หลังจากสิ้นกรุงศรีอยุธยาแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงโปรดให้มีการฟื้นฟูพระราชพิธีกระบวน พยุหยาตราทางชลมารคขึ้นมาใหม่ พระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคจึงได้รับการสืบต่อ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ต่อมาถึงทุกวันนี้
๘.๑ วัตถุประสงค์ของริ้วกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคสมัยรัตนโกสินทร์กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคตามแบบแผนสมัยอยุธยา ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อีกครั้งในสมัย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีการจัดทำตำรากระบวนเสด็จฯ ชื่อ “ตำราแบบธรรมเนียมในราชสำนัก” แบ่งเป็นหมวดตอนต้นเป็นตำรากระบวนเสด็จพระราชดำเนินครั้งกรุงศรีอยุธยา ทั้งกระบวนเสด็จ โดยทางชลมารคและทางสถลมารค กระบวนราบ, กระบวนช้าง, กระบวนม้า และกระบวนเสด็จไป พระพุทธบาท และในสมัยกรุงธนบุรีมีการจัดกระบวนเรืออันยิ่งใหญ่ เมื่อคราวโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ- พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ เสด็จขึ้นไปอันเชิญพระแก้วมรกตจากท่าเจ้าสนุกลงมา ณ เมืองธนบุรี กระบวนเรือในครั้งนั้นมีมากถึง ๒๔๖ ลำ
ต่อมารัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาพระคลัง(หนู)รวบรวมรายชื่อและวิธีการจัดกระบวนเรือ ตามแบบที่มีอยู่ในสมัยอยุธยาขึ้น โดยแต่งเป็นคำประพันธ์ ชื่อ “ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง” พร้อมสร้าง เรือพระที่นั่งขึ้นมาใหม่ด้วย ความทรงจำเกี่ยวกับโบราณราชประเพณี ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนพยุหยาตรา ทางชลมารคจึงถูกรื้อฟื้นขึ้นอีกครั้ง
ในรัชกาลที่ ๔ จึงมีการใช้กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในพระราชพิธีสำคัญๆ เช่น การเสด็จเลียบพระนคร ในวันพุธเดือน ๖ แรม ๖ ค่ำ และด้วยเหตุที่ประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่กระแสการพัฒนาประเทศให้เจริญทัดเทียม แบบอารยธรรมตะวันตก จึงมีการปรับปรุงเส้นทางคมนาคม และพระราชพาหนะ เรือพระที่นั่งแบบเดิมจึงมิได้ ถูกนำไปใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินอื่นใด นอกเหนือจากพระราชประเพณี จึงอาจกล่าวได้ว่า กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคได้เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ เพื่อใช้ในพระราชพิธี มิใช่เพื่อเสด็จ พระราชดำเนินอย่างแท้จริง
ในรัชกาลที่ ๕ การจัดกองทัพอย่างตะวันตกเกิดขึ้น แต่ก็มีการสืบสานธรรมเนียมการใช้ เรือรบแบบโบราณ เช่น เมื่อครั้งที่เจ้าพระยาภูธราภัยยกกองทัพไปปราบฮ่อในปี พ.ศ. ๒๔๑๘ ครั้งนั้นได้มีการเคลื่อนทัพ ด้วยกระบวนเรือรบแบบโบราณ เพื่อเป็นปฐมฤกษ์ เสมือนการตัดไม้ข่มนาม โดยให้แม่ทัพนั่งเรือที่ชื่อ กระบี่ปราบมารเข้ารับพระทานน้ำสังข์ พร้อมพระราชทานเจิม
ในรัชกาลที่ ๗ ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้มีการชำระรูปแบบการจัดกระบวนเรือขึ้นใหม่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตในการออกแบบ กระบวนเรือขึ้นใหม่ ทั้งหมด ๕ แบบ เพื่อความเหมาะสมกับพระราชพิธีที่สำคัญแตกต่างกันในรัชกาลที่ ๗ นี้ มีการจัดกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เพื่อเฉลิมฉลองพระนครครบรอบ ๑๕๐ ปี ด้วยเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๗๕
นับจากนั้นก็ว่างเว้นการจัดมากระทั่ง ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ เป็นปีที่ทางราชการได้จัดงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษขึ้น และหลังจากนั้นมีการจัดมีการกระบวนเรือพยุหยาตรา อีกหลายครั้ง อาทิ ในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ และในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙
และใน ปี พ.ศ.๒๕๔๙ ซึ่งเป็นปีเฉลิมฉลองการครองราชย์ครบ ๖๐ ปี ก็ได้มีการจัดกระบวนพยุหยาตราทาง ชลมารค ด้วยเช่นกัน
๘.๒ ลักษณะหน้าที่และความเป็นมาของเรือพระที่นั่งและเรือในริ้วกระบวนในการเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำของพระเจ้าอยู่หัวในสมัยโบราณนั้นเข้าใจว่าจะมีเรือ ๒ สำรับ เป็นเรือทอง อันหมายถึงเรือที่แกะสลักลวดลายและลงรักปิดทองสำรับหนึ่ง จะใช้เป็นเวลาเสด็จในกระบวนที่เป็นพระราชพิธี ส่วนอีกสำรับหนึ่งเป็นเรือไม้ซึ่งมักจะใช้ทรงในเวลาปกติทั่วไป ไม่ปะปนกัน
จากการจัดริ้วกระบวนเรือ พบว่าจะมีชื่อเรือต่างๆมากมายที่มาร่วมในกระบวน มีดังนี้ในกระบวนเรือ เรือพระที่นั่งและเรือในกระบวนต่างๆ มีการแบ่งลักษณะเรือตามภารกิจ โดยเรือประเภทต่างๆ มีหน้าที่ใช้สอยและเรียกนามดังนี้
เส้นทางกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในสมัยรัตนโกสินทร์ ที่จะกล่าวถึงคือ เส้นทางกระบวนพยุหยาตรา ทางชลมารคในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่๙ มีรายละเอียดเส้นทาง ดังนี้
เส้นทางกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ กระบวนเรือเริ่มตั้งแต่ หน้าวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี ผ่านท่าวาสุกรีไปท่าราชวรดิษฐ์
ส่วนเส้นทางในครั้งหลังๆ ที่ใช้ในการถวายผ้าพระกฐิน จะเริ่มจาก ท่าวาสุกรี ถึงท่าราชวรดิษฐ์ สุดเส้นทาง ที่วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร
เส้นทางสายกระบวนพยุหยาตราถวายผ้าพระกฐิน จึงขอยกตัวอย่างเส้นทางกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เมื่อครั้งวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบด้วยเส้นทางที่ผ่านสถานที่สำคัญ ดังนี้
เส้นทางในพระราชพิธีนี้ เป็นพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินจากท่าวาสุกรีมายังวัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร เส้นทางในลำน้ำเจ้าพระยานี้ ไหลผ่านชุมชนในเขตพระนคร และสองฟากฝั่งแม่น้ำเป็นที่ตั้งของศาสนสถาน วัง ชุมชน ที่มีอดีตอันยาวนาน ได้แก่ ท่าวาสุกรี เป็นท่าเทียบเรือพระที่นั่ง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นจุด ผ่านแรกบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ วัดเทวราชกุญชร ชื่อเดิมคือวัดสมอแครง วังเทเวศร์ ตั้งอยู่ริมปากคลอง ผดุงกรุงเกษม เป็นวังของพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาท พระตำหนักริมน้ำนี้ สมเด็จ- พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เคยประทับเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ วังบางขุนพรหม ปัจจุบันคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ป้อมพระสุเมรุ อยู่ริมคูคลองเมืองเดิม เป็นป้อมกำแพงเมืองเก่า ที่เหลืออยู่ไม่กี่แห่ง ในปัจจุบัน วังพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าคำรบ เป็นตำหนัก ๒ ชั้น หันหน้าออกถนน ตัวอาคารมีเฉลียง ซุ้มประตู หน้าต่างติดไม้ฉลุลายงดงาม อยู่ไม่ห่างจากป้อมพระสุเมรุนัก
วังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ มีอาคารเหลืออยู่เพียง ๓ แห่ง คือ
วัดดุสิตาราม เป็นพระอารามหลวงเก่าสมัยอยุธยา
วังหน้ากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันเป็นที่ทำการของ วิทยาลัยนาฏศิลป์ โรงละครแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอาคารเก่าที่ น่าสนใจคือ วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พระที่นั่งเอกอลงกฏ
โรงพยาบาลศิริราช เป็นพื้นที่เก่าของวังหลัง ปัจจุบันไม่มีอาคารเก่าหลงเหลือยู่อีกแล้ว
วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นวัดเก่าสมัยกรุงธนบุรี เดิมชื่อวัดบางหว้าใหญ่
ท่าราชวรดิษฐ์ เดิมเคยมีกำแพงฉนวนสำหรับฝ่ายใน ต่อมาถูกรื้อถึงในสมัยรัชกาล ที่ ๔ แล้วโปรดฯให้สร้างหมู่ พระที่นั่ง ๔ หลัง แต่ปัจจุบันเหลืออยู่หลังเดียว คือพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย เป็นพระที่นั่งโถงแบบไทย
วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร หรือวัดแจ้ง เป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๒ สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมในวัดเป็น งานฝีมือที่ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของศิลปกรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่ปรากฏเป็นสัญลักษณ์ คือ “พระปรางค์วัดอรุณ”
ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ปัจจุบันคือกองทัพเรือ