช้ผู้บรรเลง 2 คน โดยแต่ละคนจะช้ไม้ตีที่มำจากไม้เนื้อแข็งตีสอดประสนานกัน คนหนึ่งตีเสียงเสพ (ประสานคู่เสียง)ส่วนอีกคนบรรเลงเป็นทำนองเพลงเช่นเดียวกับลายแคน
         การเรียกชื่อแพลงของโปงลาง มักจะเรียกตามลีลาของเพลงที่เกิดจากสังเกตธรรมชาติรอบตัว เช่น นกไส่บินข้ามทุ่ง กาเต้นก้อน เป็นต้น
         โปงลางนอกจากจะใช้บรรเลงเดี่ยวแล้ว ยังนิยมนำไปประสมวงเพื่อการฟังและประกอบการฟ้อนรำอีกด้วย