โหวดเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า ทำจากไม้กู่แคน หรือไม้ไผ่ปล้องเล็กๆ จำนวนประมาณ 7-12 ชิ้น นำมาตัดให้ได้ขนาดลดหลั่นกันไป โดยให้ปลายด้านบนเปิด เป็นตำแหน่งการการวางริมฝีปากเพื่อเป่าลม ปลายด้านล่างใช้ขี้สูด (ขี้ผึ้งตำหรือชันโรง) ปิดให้สนิท ต่างจากในอดีตซึ่งนิยมตัดไม้ให้ติดข้อขังลมไว้ภายในจากนั้นจึงปรับเสียงเป็น 5 เสียง ลดหลั่นตามขนาดความยาวของปล้องไม้ โดยเทียบเสียงให้เข้ากับแคนหรือโปงลาง แล้วจึงนำชิ้นไม่เหล่านั้นมาติดเข้าโดยรอบกับแกนไม้ไผ่ที่อยู่ตรงกลางโดยใช้ขี้สูด ด้านบนของโหวดทำเป็นทรงกลมมนเพื่อรองรับริมฝีปากด้านล่างของผู้เป่า และเพื่อความสะดวกในการหมุนโหวด ซึ่งผู้เป่าต้องหมุนให้เกิดมุมที่เหมาะสม เมื่อออกแรงพอประมาณก็จะเกิดเสียงที่ต้องการ
         ในอดีต โหวดเป็นของเล่น เป็นเครื่องดนตรีที่ของเด็กเลี้ยงควายในชนบท โดยจะนำเชือกมาผูกต่อกับตัวโหวด และถือปลายเชือกให้โหวดแกว่งหมุนรอบๆตัว เกิดเสียงที่ไพเราะเพลิดเพลิน