สารบัญ
ริ้วกระบวนฯสมัยกรุงศรีอยุธยา
๗.๑ ลักษณะริ้วกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคสมัยกรุงศรีอยุธยา

หนังสือลิลิตพยุหยาตราเพ็ชรพวง แสดงถึงกระบวนพยุหยาตราในครั้งกรุงศรีอยุธยาที่ค่อนข้างละเอียด แต่งโดย เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๐ ในพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จ- พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งแต่งจากความทรงจำที่เคยเห็นมาในปลายแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคใน ลิลิตพยุหยาตราเพ็ชรพวง ปรากฏชื่อเรือพระที่นั่งต่างๆ คล้ายคลึง กับที่กล่าวถึงในคำให้การชาวกรุงเก่า

เรือในกระบวนตามที่กล่าวถึงในลิลิตพยุหยาตราเพ็ชรพวงได้แก่

- เรือเสือ คอยเก็บสิ่งต่างๆ ที่ลอยมาตามน้ำ
- เรือพิฆาต ๖ ลำ สำหรับบรรดาขุนหมื่นโรงศาล เป็นพวกเรือแซ คือ
- เรือแซ ๑ คู่ ของพระยาแขก (พระยาจุฬาราชมนตรี)
- เรือพวกมอญ เรือแซศักดิ์บวเรศ คู่กับ เรือแซสรสินธุ์
เรือพิพัฒชล คู่กับ เรืออนันตสมุทร
- เรือของพระยาโชฎึก เรือแซบวรวารี คู่กับ เรือแซศรีสมุทร(ของท่องเสือ)
เรือแซสิทธุ์ คู่กับ เรือแซพิพัฒสาคร(กรมคลังใน)
เรือแซไชยาน คู่กับ เรือแซจบสาคร
ต่อมาเป็น เรือไชยขันฉาว คู่กับ เรือไชยขันทรเนน
เรือไชยขันวรรณวาศ คู่กับ เรือไชยสุบรรณดาวดาษ
เรือไชยขจรพนชี คู่กับ เรือไชยศรีอัศดร
เรือไชยชนะคชกาล คู่กับ เรือไชยชำนาญคชกรรม
เรือไชยชนะฤาชา คู่กับ เรือไชยฤายศ
เรือไชยอธิการ คู่กับ เรือไชยทะยานทิพย์
เรือฤาเลิศ คู่กับ เรือเกิดฤาไชเยศ
เรือเถลิงไชยชำนะ คู่กับ เรือไชยพิพัฒนมงคล
เรือเรืองฤทธิ์ คู่กับ เรือไชยพิษณุ
เรือไชยไหวธรณี คู่กับ เรือไชยนทีหวั่น
เรือไชยนคร คู่กับ เรือขจรไชย
เริ่มเรือรูปสัตว์ เรือคชสีห์ คู่กับ เรือราชสีห์
เรือคชสีห์ คู่กับ เรือขจรไชย
เรือประตูใช้เรือม้า คือ เรือวรชุนไชยชาติ คู่กับ เรือระวังราชริปู
ตามด้วยเรือ เรืออังหมะ
เรือราชสุรพิมาน
เป็นเรือเครื่องดนตรี
เรือสินธุปักษี
เรืออินทรีย์ทิพย์
เรือวิคาลัย
เรือรำไพบิน
เรือว่องวิ่งวารี
เรือศรีสุชลธี
เรือพวกอาสา ๖ เหล่า เรือนก เรือกิเลน
เรือทักทอ ชื่อ เรือศรสำแดงฤทธิ์
เรือสิทธิกำแหง
เรือโต เรือโตมหรรณพ
เรือโตจบภพไตร
เรือนาคาอุรคราช
เรือนาคนายก
เรือนาคเหราราช
เรือนาคาสุกรี
เรือประตูใน คือ เรือไชยสวัสดิ์
เรือไชยรัตนพิมาน

ต่อจากเรือประตูในก็เป็นเรือกิ่งของกรมตำรวจ ๔ คู่ และเรือดั้ง ๕ ลำ ได้แก่

เรือชลพิมานไชย
เรือไกรสรมาศ
เรือศรีพิมานไชย
เรือไกรจักรรัตน
ทรงพระเทวกรรม
เรือศรพรหมไชย ทรงพระชัย
เรือพระที่นั่ง คือ พระที่นั่งเหมาพิมานบรรยงก์
เป็นเรือพระที่นั่งลำทรง
เรือพระที่นั่งไกรสรมุข
ตั้งพระที่นั่งจตุรมุข
ทอดพระแท่นบรรทม
เป็นเรือพระที่นั่งรอง
เรือพระที่นั่งสุวรรณหงส์
เป็นเรือพระที่นั่งรอง
ปิดขบวนเรือทรง คือ เรือศรีสุนทร เรือไกรสรจักร

ต่อไปเป็นเรือกันซึ่งใช้เรือโขมดญามี

เรือของกองเกณฑ์หัดอย่างฝรั่ง ซ้าย – ขวา
เรือของกองอาสาวิเศษ ซ้าย – ขวา
เรือตำรวจใหญ่ ซ้าย – ขวา
เรือตำรวจใน ซ้าย – ขวา
เรือทองแขวนฟ้าของบ้านโพเรียง คู่กับ เรือทองแขวนฟ้าของบ้านใหม่
เรือเหินหาว คู่กับ เรือหลาวทอง

ต่อด้วยเรือเอกไชยของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และเรือไชยของพระเจ้าลูกเธอ และพระองค์เจ้าต่างกรม

จากนี้เป็นเรือขบวนคู่ คือ

เรือมังกร คือ เรือเตร็จไตรภพ เรือจบจักรพาล
เรือนาค คือ เรือนาคจักรธารธ เรือนาคถบองรัตน์
เรือโต คือ เรือกำแหงอาทิตย์ เรือโตฤทธิ์ไชยเดโช
เรือเลียงผา เป็นเรือประตู คือ เรือมหิศโรรังราช

เรือของหมื่นนรินทร์เสนี เรือราชดุรง ของหมื่นศรีสหเทพตามด้วยริ้วเรือแซเป็นคู่ๆ ของพวกตำรวจ และขุนนาง ขุน พัน ตามลำดับปิดด้วยเรือพิฆาต ๒ คู่ ของตำรวจนอกและตำรวจใน ซึ่งเมื่อรวมเรือพิฆาฏ ในกระบวนแล้วมีประมาณ ๑๐๐ ลำ

๗.๒ เรือพระที่นั่งครั้งกรุงศรีอยุธยาที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน

ในปัจจุบันเรือพระที่นั่งครั้งกรุงศรีอยุธยาไม่หลงเหลืออยู่เลย สันนิษฐานว่าจะมีการจมเรือไว้ที่ท้ายคู แล้วเผาทำลายเสียก่อนที่พม่าจะเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาแตก ดังที่ปรากฏในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๓ เรื่องกรุงเก่าไว้ว่า “แต่เรือพระที่นั่งกับเรือกระบวนใหญ่น้อย เห็นจะอันตรายไปเสียก่อนกรุงแตกมาก ด้วยเมื่อครั้งพระเจ้าอลองพราญี ยกทัพเข้าตีกรุงในแผ่นดินพระที่นั่งสุริยาสน์อัมรินทร์นั้น ทรงโปรดให้ ถอยเรือพระที่นั่งกิ่ง, ไชย, ศรี, กราบ และเรือดั้ง เรือกัน เรือศีรษะสัตว์ทั้งหลายใหญ่น้อย กับทั้งกำปั่น และเรือรบ ลงไปไว้ที่ท้ายคู พม่ายกลงไปตีท้ายคูแตก แล้วเผาเรือพระที่นั่งกับกำปั่นและเรือรบเสีย เข้าใจว่า จะเหลืออยู่ไม่กี่ลำ...” นอกจากนี้ในพงศาวดาร เล่มที่ ๖๓ ยังได้แสดงว่าพม่าได้เอาเรือพระที่นั่งกิ่งไปด้วย

ในปัจจุบันมีโขนเรือสมัยกรุงศรีอยุธยา อยู่หนึ่งโขน คือ โขนเรือพระ ครุฑพ่าห์ เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

หน้า จาก ๑๑ หน้า