สารบัญ
กระบวนพยุหยาตรา(ใหญ่) สถลมารค

กระบวนพยุหยาตรา(ใหญ่)สถลมารคจัดเป็นกระบวนสำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จเลียบพระนครในการ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกและเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชพิธีอื่นๆ มีแบบอย่างมาตั้งแต่ครั้งกรุง ศรีอยธุยาเป็นราชธานี ถือว่าเป็นกระบวนแห่ใหญ่ที่งดงามสมพระเกียรติยศแห่งองคพ์ระมหากษัตริย์ มีการนำ รูปริ้วกระบวนแห่ไปเขียนเป็นภาพที่ฝาผนังโบสถ์วัดยม ซึ่งเป็นต้นแบบของสมุดภาพนี้ และยังเขียนไว้ที่วัด ประดู่ทรงธรรมอีกแห่งหนึ่งด้วย และแม้จะเป็นกระบวนพยุหยาตรา(ใหญ่)สถลมารคเช่นเดียวกันแต่จิตรกรรม ฝาผนังทั้งสองแห่งก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน

กระบวนพยุหยาตรา(ใหญ่)สถลมารคมีริ้วกระบวนแบ่งออกได้เป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 กระบวนนำมีทหารกรมกองต่างๆ เดินเรียง 8 ตอนที่ 2 เป็นกระบวนพระราชอิสริยยศ ตอนที่ 3 เป็นกระบวนทหารตาม


กระบวนหน้า

ทหารในกระบวนหน้า และกระบวนหลัง เป็นทหารเหล่าต่างๆ ที่มีอยู่ในแต่ละสมัย สมัย ต้น กรุงรัตนโกสินทร์มีการใช้พวกอาสาเหล่าต่างๆ ทุกเหล่าเข้าร่วมในกระบวน แต่งเครื่องเสนากุฎเข้ากระบวนตาม ข้อความที่ปรากฏในโคลงปราบดาภิเษกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้นั้น ปรากฏเหล่าทหารอาสา 9 เหล่าคือ

อาสาเกณฑ์หัดพื้น พันทนาย แบกคาบศิลาปลาย หอกห้าว อาสาธนูตะพาย แล่งลูก แลพ่อ ชาญท่าก่งเหนี่ยวน้าว ยุทธแย้งยิงไว อาสาอาทมาดล้วน ทวนทิว พิศพู่ดาษแดงปลิว บดฟ้า อาสาญี่ปุ่นกริว กรูกราด ไปแฮ มือกระลึงง้าวหง้า ฮึกเหี้ยหาญณรงค์ อาสาดาพคู่ค้า เศิกพัง เดิรดาษดาประดัง อัดเอื้อ อาสาโล่ล้อมวัง บ่าแบก ตาวพ่อ งามสง่าห้าวเหื้อ หักข้อศึกสยอง อาสาแน่นขนัดตั้ง ทองดาษดาแฮ ล้วนแต่ใจสุรกาจแก่งกล้า อาสาส่ำเขนมาศ หมู่คล่ำคลาพ่อ หาญทะลวงร่านร้า บ่อนเกล่าดัากร อาสาพวกพื้นแขก จามุหงิด เสื้อวิลาศทองตะบิด โพกเกล้า หอกคู่กระลึงกฤช ปีเหนาะเหน็บ นาพ่อ ไวว่องกลคลุกเคล้า พุ่งซ้องสอดแทง

กระบวนทหารเหล่านี้ในรัชกาลต่อมามีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ดังจะเห็นได้ว่าในสมัยปัจจุบัน เมื่อมีการจัดกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารคก็มิได้มีเหล่าทหารอาสาและมิได้แต่งกายหรือถืออาวธุดังแต่ก่อน อีกต่อไป


กระบวนพระราชอสิริยยศกระบวนที่ 2 นี้เป็นกระบวนพระราชอิสริยยศตามโบราณราชประเพณีผู้เข้ากระบวนแต่งกายด้วยเครื่อง แต่งกายโบราณเป็นส่วนใหญ่ แบ่งริ้วกระบวนเป็นสองริ้วคือริ้วซ้ายและริ้วขวาเดินแยกคนละฟากถนน และใน ริ้วหนึ่งจัดกระบวนเดินเท้าสี่สาย จึงเป็นที่มาของการเรียกกระบวนพยหุยาตราใหญ่ว่ากระบวนพยุหยาตราสี่สาย ดังนี้

ประตูหน้า 2 นาย เดินนำต้นกระบวน
ธงสามชาย 1 คู่ เป็นธงเครื่องหมายกระบวนทัพ หลวงมี นายทา้ยชา้งเป็นผู้เชิญธงละ 2 คนผลัด ในบางรัชกาล จัดธงสามชายถึง 3 ธง
นำริ้วกระบวน 2 นาย เดินนำริ้วทั้งขวาและซ้าย ริ้วละ 1 นาย
มโหระทึก 4 มีคนหามมโหระทึกละ 4 นาย คนตี 1 นาย รวมคนหาม 16 คนตี 4
ตำรวจหลวง 160 นาย เดินเรียงเดี่ยวเป็นสายนอกสุดของริ้ว
มหาดเล็ก 160 นาย เดินเรียงเดี่ยวในสายที่ 2 ของริ้วคู่กับ ตำรวจหลวง
กลองชนะ เขียวลายเงิน 40 เดินคู่ในริ้วซ้ายสายใน
เงิน 40 เดินคู่ต่อจากกลองชนะเขียวฯ
แดงลายทอง 40 เดินคู่ในริ้วขวาสายใน
ทอง 40 เดินคู่ต่อจากกลองชนะแดงฯ
สารวัตรกลอง2นาย -
จ่าปี่ 2 นาย ทำหน้าที่บรรเลงในการเดินกระบวน เพลงที่ใช้มีเพลงปฐม เพลงแขกไทร เพลงสมิงทอง และขึ้นพลับพลา
จ่ากลอง 2 นาย ทำหน้าที่ตีเปิงมางให้จังหวะการประโคมกลองชนะทั้งสารวัตรกลองจ่าปี่จ่ากลองเดินในแนวกึ่งกลาง ระหว่างริ้วกลองชนะ
แตรฝรั่ง 20 นาย เดินเป็นคู่ต่อจากกลองชนะ ริ้วละ 5 คู่
แตรงอน 32 นาย เดินเป็นคู่ต่อจากแตรฝัร่ง ริ้วละ 8 คู่
สังข์ 8 นาย เดินเป็นคู่ต่อจากแตรงอน ริ้วละ 2 คู่
สารวัตรแตร 1 นาย เดินกลางกระบวนระหว่างริ้วแตร-สังข์
เครื่องสูงหน้า เป็นเครื่องสูงหัก ทองขวาง
ฉัตร 5 ชั้น 12 เชิญอยใู่นริ้วซา้ยและขวาริ้วละ 6
บังแทรก 10 เชิญสลับอยใู่นระหว่างฉัตร 5 ชั้น ริ้วละ 5
ฉัตร 7 ชั้น 2 เชิญต่อจากฉัตร 5 ชั้น ริ้วละ 1 เครื่องสูงนี้ใชค้นเชิญ 2 ผลัด ทั้งคนเชิญและผู้ผลัดเดินกันไปเป็นคู่ๆ
กำกับเครื่องสูงหน้า 2 นาย เดินต่อจากคนเชิญฉัตร 7 ชั้นริ้วละ 1 นาย
พระแสงหว่างเครื่องหน้า 12 มหาดเล็ก หลวง 12 นายเป็นผู้เชิญอยู่ระหว่างกลางของริ้วเครื่องสูงหน้า
กำกับพระแสงหว่างเครื่องหน้า 1 เดินต่อจากผู้เชิญพระแสงหว่างเครื่อง
เศวตฉัตรกรรภิรมย์1สำรับ ฉัตรสำรับหนึ่งมี 3 องค์เรียกชื่อว่าพระ เสมาธิปัต 1 พระฉัตรชัย 1 พระเกาวพ่าห์ 1 แต่ละองค์เป็นฉัตร 5 ชั้น ทรงชะลูด ทำด้วยผา้ขาวลงยันต์สำหรับเป็นเครื่องรางป้องกัน สรรพภัยต่างๆ นอกจากใชใ้นกระบวพยุหยาตราใหญ่ สถลมารคแล้วยังใชใ้นพิธีเกี่ยวกับคชกรรมด้วย
กรับสัญญาณ 1 นาย -
ผู้บอกกระบวน 1 นาย ทั้งสองนี้เดินหลังผู้เชิญพระเสมาธิปัตและ พระฉัตรชัยในระยะห่างพอสมควร
สมุหพระราชพิธีหรือผู้อำนวยการกระบวน เดินกลางกระบวนในแนวเดียวกับผู้เชิญพระเกาวพ่าห์
พราหมณ์เป่ าสัง ข์ 2 นาย เชิญธงชัยกระบี่ธุชและธงชัยพระครุฑพ่าห์นำเสด็จฯ สมัยก่อนสังฆการีเป็นผู้เชิญมาเปลี่ยนในสมัยรัชกาลที่ 6
ราชองคัรกษ์ เป็ นพระราชยานที่ทรง มีคนหาม 3 ผลัด ผลัดละ 16 นาย มีคนถือม้ารองพระราชยาน 4 นาย มีเจ้าหน้าที่กำกับพระที่นั่ง 1 นาย
พระที่นั่งพุดตานทอง -
เจ้าพนักงานภษูามาลา เชิญ -
พัด โบก 1 -
บังพระสูรย์ 1 -
พระกลด 1 ตามพระราชประเพณีโบราณใช้กรมวังผู้ใหญ่ เช่น จมื่นจงภัก ดีองค์และจมื่นจงรักษาองค์ เจ้ากรมวังขวา กรมวังซา้ย เป็นผู้เชิญ
กรมวังเชิญพระทวยรองพระสุพรรณศรีบัวแฉก 1 -
มหาดเล็ก 4 นายเชิญพระแสงรายตนี ตอง -
เดิน 4 มุมพระที่นั่งพุดตานทอง เสนาบดีจตุสดมภ์และปลัดทลูฉลอง ต่อมาในบางรัชกาลโปรดให้อุปราชและสมุหเทศาภิบาลมณฑลต่างๆ เป็นคู่เคียงด้วย
ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เดินเป็นคู่เคียงพระราชยาน คู่เคียงนี้ในสมัยโบราณเป็นหน้าที่ของสองข้าง ๆ ละ 8 นาย เดินคู่กับคู่เคียงทั้งเบื้องซ้ายและเบื้องขวาของพระราชยาน แต่อยู่แนวนอกของริ้วคู่เคียง
ราชองค์รักษ์ 16 นาย เดินแนวนอกของริ้วราชองครักษ์ทางเบื้องขวาพระราชยาน
พรหม–เชิญทวน 8 นาย เดินแนวนอกของริ้วราชองครักษ์ทางเบื้องซ้ายพระราชยาน
อนิทร–เชิญทวน 8 นาย เป็นเครื่องสูงหักทองขวางเช่นเดียวกับเครื่องสูงหน้า แต่ชนิดและจำนวนต่างกันคือมีฉัตร 7 ชั้น 2 ฉัตร 5 ชั้น 8 บังแทรก 6 ชุมสาย 4 แยก เชิญเป็นสองริ้วฉัตร 7 ชั้นออกหน้า ซึ่งตรงข้ามกับเครื่องสูงหน้าที่ฉัตร 7 ชั้นอยู่หลัง เพราะฉัตร 7 ชั้นสำคัญมากจึงต้องงอยู่ชิดพระราชยานกว่าฉัตรอื่น ต่อจากนั้นคือฉัตร 5 ชั้นเชิญสลับบังแทรก ส่วนชุมสายอยู่หลัง(ในบางรัชกาลใช้เครื่องสูงชุดเดียว คือลดจำนวนฉัตร 5 ชั้น และบังแทรกกึ่งหนึ่งส่วน ฉัตร 7 ชั้น และชุมสายคงเดิม)
เครื่องสูง–หลัง พระแสงหว่างเครื่องหน้าและหลังนี้เชิญเดิน 10 นาย ผู้กลางกระบวนระหว่างเครื่องสูงแตล่ะคู่ เป็น คู่ๆ ไปดังนั้น ถ้าลดจำนวนเครื่องสูงลง พระแสงหว่างเครื่องก็ต้องลดลง คือ ถ้าลดเครื่องสูง 1 คู่ ก็ลดพระแสงหว่างเครื่องลง 1 องค์
มหาดเล็กเชิญพระแสงอัษฎาวธุ 8 นาย เดิน เป็นแถวหน้า กระดานเรียงสี่
มหาดเล็กเชิญเครื่องราชูปโภค 20 นาย เดิน เป็นแถวหน้า กระดานเรียงสี่เช่นเดียวกัน
ผู้กำกับ 1 นาย แต่เว้นตอนให้ห่างจากมหาดเล็กเชิญพระแสงอัษฎาวุธ พอให้เห็นเป็นคนละกระบวน ผู้กำกับการเดินหน้าในบางรัชกาลได้โปรดให้ลดจำนวนเครื่องให้น้อยลงกว่านี้
ทหารรัก ษาพระองค์แซงเสด็จพระราชดำเนินสองกองร้อย จัดเป็นแถวเรียงสองเดินแซงขนาบริ้วเครื่อง
พระราชยานที่นั่งรอง 1 สูงหลัง และแถวมหาดเล็กเชิญพระแสงและเชิญเครื่องราชปูโภคทั้ง 2 ข้าง
ม้าพระที่นั่ง 4 ม้า ใช้พระราชยานคานหามเช่นเดียวกับ พระราชยานที่นั่งทรงแต่มีพนักงานหามผลัดเดียว จำนวนคนหามตามขนาดพระราชยานที่ใช้เป็นพระที่นั่งรอง และมีผู้กำกับพระราชยานพระที่นั่งรอง 1 นาย พระราชยานที่นั่งรองนี้ ความจริงไมได้ทรง แต่จัดไว้ตามประเพณี ไม่ว่าพระหากษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินโดยยานพาหนะใด ถ้าเสด็จเป็นทางการจะต้องจัดยานพาหนะพระที่นั่งรองทุกครั้ง
มหาดเล็กหลวงเชิญทวน 40 นาย ผูกเครื่องม้าต้นอย่างม้าพระที่นั่งทรง 2 และผูกเครื่องอย่างม้าพระที่นั่งรอง 2 มีเจ้ากรม ปลัดกรมม้าพระที่นั่งทรงและปลัดกรมม้าพระที่นั่งรอง รวม 3 นาย เดินนำหน้า และมีพนักงานจูงม้าละ 4 นาย มีเจ้าพนักงานเชิญโต๊ะหญ้าและหม้อน้ำตาม 4 นาย
ประตหูหน้า 2 นาย เดินแถวหน้ากระดานเรียงสี่ 10 แถว ถือเป็นกระบวนสุดท้ายของกระบวนพระราชอิสริยยศเดินปิดท้ายกระบวน

กระบวนหลัง

เป็นกระบวนทหารสมัย ก่อนเรียกเสนากองหลัง ใช้ทหารเหล่าต่างๆ เช่นเดียวกับที่เดินในกระบวนหน้า แต่ลดจำนวนลงกี่งหนึ่ง ต่อมาเมื่อกระบวนหน้า เป็นทหารรักษาพระองค์ กระบวนหลังก็ใช้ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ แต่บางรัชกาลโปรดให้ใช้ทหารเรือเข้าเดินในกระบวนหลัง ต่อจากทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์อีกกรม หนึ่ง

กระบวนพยุหยาตรา(ใหญ่)สถลมารคนี้หาชมได้ยากยิ่ง ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจัดกระบวนเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้นคือ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินเมื่อ พ.ศ.2387 ต่อมาในปี พ.ศ.2438 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา(ใหญ่)สถลมารคไปทรงเปิดพระปฐมบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและเปิดวิถีสะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ต่อมาในปี พ.ศ.2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันเสด็จพระราชดำเนินด้วยกระบวนพยุหยาตรา(ใหญ่)ทางสถลมารคเลียบพระนครเนื่องใน วโรกาสพระชนมายุครบ 3 รอบ

หน้า จาก ๑๑ หน้า