คำ “Perfume” ที่แปลว่า “น้ำหอม”มาจากคำภาษาละตินว่า “per” แปลว่า “ผ่าน ตลอด” และคำว่า “fume” แปลว่า “ควัน” อาจหมายถึงวิธีการทำน้ำหอมที่มีการกลั่น ศิลปะการทำน้ำหอมเริ่มต้นในเมโสโปเตเมีย มีหลักฐานที่เก่าแก่ คือจารึกรูปลิ่ม อายุประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตกาล ที่กล่าวถึงนักเคมีสตรีชื่อ Tapputi ว่ากลั่นดอกไม้ น้ำมัน แป้ง และพืชอื่นๆในเครื่องกลั่นหลายครั้ง และในอียิปต์ มีหลักฐานว่าพระนางคลีโอพัตราใช้น้ำหอมมาก ใส่แม้บนใบของเรือสำราญที่แล่นล่องไปตามแม่น้ำไนล์ ต่อมาชาวโรมันและเปอร์เซียนำมาพัฒนาให้ดีขึ้นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่เกี่ยวกับน้ำหอมในประเทศอินเดียอยู่ในคัมภีร์อายุรเวทจรกสังหิตา อายุก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 7 ที่กล่าวถึงการกลั่นน้ำหอมจากกุหลาบ
เมื่อไม่นานมานี้มีนักโบราณคดีได้ขุดพบหลักฐานเกี่ยวกับน้ำหอมที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดใน Pyrgos ในไซปรัส พบน้ำหอมที่มีอายุเก่ากว่า 4000ปี เก็บอยู่ในโรงกลั่นน้ำหอมโบราณ มีขนาด 4000 ตารางเมตร ได้ค้นพบเครื่องกลั่นถึง 60 เครื่อง และมีชามผสมเครื่องปรุง กรวย และขวดน้ำหอม
ในสมัยโบราณน้ำหอมทำจากดอกไม้ สมุนไพร และเครื่องเทศ เช่น อัลมอน ลูกผักชี เมอเทิล ยางสน เบอกามอท ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 นักเคมีชาวอาหรับ ชื่อ Al-Kindi (หรือ Ibn Sina) ได้แนะนำวิธีการสกัดน้ำมันจากดอกไม้ด้วยวิธีการกลั่น ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน เขาทดลองกับดอกกุหลาบก่อน ก่อนหน้านี้น้ำหอมทำจากส่วนผสมของน้ำมันกับสมุนไพร หรือ ใบไม้ บด และคั้น มีกลิ่นฉุนมาก น้ำกุหลาบมีกลิ่นนุ่มนวลกว่า จึงเป็นที่นิยมทันที ทั้งวัตถุดิบและวิธีการกลั่นที่เขาใช้มีอิทธิพลต่อการทำน้ำหอมของชาวตะวันตกมาก และพัฒนา ด้วยความรู้ทางวิชาเคมี
การเผยแผ่ของศาสนาอิสลามทำให้ความรู้เรื่องน้ำหอมแพร่มาถึงยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 14 แต่ผู้ที่ผลิตน้ำหอมสมัยใหม่ คือชาวฮังการี ทำจากส่วนผสมของน้ำมันหอมผสมกับสารละลายแอลกอฮอล์ น้ำหอมสมัยใหม่ผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ. 1370 ตามพระบัญชาของพระราชินี Elizabeth ของฮังการี และเป็นที่รู้จักทั่วยุโรปในชื่อว่า Hungary Water
ศิลปะการทำน้ำหอมพัฒนาขึ้นมากในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) ของอิตาลี และในคริสต์ศตวรรษที่ 16 Rene le Florentin ช่างทำน้ำหอมส่วนพระองค์ของพระราชินี Catherine de Médici แห่งฝรั่งเศสได้นำศาสตร์นี้ไปใช้ ประเทศฝรั่งเศสได้กลายเป็นศูนย์กลาง ของการผลิตน้ำหอมและเครื่องสำอางอย่างรวดเร็ว ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เริ่มมีการปลูกดอกไม้เพื่อเอากลิ่น และปลูกมากระดับอุตสาหกรรม ในทางภาคใต้ของฝรั่งเศส ในสมัยฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม (ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 16) วัตถุประสงค์หลักของการใช้น้ำหอมคือเพื่อกลบ กลิ่นตัวที่เกิดจาการไม่ค่อยได้อาบน้ำ ด้วยเหตุนี้จึงเกิดอุตสาหกรรมการผลิตน้ำหอมขึ้นในตะวันตก ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เริ่มมีการปลูกพืช หอมต่างๆในเมือง Grasse ทางใต้ของฝรั่งเศส เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำหอมที่เติบโตขึ้น ปัจจุบันฝรั่งเศสยังเป็นศูนย์กลางของการคิดค้นสูตรและการผลิตน้ำหอมอยู่
ในประเทศไทยมีหลักฐานว่า ไทยนิยมใช้น้ำหอมตะวันตกมากในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ดังปรากฏมีฉลากน้ำหอมที่มีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ และบางครั้งอยู่คู่กับพระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถอยู่บนสลากน้ำหอมที่ผลิตในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษ (ดูฉลากเลขที่ 114 118 119 และ 120) และมีฉลากที่มีรูปช้างของสยามที่ผลิตในประเทศเยอรมนี (ดูฉลากที่ 65) นอกจากนั้นยังมีการจำหน่ายน้ำหอมอย่างแพร่หลายในกรุงเทพฯ ดังปรากฏฉลากเลขที่ 612 ที่มีพรบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 บนฉลากที่มีข้อมูลว่า จำหน่ายในกรุงเทพฯ รวมทั้ฉลากเลที่ 614 ที่มีรูปเงาะคนังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงชุบเลี้ยง และฉลากเลขที่ 117 มีรูปนางฟ้าแต่งกายแบบนางละครไทย ที่ผลิตในอิตาลี และบริษัท G. Kluzer Co.Bangkok นำเข้ามาจำหน่าย และที่สำคัญมีฉลากเลขที่ 113 มีพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถ มีข้อความเป็นภาษาไทยบอกชื่อบริษัทว่า "อี,เอม ฮูเซ็นแอนโก ถนนราชวงษ"
ในพระราชนิพนธ์เรื่อง ไกลบ้าน ในพระราชหัตถเลขาฉบับวันจันทร์ที่ 15 เมษายน 2540 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล่าว่าเมื่อเรือโดยสารพระที่นั่งซักซันออกจากเกาะลังกา มากลางทะเล ประจวบกับเป็นเวลาสงกรานต์ ทรงไม่มีน้ำอบไทย จึงใช้น้ำอบฝรั่งสรงน้ำพระพุทธรูป และพระบรมอัฐิ และในโอกาสหนึ่งได้พระราชทาน "น้ำอบฝรั่ง" แก่เจ้าพระยาสุรวงศ์ซึ่งมีอายุแก่กว่าพระองค์ ในวรรณคดีไทยเรื่อง โครงรามเกียรติ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้นักปราชญ์ราชบัญฑิตในรัชสมัยช่วยกันแต่งเพื่อจารึกไว้บนแผ่นศิลาในระเบียงคด วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อบรรยายภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง