สารบัญ
กระบวนพยุหยาตราทางสถลมารคในการเสด็จพระราชทานผ้าพระกฐิน

การจัดกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารคเพื่อพระราชดำเนินพระราชทานผ้าพระกฐินนั้นต้องใช้ผู้คนและสัตว์พาหนะคือช้าง ม้าจำนวนมาก และมีการใช้ราชรถร่วมด้วย การจัดกระบวนดังกล่าวนี้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา และปรากฏหลักฐานในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์ไว้คือ กระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทางสถลมารค ซึ่งประกอบด้วยกระบวนเดินเท้า กระบวนช้าง กระบวนม้า และกระบวนรถ ซึ่งประทับพระมหาพิชัยราชรถ ซึ่งกระบวนดังกล่าวนี้ได้ยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 4โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้

กระบวนเดินเท้า 2,231 คน ประกอบด้วย
พลรบ 15 หมู่

กระบวนหน้า หมู่ละ 80 คน       รวม 1,200  คน

กระบวนหลัง หมู่ละ 40  คน     รวม 600   คน

ถือธงนำริ้ว

กระบวนหน้า    ธง 9 ชาย  1   ธง

ธง 9 ชาย  2   ธง

ธงมังกร  28  ธง

กระบวนหลัง     ธงมังกร  30   ธง  รวมทั้งหมด 61  คน

 คนตีหามปี่พาทย์

กระบวนหน้า  126  คน

กระบวนหลัง    54  คน

 กลองแขกคนตีหาม

กระบวนหลัง    9  คน     รวม  189  คน

 ขุนหมื่นกรมไพร่หลวง เป็นสารวัตร

กระบวนหน้า        120 คน

กระบวนหลัง    60  คน      รวม 180 คน

กระบวนช้าง 2,043 คน ประกอบด้วย

คนแห่พญาช้าง 21 คน ในกระบวน 805 คน

ขุนหมื่นกรมช้าง สารวัตร 21 คน รวม 826 คน

กระบวน วานรเผือก 6 กระบวน กระบวนละ 5 คน รวม 30 คน

กลองชนะแห่ช้าง ไพร่ 6 จ่าปี่1 จ่ากลอง1 สารวัตร6 รวม 14 คน

ถือธงฉานนำกลองชนะ 16 คน

คนขี่ช้างในกระบวน 21 คน ขุนนางขี่ช้าง ช้างแทรก 21 คน

คนขี่ช้างท้ายขุนนาง 21 คน กลางช้างคชาธาร 4 คน

ถือทวน 8 คน คนเดินรักษาช้างขุนนาง 21 คน

ทนายตามขุนนาง 21 คน คนในกระบวน 1,040 คน รวม 1,157 คน

กระบวนม้า 454 คน ประกอบด้วย

คนแห่กระบวนถือเครื่องแห่ 146 คน

ธงตะขาบนำกลองชนะ 8 คน กลองชนะ 10 คน

จ่าปี่ 1 คน กลองมลายู 11 คน

คนขี่ม้า ขุนนางกรมม้า 22 คน ขุนหมื่นมหาดไทย ถือธงนำริ้ว 22 คน

ขุนหมื่นกรมม้า 100 คน มหาดเล็กขี่ม้า เปนสารวัตร 10 คน

ขุนหมื่นตามกรมเป็นสารวัตเดิน 14 คน ปี่พาทย์จีน 14 คน

คนจูงม้าต้น 24 ตัวๆละ 4 คน รวม 96 คน

กระบวนรถ 65 คน ประกอบด้วย

ถือธงตะขาบนำรถฝรั่ง 12 คน ขุนหมื่นตำรวจขี่รถ 28 คน

ขุนหมื่นกรมนาเปนสารถี 15 คน ขุนหมื่นกรมม้าเปนสารถี 10 คน

รถที่เข้ากระบวนนั้นมีทั้งเทียมด้วยม้า ด้วยโค ด้วยกระบือ ด้วยอูฐ และด้วยลา

ส่วนกระบวนแห่ผ้าพระกฐินครั้งสมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่เสด็จประทับบนพระมหาพิชัยราชรถ แต่เป็นกระบวนอย่างย่อนั้น มีการจัดกระบวนหน้า 493 คน เริ่มต้นกระบวนหน้าด้วย
ทหาร ปี่ กลองชนะ
15 คู่      30 คน
แตรงอน 3 คู่         6  คน
แตรวิลันดา 3 คู่         6 คน
สังข์งอน 1 คน
ปืนคาบชุดตำรวจในซ้าย 25         ตำรวจในขวา           25
ตำรวจใหญ่ซ้าย 25         ตำรวจใหญ่ขวา         25
ถือแหลนอาสาซ้าย 20         อาสาขวา            20
เขนทองอาสาซ้าย 20         อาสาขวา            20
อาสาพระยาเดโช 20         อาสาพระยาท้ายน้ำ               20
ธงสามชาย หมู่สี่ตำรวจ        อาสาหกเหล่า       ทหารใน  80
พลเรือนเดินเท้า 100
กระบวนเสด็จ ให้ทหารเกณฑ์ เจ้ากรม ปลัดกรม หัวหมื่น ตัวสี พันทนาย ตำรวจเลว แห่เสด็จ ๒๒๒ คน เป็นกระบวนดังนี้
นำริ้ว พระยาเทพอรชุน พระยาราชนิกูล ตำรวจในซ้าย        30          ตำรวจในขวา         30
ตำรวจใหญ่ซ้าย     30         ตำรวจใหญ่ขวา     30
ตำรวจนอกซ้าย     30          ตำรวจนอกขวา      30
สนมทหารซ้าย      20          สนมทหารขวา       20
กระบวนหลัง 250 คน   นำโดย หลวงนรินทรเสนี
ทหารในซ้าย          30       ทหารในขวา           30
เจ้ากรมทหารบ้านใหม่          เจ้ากรมทหารโพธิ์เรียง
พลพันซ้าย              5        พลพันขวา                5
ทนายเลือกซ้าย           20    ทนายเลือกขวา       20
ปืนท้ายที่นั่ง              36
หลวงวาสุเทพ         1          หลวงพิศณุเทพ  1 หลวงศรีสหเทพ 1
ทนายเลือกแสงปืน                10
ระหว่างทางเสด็จ มีตำรวจในถือหอกจุกช่องตามตรอกถนน ช่องละ 2 คน รวม 60 คน ตำรวจในซ้าย 14 ช่อง รวม 28 คน ตำรวจในขวา 16 ช่อง รวม 32 คน เสด็จขึ้นวัดแล้ว มีพระยาสีหราชเดโช หลวงไกรเทพ ขุนจงพยุหะ ตามเสด็จคอยกราบทูลพระกรุณา
๑๐
หน้า ๑๐ จาก ๑๑ หน้า