เนื่องจากเมืองไทยอยู่ในเขตร้อนและชุ่มชื้น และมีพรรณไม้หลายชนิดที่มีกลิ่นหอม และสามารถนำส่วนต่างๆ มาใช้ประโยชน์ได้ เช่น
เราจะนำเครื่องหอมที่ได้จากสัตว์มาใช้ร่วมกับเครื่องหอมที่ได้จากพืช แต่จะใช้จำนวนน้อยกว่าเครื่องหอมจากพืช เพราะเครื่องหอมจากสัตว์จะเป็นตัวจับกลิ่นทำให้ความหอมของกลิ่นหอมทนทาน จึงไม่จำเป็นต้องใช้มาก
เครื่องหอมที่ได้จากสัตว์ มักจะได้จากต่อมในตัวสัตว์ อาทิ ต่อมที่อยู่บริเวณใกล้กับอวัยวะเพศตัวผู้ของชะมดเช็ด น้ำมันหอมจากต่อมน้ำมันในตัวบีเวอร์ น้ำมันหอมที่ได้จากมูลปลาวาฬ เรียกว่า "อำพัน"(เป็นของเสียที่ออกมาจากสำไส้ปลาวาฬ ถ้าถูกกับอากาศจะแข็งตัว ลอยอยู่บนผิวน้ำในทะเล) ซึ่งมีราคาแพง โดยเฉพาะอำพันสีเทาจะมีกลิ่นหอมมาก และมีคุณภาพดีที่สุด แต่การนำเครื่องหอมที่ได้จากสัตว์มาใช้นั้นไม่สามารถนำมาใช้ได้ทันที เหมือนเครื่องหอมที่ได้จากพืช โดยเฉพาะเครื่องหอมจากชะมดเช็ด พี่พบได้ในประเทศไทยนั้น ก่อนจะนำมาใช้ต้องทำการ "ฆ่าชะมดเช็ด" เสียก่อน
วิธีฆ่าชะมดเช็ด ชะมดเช็ดเป็นเครื่องหอมที่ได้มาจากต่อมใกล้อวัยวะเพศตัวผู้ของตัวชะมด ต่อมนี้จะมีกลิ่นสาบ ถ้านำมาใช้เลยจะไม่หอม จึงต้องผ่านกรรมวิธีทำให้หอมเสียก่อน ซึ่งเรียกว่า "การฆ่าชะมด" ทำโดยนำใบพลูสด(ใบพลูที่เคี้ยวกับหมาก)มาพับเป็นกรวย เอาด้านหลังใบให้อยู่ในกรวย ใช้ไม้เล็กๆ เช่น ไม้ก้านธูป หรือไม้เสียบลูกชิ้นปิ้ง ฯลฯ ตักชะมด ซึ่งมีลักษณะข้นเหลวคล้ายครีม ใช้ ขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว วางบนริมใบพลู บีบ น้ำมะกรูดลงไปบนก้อนชะมดพอท่วม จุดเทียนไข นำใบพลูที่มีชะมด และน้ำมะกรูดไปลนบนเปลวเทียน โดยไม่ให้ถูกเปลวไฟโดยตรง พอให้ได้ไอร้อน จนชะมดและน้ำมะกรูดเดือดเข้ากันดี เป็นน้ำมันลอยขึ้นมานำน้ำส่วนนี้ไปใช้งาน ส่วนที่ตกตะกอนอยู่บนในใบพลูทิ้งไปไม่นำมาใช้ ชะมดเช็ดนี้มักนำมาใช้กับเครื่องหอมไทย เช่น การทำน้ำอบไทย แป้งร่ำ เป็นต้น
เครื่องหอมสังเคราะห์ เป็นเครื่องหอมที่มนุษย์ปรุงแต่งจากสารเคมี ทำเลียนแบบ กลิ่นธรรมชาติ เช่น กลิ่นกุหลาบ กลิ่นมะลิ กลิ่นกระดังงา เป็นต้น