ในสมัยอยุธยา บรรดาฝีพายประจำเรือพระที่นั่ง ล้วนแต่ได้รับการคัดเลือกมาอย่างดี “กรมฝีพาย” อยู่ใน การควบคุมของกรมพระตำรวจใหญ่แต่ละคนจะนุ่งกางเกงมัสรู่ คาดผ้ากราบ ไม่สวมเสื้อแต่บางครั้งอาจสวม เกราะอ่อนประดับเลื่อมทองคำกันไว้ที่บริเวณหน้าอกเท่านั้น ดังนั้น จึงมีพระราชกำหนดว่าหากฝีพายต้องโทษ ได้รับพระราชอาญา ก็ห้ามเฆี่ยนหลังเพราะว่าเกรงจะเป็นแผล จนเสียความงดงามของฝีพายไป
ฝีพายเหล่านี้พึ่งจะเปลี่ยนมาสวมเสื้อในสมัยรัตนโกสินทร์ ในราวรัชกาลที่ ๔-๕ โดยในระยะแรก น่าจะใส่เสื้อแขนกระบอกสีขาว ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นเสื้อสักหลาดสีแดง นุ่งกางเกงสีดำ สวมหมวกที่เรียกว่า “หมวกทรงประพาส” และคาดเข็มขัด “คันชีพ” ดังที่เห็นในปัจจุบัน
๑๐.๒ การแต่งกายของผู้ประจำเรือในริ้วกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในสมัยรัชกาลที่ ๔การแต่งกายของผู้ประจำเรือในกรุงรัตนโกสินทร์นั้น จากพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบพระนครทางชลมารค ทำให้ทราบการแต่งตัวของนายเรือ และฝีพายได้ดังนี้
การแต่งกายของผู้ประจำเรือในปัจจุบัน จากพระราชพิธีในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่๙ มีรายละเอียดดังนี้