ฆ้องมอญ เป็นฆ้องที่มีรูปร่างลักษณะแตกต่างจากฆ้องไทย โดยวางตั้งโค้งขึ้นไป มีการแกะสลักประดับกระจกที่สวยงาม มีการผูกฆ้องและวิธีกี่บรรเลงที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นเครื่องดนตรีสำคัญที่ร่วมอยู่ในวงปี่พาทย์มอญ
         ฆ้องมอญมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ
         1.ร้านฆ้อง ร้านฆ้องมอญนั้น ทำจากไม้เนื้อแข็ง 3 ส่วน ขุดเจาะเป็นกล่องเสียง คือส่วนหัว ท้าย และ ตรงกลาง แล้วจึงนำมาประกอบกัน
         บริเวณด้านนอกของร้านฆ้อง แกะสลักลวดลายตามที่นิยม ลงรักปิดทอง ประดับกระจก ด้านหนึ่งแกะเป็นรูป กินนร เรียกว่าหน้าพระ (อยู่ด้านซ้ายของผู้บรรเลง) ส่วนปลายอีกด้านแกะเป็นรูปปลายหางของกินนร ด้านล่างของหน้าพระและปลายหาง ติดห่วงโลหะทั้งสองด้านไว้สำหรับสอดคานไม้เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย ตอนกลางของร้านฆ้องมีแผ่นไม้วางรองรับ เช่นเดียวกับเท้าของระนาดเอก
         2.ลูกฆ้อง ฆ้องมอญวงเล็กนั้น มีลูกฆ้องทั้งสิ้นจำนวน 15 ลูก ทำจากโลหะ ที่หรือหล่อขึ้นรูปเช่นเดียวกับฆ้องไทย แต่อาจจะมีเนื้อฆ้องที่บางกว่า เทียบเสียงโดยการถ่วงตะกั่วที่ใต้ลูกฆ้องแล้วถูกเข้ากับร้าน โดยเรียงเสียงตามลำดับเช่นเดียวกับฆ้องไทย (ไม่เว้น "หลุม" เช่นฆ้องมอญวงใหญ่)
         3.ไม้ตีฆ้องมอญวงเล็ก ทำจากไม้ไผ่แก่จัด เสียบทะลุแป้นหนังที่ตัดเป็นวงกลมเช่นเดียวกับฆ้องไทยวงเล็ก