สารบัญ
ตรากรมศึกษาธิการ

กรมศึกษาธิการ ใช้ตราประจำแผ่นดินสยามหรือพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินสยามเป็นตราของกรมศึกษาธิการและเมื่อเป็นกระทรวงธรรมการก็ยังคงใช้ตราดังกล่าวนี้ระยะหนึ่งก่อนเปลี่ยนมาเป็นตราเสมาธรรมจักร ตราประจำแผ่นดิน (ตราอาร์ม) นี้เริ่มใช้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสวกเอก หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย ผูกตราประจำแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ ตราแผ่นดินนี้ใช้ประทับหรือพิมพ์ในเอกสารของทางราชการ เช่น ราชกิจจานุเบกษา ปกแบบเรียนของกรมศึกษาธิการและประกาศนียบัตรกระทรวงธรรมการ เป็นต้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอม- เกล้า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบขึ้นใหม่เป็นตราพระครุฑพ่าห์ เพื่อใช้เป็น ตราประจำชาติแทนตราแผ่นดินเดิมตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นต้นมา ด้วยมีพระราชดำริว่า ตราอาร์มที่ใช้เป็นตราแผ่นดินนั้นเป็นอย่างฝรั่ง เกินไป ตราพระครุฑพ่าห์นี้ได้แทนตราแผ่นดินเดิมได้ทั้งหมดใน พ.ศ. ๒๔๕๓ อย่างไรก็ตาม ตราแผ่นดินเดิมยังคงใช้ในบางหน่วยงานมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ตราหน้าหมวกตำรวจในปัจจุบัน เป็นต้น

รายละเอียดตราประจำแผ่นดินสยาม

ตำแหน่ง ภาพ ความหมาย ส่วนบนสุดตรงกลาง พระมหาพิชัยมงกุฎ ความเป็นพระมหากษัตริย์ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ตรามหาจักรี พระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี ด้านซ้ายและด้านขวาของ พระมหาพิชัยมงกุฎ รูปฉัตร ๗ ชั้น เครื่องหมายแห่งราชาธิปไตย ใต้ตรามหาจักรี รูปโล่แบ่งเป็น ๓ ห้อง ห้องบน - ช้าง ๓ เศียร พื้นโล่สีเหลือง ห้องล่างขวา - ช้างเผือก พื้นโล่สีแดง ห้องล่างซ้าย - ภาพกริชคดและกริชตรงไขว้ พื้นโล่สีชมพู สยามเหนือ สยามกลาง และสยามใต้ ประเทศราชลาว ล้านช้าง (กรุงศรีรัตนคนหุต) หัวเมืองประเทศราชมลายู สัญลักษณ์รวมหมายถึงขอบขัณฑสีมาของ สยามในเวลานั้น ใต้ฉัตรด้านขวา คชสีห์ประคองฉัตร ข้าราชการฝ่ายกลาโหม (ฝ่ายทหาร) ใต้ฉัตรด้านซ้าย ราชสีห์ประคองฉัตร ข้าราชการฝ่ายมหาดไทย (ฝ่ายพลเรือน) ส่วนล่างของตราประกอบด้วย สายสร้อยจุลจอมเกล้าพร้อมดวงตรา การบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญอันเป็นภาษิตของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าซึ่งรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้ปฏิบัติราชการด้วยความซื่อสัตย์ต่อ แผ่นดิน พระมหาสังวาลนพรัตน์ รัตนราชวราภรณ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานแก่ผู้ที่กระทำคุณงามความดีต่อชาติ คาถาภาษาบาลีจารึกบนแพรแถบด้วยอักษรไทย ความว่า "สพฺเพสํ สงฺฆ ภูตานํ สามคฺคี วุฑฒิ สาธิกา" ความพร้อมเพรียงของบุคคลทั้งปวงผู้อยู่เป็นหมวดหมู่กัน ย่อมเป็นเครื่องทำความเจริญให้สำเร็จ เครื่องหมายประกอบอื่น ๆ แทรกอยู่ในตรา เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๕ ประการ เครื่องหมายแห่งความเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยสมบูรณ์ -ส่วนบน -พระมหาพิชัยมงกุฎ -บนมุมซ้ายของโล่ -พระแสงขรรค์ชัยศรีและพระแส้หางจามรี -บนมุมขวาของโล่ -ธารพระกรและพัดวาลวิชนี -ริมฐานฉัตร -ฉลองพระบาทเชิงงอน -เบื้องหลังตราแผ่นดินเป็นจีบคล้ายผ้าม่าน -ฉลองพระองค์ครุยทอง รอบองค์พระราชลัญจกรมีอักษรตามขอบ "สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทร เทพยมหามกุฎ พระจุลจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม" พระนามรัชกาลที่ ๕

อนึ่ง สาเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนตราประจำชาตินั้น นอกจากสาเหตุตามพระราชดำริดังกล่าวแล้ว ยังมีผู้กล่าว ว่าน่าจะมีสาเหตุอันเนื่องมาจากการสูญเสียประเทศราชทั้งลาว เขมร และมลายูในสมัยของพระองค์ จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงตราแผ่นดินดังกล่าว

หน้า จาก ๘ หน้า