กระบวนพยุหยาตรา คือ ริ้วกระบวนอันสง่างามที่พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปในโอกาสสำคัญต่างๆ เช่น เสด็จไปทอดพระกฐิน หรือเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร เพื่อให้ประชาชนได้ชื่นชมพระบารมี
หากเสด็จพระราชดำเนินทางบก คือ ริ้วกระบวนเคลื่อนไปตามถนนสายสำคัญ เรียกว่า กระบวนพยุหยาตราทาง สถลมารค
หากเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำ คือ ริ้วกระบวนเรือสวยงาม เช่น เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่ง- อนันตนาคราช และเรือนำกระบวนต่างๆ เคลื่อนไปตามลำน้ำเจ้าพระยา พร้อมๆ กับที่ฝีพายร้องเห่เรืออย่าง ไพเราะ เรียกว่า กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
การจัดรูปแบบกระบวนพยุหยาตรากระทำเช่น เดียวกับกระบวนยุทธ์ในสมัยโบราณประกอบด้วย กระบวนแห่ หน้าหลังอัญเชิญธง เครื่องสูงซึ่งเป็นเครื่องประดับพระเกียรติยศ เช่น ฉัตรพัดโบก จามร บังแทรก บังสูรย์และ กลด กระบวนศัสตราวุธ กระบวนช้าง และกระบวนม้า ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินทางบกหรือกระบวน- พยุหยาตราทางสถลมารค
ส่วนกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคหรือการเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำนั้น ประกอบด้วย ริ้วกระบวนเรือ ที่สวยงามตระการตา เป็นพระราชพิธีที่กระทำสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
๓.๑ กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค คืออะไรกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค หมายถึง ริ้วกระบวนเรือพระราชพิธีที่จัดขึ้น สำหรับพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ พระราชดำเนินไปในการต่างๆ ทั้งเป็นการส่วนพระองค์ และที่เป็นการพระราชพิธี ซึ่งได้ประกอบการมาแต่ โบราณ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยและสืบทอดต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ และได้สืบเนื่อง มาจนปัจจุบัน แต่เดิมกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นการเสด็จพระราชดำเนินเพื่อประกอบการพระราช พิธีต่างๆ ที่สำคัญ เช่น พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก การเสด็จไปนมัสการ พระพุทธบาทที่สระบุรี การอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญจากหัวเมืองเข้ามาประดิษฐานในเมืองหลวง ตลอดจน การต้อนรับราชทูตจากต่างประเทศ และพระราชพิธี พระบรมศพ เป็นต้น
สำหรับพระราชพิธีในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในปัจจุบันนี้ จัดขึ้นเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเป็น เอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรมประเพณีอย่างหนึ่งของชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งได้ทรงแสดง พระบารมีแผ่ไพศาลเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ และเป็นที่พึ่งแก่พสกนิกรทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
๓.๒ ความสำคัญของกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เดิมคือการยาตรากระบวนทัพ เพื่อการศึกสงครามอันประกอบด้วย ริ้วขบวน ของเหล่าทหารหาญผู้เชี่ยวชาญการศึก และพร้อมพรั่งด้วยระเบียบวินัยอันเข้มแข็ง สำแดงถึงแสนยานุภาพ อันยิ่งใหญ่เกรียงไกร แห่งองค์พระมหากษัตริย์ไทยในการปกป้องอธิปไตยของแผ่นดิน
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา กระบวนเรือมีบทบาทสำคัญในการปกป้องพระราชอาณาจักร โดยเฉพาะในการลำเลียง เคลื่อนย้ายกำลังพลจากยุทธภูมิหนึ่งไปสู่อีกยุทธภูมิหนึ่งได้อย่างคล่องตัวรวดเร็วโดย เมื่อต้องเผชิญกับข้าศึก ก็จะถ่ายฝีพาย ขึ้นฝั่งเพื่อรบกันบนบก
ในทางกลับกัน ทหารเมื่อเดินทัพโดยทางบกจะมีลักษณะสภาพเป็นทหารบก เมื่อรุกไล่ศัตรูตามติดไปถึงลำน้ำ จะเป็นแม่น้ำหรือลำคลองทหารเหล่านั้นจะต้องลงเรือเป็นฝีพาย มือถือพายหลังสะพายดาบ เมื่อไล่ประชิดถึง ศัตรู ณ จุดใด มือหยุดพายจับดาบฟันฟาดศัตรูรุกไล่ข้าศึก มีลักษณะสภาพเป็นทหารเรือไปในทันที ฉะนั้นการ ฝึกฝนเพื่อให้เกิดความคล่องตัวชำนาญ จึงมีอยู่โดยสม่ำเสมอ
กระบวนเรือพระราชพิธีในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค นอกจากมีความสำคัญเป็นการฝึกซ้อมระดมพล ในช่วงว่างศึกแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์แสดงแสนยานุภาพ บุญญาบารมี ความศักดิ์สิทธิ์สูงส่งแห่งองค์ พระมหากษัตริย์ จึงได้เพิ่มเครื่องสูงและเครื่องอิสริยราชูปโภคในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นส่วนหนึ่ง ของกระบวนพยุหยาตรานั้นด้วย ส่วนอื่นๆ ยังคงเป็นไปตามระเบียบ วิธีการ และองค์ประกอบของกระบวน- พยุหยาตราทัพทุกประการ ทั้งนี้เป็นการเสด็จพระราชดำเนินไปในโอกาสต่าง ๆ ทุกคราที่เสด็จพระราชดำเนิน ไปประกอบพระราชพิธี พระราชกรณียกิจที่สำคัญต่างๆ ทั้งด้านพระศาสนา การทูต การเฉลิมฉลองวาระสำคัญ ของบ้านเมือง เป็นต้น
นอกจากนั้นการนำกระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค มาใช้ในพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์แล้ว พิธีสำคัญของบ้านเมืองในบางกรณี พระองค์ก็ยังโปรดฯ ให้นำกระบวนเรือหลวงไปใช้เช่นกัน ดังพิธีรับ- พระราชสาส์นและราชทูต ซึ่งเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ดังที่ได้มีการบันทึกไว้ของชาวต่างชาติ ที่เข้ามาในสมัยนั้น