สำนวนภาษาที่ใช้ในกฎหมำยของไทย จากการพิจารณา พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม ร.ศ.๑๑๐ จะเห็นได้ว่ามีสำนวนการเขียนหรือภาษากฎหมายที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากกฎหมายสมัยเก่ามาสู่กฎหมายสมัยใหม่ตามแบบอย่างการร่างกฎหมายของชาวตะวันตก ซึ่งความเป็นมาของการร่างกฎหมาย การตรากฎหมายของไทยนั้นสามารถนับย้อนไปได้ถึงสมัยกรุงสุโขทัยเลยทีเดียว ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย กล่าวไว้ใน หนังสือ เรื่อง "ความรู้เบี้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป" ว่า
ในประเทศไทยแต่เดิมกฎหมายไม่ได้ประกาศให้ราษฎรทราบอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี่ และปรากฎในพระราชปรารภของกฎหมายลักษณะอาญาซึ่งได้ถูกยกเลิกไปแล้วว่า พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยแต่โบราณได้รับคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ของพระมนูสาราจารย์ซึ่งเป็นกฎหมายในมัชฌิมประเทศ แต่ส้าหรับกรณีที่คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไม่กล่าวถึงก็ดี หรือประเพณีและความนิยมของประเทศไทยแตกต่างกับมัชฌิมประเทศก็ดี พระมหากษัตริย์แต่ก่อนๆก็ทรงบัญญัติกฎหมายขึ่น กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงบัญญัติขึ่นเป็นครั่งคราวนี่ ต่อๆมาก็มากมายซับซ้อนล้าบากแก่การพิพากษาคดี และบางฉบับก็ล่วงพ้นสมัย กฎหมายบางฉบับก็ขัดแย้งกัน นานๆทีหนึ่งพระมหากษัตริย์ก็โปรดให้ลูกขุน ณ ศาลา และลูกขุน ณ ศาลหลวงช้าระสะสางกฎหมาย และเมื่อได้ช้าระแล้วพระมหากษัตริย์ย่อมทรงโปรดให้ยกเลิกกฎหมายที่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัยเสียคงไว้แต่ที่ยังใช้ได้ และจัดระเบียบเข้าเป็นลักษณะมีหมวดหมู่และมาตรเพื่อให้คนทั่งหลายเข้าใจง่ายขึ่น
กฎหมายของไทยแต่โบราณมานั้นเป็นการรับแนวความคิดมาจากประเทศอินเดีย (มัชฌิมประเทศ) ผ่านทางคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ อย่างไรก็ตามลักษณะการเขียนกฎหมายในสมัยสุโขทัยนั้น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ "ตำนานกฎหมายเมืองไทย" ว่า
. . .กฎหมายไทยที่ตั่งขึ่นเมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ตอนก่อน พ.ศ.๑๘๒๖ เห็นจะต้องให้แปลกลับเป็นภาษาขอมหรือภาษาสันสกฤต หรือบางทีจะมีวิธีเขียนภาษาไทยด้วยตัวหนังสือคฤนถ์แปลร้อยได้ แต่การจดลงเป็นหนังสือ ไม่ว่าภาษาใด คงเป็นหน้าที่ของพราหมณ์ ด้วยเหตุนี่ พราหมณ์จึงเป็นเจ้าหน้าที่ส้าคัญในการรักษากฎหมายมาแต่โบราณ . . .พุทธศักราช ๑๘๒๖ เมื่อมีหนังสือไทยขึ่นแล้ว กฎหมายก็ตั่งขึ่นต่อมา หรือกฎหมายเก่าที่มีอยู่แล้ว จึงได้เริ่มจดลงและรักษามาในหนังสือไทย
กฎหมายในสมัยสุโขทัยที่ปรากฎชัดเจนได้รับการจารึกลงบนศิลาจารึก แต่ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงนั้นมีลักษณะเป็นกึ่งตัวบทกฎหมายกึ่งบันทึกทางประวัติศาสตร์ มีตัวอย่างบางตอนดังนี้
". . .เมืองสุโขทัยนี่ดี ในน้่ามีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ ในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มตายหายกว่า เหย้าเรือนพ่อเชื่อเสื่อค้ามัน ช้างขลูกเมียเยียข้าวไพร่ฟ้าข้าไทย ป่าหมากป่าพลู พ่อเชื่อมันไว้แก่ลูกมันสิ่น ไพร่ฟ้าลูกเจ้าลูกขุน ผิแลผิดแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล้ว จึงแล่งความแก่ข้าได้ซื่อ บ่เข้าผู้ลัก มักผู้ซ่อน เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พิน เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ ช่วยเหนือเฟื่อกู้ มันบ่มีช้าง บ่มีม้า บ่มีปั่ว บ่มีนาง บ่มีเงิน บ่มีทองให้แก่มัน ช่วยมันตวงเป็นบ้านเป็นเมือง ได้ข้าเสือกข้าเสือ หัวพุ่งหัวรบก็ดี บ่ฆ่าบ่ตี. . ."
สำนวนภาษาที่พ่อขุนรามคำแหงใช้ในศิลาจารึกนี้ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้อธิบายในปาฐกถาแสดงที่สมาคมครูโรงเรียนราษฎร์ หอประชุมคุรุสภา ในวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๐๘ ไว้ ดังนี้
". . . ภาษาของพ่อขุนรามค้าแหงนั่นเป็นภาษาไทยแท้ ไม่ใช่ภาษาไทยประดักประเดิดดังที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เพราะฉะนั่น เมื่อท่านจะเขียนอะไร ท่านก็เขียนของท่านได้สั่นๆแต่กินความลึกซึ่งถึงใจและไกลยิ่งนัก เป็นที่น่าสังเกตว่าในศิลาจารึกของพ่อขุนรามค้าแหงนั่น แม้แต่ราชาศัพท์ก็ยังไม่มีใช้. . .เทียบกับกฎหมายในแผ่นดินพระบรมไตรโลกนาทจะเห็นความแตกต่างกันมาก. . ."
เมื่อมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาก็เช่นเดียวกับกรุงสุโขทัยที่ใช้คัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นหลักหรือเป็นกฎหมายสำคัญของบ้านเมือง แต่นอกจากนี้แล้วก็ยังมีกฎหมายที่เรียกว่า "ราชศาสตร์" เพิ่มขึ้นอีกด้วยซึ่งราชศาสตร์นี้ก็คือ พระบรมราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์ในคดีความต่างๆที่กลายเป็นกฎหมายขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นนั้นก็ยังคงต้องสอดคล้องกับหลักการตามคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นสำคัญ
สำหรับสำนวนภาษาของกฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้ให้ข้อสังเกตที่น่าสนใจไว้ในหนังสือ เรื่อง "ภาษากฎหมายไทย" ดังนี้
". . .กฎหมายในสมัยนั้น ยังมีลีลาที่แฝงภาษาร้อยกรองอยู่ด้วยเป็นอันมาก มีถ้อยค้าที่สอดคล้องสัมผัสกันเสมอ แม้แต่ชื่อกฎหมายในบางรัชกาล ก็มีถ้อยค้าสอดคล้องต้องกันอยู่ เช่น ในแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง "ส่วยสัดพัฒนากรขนอนตลาด" เป็นต้น
อนึ่ง ตัวบทกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยานั่นผิดกันกับตัวบทกฎหมายตามระบบกฎหมายไทยปัจจุบันในเนื่อหาที่ส้าคัญก็คือ กฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยาได้ให้เหตุผลที่ได้ตราตัวบทกฎหมายนั่นไว้ด้วยในบทบัญญัตินั่นๆเอง ยิ่งกว่านั่นยังแฝงบทอบรมสั่งสอนไว้ด้วย"
ตัวอย่างเช่น กฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ ๖๗ ซึ่งตราขึ้นในแผ่นดินของพระเจ้าอู่ทอง ความว่า "ภรรยาสามีมิชอบเนื้อพึงใจกัน จะหย่ากันไซ้ ตามน้ำใจเขา เหตุว่าเขาทั้งสองสิ้นบุญกันแล้ว จะจำใจให้อยู่ด้วยกันนั้นมิได้"
เมื่อเปรียบเทียบกับสำนวนภาษากฎหมายในสมัยสุโขทัยแล้ว กฎหมายในสมัยอยุธยานี้มีสำนวนการเขียนที่ละเอียดถี่ถ้วนมากกว่า แต่เนื่องจากการเขียนที่ต้องมีการสัมผัสคล้องจองจึงมีการใช้ถ้อยคำที่ฟุ่มเฟือย กล่าววกวนซ้ำซาก ถ้อยคำที่เป็นใจความมีน้อยแต่ถ้อยคำที่เป็นพลความมีมาก ซึ่ง ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้เอาไว้ว่า "เมื่อยิ่งพูดมากความหมายก็ยิ่งน้อยลงไปเป็นธรรมดา"
นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้คำราชาศัพท์ คำบาลี สันสกฤต ปะปนเข้ามามากขึ้น ตัวอย่างเช่นใน กฎมณเฑียรบาลในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีข้อความขึ้นต้น ดังนี้
"ศุภมัสดุ ศักราช ๗๒๐ วันเสาร์เดือนห้าขึ่นหกค้่า ชวดนักสัตวศก สมเด็จพระเจ้ารามาธิบดีบรมไตรโลกนาถมหามงกุฎเทพมนุษวิสุทธิสุริวงษ์องคพุทธางกูรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงทศพิธราชธรรม ถวัลราชประเวนีศรีบรมกร ศัตราธิราชพระบาท ธ ด้ารงภูมิมณฑลสกุลสีมาประชาราษฎร บรมนารถบรมบพิตร เสด็จสถิตในรัตนสิงหาศบัญชรสิงห์ แลสมเด็จพระเจ้าหน่อพุทธางกูรสุริยวงษ์ และสงเด็จพระพรรณเมศวรนั่งเฝ้า แลพญาเอกสัตราชพระมหาอุปราช แลมหาเสนาจตุสดมมุกขมนตรีพีรยโยธามาตและต้ารวจนอกมหาไทลูกขุน ทหารพ่อเรือซ้ายขวาเฝ้าพระบาทในที่นั่น จึงตั่งพระราชอาญาไอยการทหารพ่อเรือน ชายหญิงสมณพราหมณาจารย แลวานิชนิกรนรประชาราษฎรทั่งหลาย. . ."
นอกจากนี้ในเรื่องของการระบุเวลาให้แน่นอน กฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ไม่ให้ความสำคัญนัก ทำให้การระบุเวลาบางครั้งก็เขียนอย่างกว้างๆเป็นทำนองการกะประมาณเอาเท่านั้น เช่น ๙ ปี ๑๐ ปี หรือ ปีหนึ่งสองปี เป็นต้น ตัวอย่างเช่น กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ ๔๒ บัญญัติว่า "
. . .ที่ในแว่นแคว้นกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรัมย์ เป็นที่แห่งพระเจ้าอยู่หัว หากให้ราษฎรทั่งหลายผู้เป็นค่าแผ่นดินอยู่ จะได้เป็นที่ราษฎรหามิได้ แลมีพิพาทแก่กันดังนี่ เพราะมันอยู่แล้ว มันละที่บ้านที่สวนมันเสีย แลมีผู้หนึ่งเข้ามาอยู่แลล้อมท้าเอาปลูกสร้างอยู่ให้เป็นสิทธิแก่มัน อนึ่ง ถ้าที่นั่นมันมิได้ละเสีย และมันล้อมทำไว้เป็นคำนับ แต่มันหากไปราชการกิจศุขทุกข์ประการใดๆก็ดี มันกลับมาแล้ว มันจะเข้าอยู่เล่าไซ้ ให้คืนให้มันอยู่ เพราะมันมิได้ซัดที่นั่นเสีย ถ้ามันซัดที่เสียช้านานถึง ๙ ปี ๑๐ ปี ไซ้ ให้แขวงจัดให้ราษฎรซึ่งหาที่มิได้นั่นอยู่ อย่าให้ที่นั่นเปล่าเป็นทำเนเสีย อนึ่ง ถ้าที่นั่นมันปลูกต้นไม้อัญมณีอันมีผลไว้ ให้ผู้อยู่ให้ค่าต้นไม้นั่น ถ้ามันพูนเป็นโคกไว้ ให้บำเหน็จซึ่งมันพูนนั่นโดยควร ส่วนที่นั่นมิให้ซื่อขายแก่กันเลย อนึ่ง ผู้ยากเข้าขออาไศรยอยู่ในที่บ้านท่านๆผู้อยู่ที่ก่อนให้อยู่ถึงปีหนึ่งสองปีก็ดี ครั่นรังเกียจกันเล่า จะขับผู้ขออยู่นั่นเสียให้ออกจากที่นั่นว่าหาที่อื่นอยู่เถิด อย่าให้ผิดหมองกันเลย ถ้าผู้ขออยู่ได้ปลูกเรือนเสาไม้จริงแลทำรั่วไว้เป็นเขตเจ้าที่ยอมให้ปลูกให้ทำแล้วได้อยู่มาถึงสามปี ท่านว่าเป็นสิทธิแก่มันผู้ขออยู่"
เมื่อมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้นสำนวนภาษาที่ใช้ในกฎหมายตราสามดวงก็ยังคงเป็นเช่นเดียวกันกับพระอัยการกฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยาอยู่เนื่องจากกฎหมายตราสามดวงเป็นการรวบรวมกฎหมายเก่าครั้งกรุงศรีอยุธยาที่กระจัดกระจายและถูกทำลายสูญหายเมื่อคราวเสียกรุง พ.ศ. ๒๓๑๐ มาทำการชำระจัดหมวดหมู่ใหม่ใน พ.ศ. ๒๓๔๘ เท่านั้น
จนกระทั่งมาถึงในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำนวนการเขียนกฎหมายของไทยจึงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปอีก เพราะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนที่จะเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ศึกษาทำความเข้าใจกับประเพณี วัฒนธรรมของชาวตะวันตกมาเป็นอันมาก รวมทั้งประเทศสยามก็ได้มีชาวต่างชาติเข้ามาทำการติดต่อค้าขายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงต้องมีการตรากฎหมายที่ทันสมัยและสามารถบังคับใช้ได้ง่ายไม่ยุ่งยากเพิ่มเติมขึ้นมา เพราะเหตุที่บ้านเมืองพัฒนาไปกว่าแต่ก่อนมากทำให้บทบัญญัติในกฎหมายตราสามดวงไม่เพียงพอที่จะบังคับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้
สำนวนการเขียนกฎหมายของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้ให้ความเห็นไว้การแสดงปาฐกถา เรื้อง "คิงมงกุฎในฐานะที้ทรงเป็นนักนิติศาสตร์" ณ สยามสมาคม เมื้อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๒ มีความบางส่วน ดังนี้
". . .สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ทรงร่าง(กฎหมาย)ขึ้นเองด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง ซึ่งช่วยท้าให้พระราชก้าหนดกฎหมายในรัชกาลของพระองค์ท่านเต็มไปด้วยข้อความสนุกสนานและให้ความเต็มตื้นแก่ใจ กฎหมายในรัชกาลที่ ๔ แต่ละฉบับนั้น อ่านเหมือนนิยายแห่งชีวิตจบในเล่ม. . .มีข้อที่น่าสังเกตว่ากฎหมายของสมเด็จพระจอมเกล้าฯ นั้น แม้จะสั้นเสมอในส่วนที่เป็นบทบังคับของกฎหมาย (แต่)เหตุผลที่ให้เป็นเชิงพระราชปรารภถึงความจ้าเป็นที่จะต้องออกกฎหมาย ท่านว่าของท่านไว้ยืดยาวถึงใจที่สุด ด้วยประการเช่นนี้ เราจึงไม่ได้อ่านแต่ตัวบทกฎหมาย แต่ยังได้เรียนรู้ตลอดถึงเจตนารมณ์และเหตุการณ์เบื้องหลังการออกกฎหมายนั้นด้วยอย่างครบถ้วนบริบูรณ์ ถ้าจะเปรียบพระมหากษัตริย์นักนิติศาสตร์ในกาลก่อน เช่น พ่อขุนรามค้าแหง หรือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมเด็จพระจอมเกล้าฯ อาจยังไม่เข้าขั้นนักนิติศาสตร์ที่เชี่ยวชาญเท่า แต่ในบรรดาพระมหากษัตริย์ของไทยในกาลก่อนและเบื้องหลังแต่นั้น สมเด็จพระจอมเกล้าฯ เป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์เดียวที่ทรงเขียนกฎหมายด้วยหัวใจ และด้วยความจริงใจอย่างเต็มเปี่ยม. . ."
ในที้นี้ขอยกตัวอย่างกฎหมายที้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตราขึ้น เป็น "ประกาศ เรื้อง การเสพย์สุราเมาในวันสงกรานต์"
"ด้วยเจ้าพระยายมราชชาติเสนางคนรินทร มหินทราธิบดี ศรีวิไชย มไหศวรรย์บริรักษ์ ภูมิพิทักษโลกากรณ ฑัณฑฤทธิธรนครบาล สมุหบดีอภัยพิสัยปรากรมพาหุ รับพระราชโองการใส่เกล้าใส่กระหม่อม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสั่งว่า เป็นเยี่ยงอย่างสืบมาแต่โบราณ ยามตรุษยามสงกรานต์ ผู้ชายโดยมาก เป็นนักเลงบ้าง ไม่ใช่นักเลงบ้าง พากันเสพย์สุราเมามายไปทุกหนทุกแห่ง แล้วก็เที่ยวออกเดินไปตามถนนและซุกซนเข้าไปในวัดวาอาราม ก่อถ้อยความวิวาทชกตีแทงฟันกัน ตรุษสามวันเป็น ๔ ทั้งวันจ่าย เป็น ๕ ทั้งวันส่งสงกรานต์ สามวันหรือสี่วันเป็น ๔ หรือ ๕ ทั้งวันจ่าย เป็น ๕ หรือ ๖ ทั้งวันส่งนั้น มักเกิดถ้อยความวิวาทตีรันฟันแทงกันหลายแห่งหลายต้าบลนัก ทั้งในก้าแพงพระนครและภายนอกพระนคร เหลือก้าลังที่นายอ้าเภอแลกองตระเวนจะระวังดูแล แต่นี้ไปเวลาตรุษแลสงกรานต์ ให้เจ้าของบ้านเอาใจใส่ระวังรักษาหน้าบ้านของตัว ถ้ามีคนเมาสุรามาเอะอะอื้ออึงที่หน้าบ้าน ก็ให้จับเอาตัวมาส่งกรมพระนครบาลที่หน้าหับเผยให้ทันเวลาที่ผู้นั้นยังเมาอยู่อย่าให้ทันสร่างเมา แต่ห้ามไม่ให้พวกบ้านอื่นๆมาพลอยกลุ้มรุมจับด้วย ถ้าคนเมามีพวกมากต่อสู้เจ้าของบ้าน ถึงเจ้าของบ้านจะชกตีมีบาดเจ็บก็ดี ถ้าเมื่อจับตัวไปส่งกรมพระนครบาลๆชัณศูจน์รู้แน่ว่าคนนั้นเมาจริง ก็ให้เจ้าของบ้านเป็นผู้ชนะ ถ้าผู้มาส่งเห็นว่า ถ้าจับตัวคนผู้บุกรุกไปส่งจะมีพวกของผู้นั้นสกัดกั้นทาง แก้ไขตามทางที่จะไปส่งจะเกิดวิวาทกัน ถ้าอย่างนั้นก็ให้ยึดเอาไว้มาเล่ากับกรมพระนครบาล หรือนายอ้าเภอคนใดคนหนึ่งให้ไปชันศูจน์ว่าเมาหรือไม่เมา อย่าให้ทันคนเมานั้นสร่างจะเป็นค้าโต้เถียงกันไป อนึ่ง ในยามตรุษยามสงกรานต์นั้น ผู้ใดจะเสพย์สุราเมามาก ก็ให้อยู่แต่ในบ้านเรือนของตัว ถึงจะมีที่ไปก็ให้งดรอต่อสร่างเมาแล้วจึงไป"
ถึงแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสยามประเทศตกอยู่ในห้วงวิกฤติจากลัทธิล่าอาณานิคมของฝรั้งชาติตะวันตก บ้านเมืองมีความจำเป็นที้จะต้องได้รับการพัฒนาและปรับปรุงอย่างรอบด้านเพื้อให้รอดพ้นจากวิกฤติการณ์นี้ การปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลก็เป็นสิ้งสำคัญเรื้องหนึ้งที้ต้องได้รับการปรับปรุงและพัฒนา พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่าเกี้ยวกับเรื้องนี้ปรากฏใน "พระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน" ว่า
". . .การในกรมยุติธรรมทั้งปวง ซึ่งแยกไปเป็นหลายกรมนั้นจึ่งได้ทรุดโทรมเสื่อมทรามมาช้านาน พ้นก้าลังที่จะแก้ไขให้ดีขึ้นในแบบเดิมนี้ได้. . .เปรียบเหมือนเรือก้าปั่นที่ถูกเพรียงและปลวกกิน ผุโทรมทั้งล้า แต่ก่อนท้ามานั้น เหมือนรั่วแห่งใด ก็เข้าไม้ตามอุดยาแต่เฉพาะตรงที่รั่วนั้น ที่อื่นก็โทรมลงไปอีก ครั้นช้านานเข้าก็ยิ่งช้ารุดหนักลงทั้งล้า เป็นเวลาสมควรที่จะตั้งกงขึ้นกระดานใหม่ให้เป็นของมั่นคงถาวรสืบไป และเป็นการส้าคัญยิ่งใหญ่ที่จะต้องรีบจัดการโดยเร็ว หาไม่ต้องจมลงด้วยผุยับไป เหมือนเรือก้าปั่นที่ช้ารุดเหลือที่จะเยียวยา จะต้องจมลงฉะนั้น"
ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้มีประกาศตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้นเพื้อรวบรวมการบังคับคดีความทั้งปวงให้มาอยู่ในที้เดียวกัน เมื้อ วันที้ ๒๕ มีนาคม ร.ศ.๑๑๐ เพื้อเป็นการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมอันจะได้นำไปสู่การปฏิรูปกฎหมายและการศาลต่อไป
ส่วนการปฏิรูปกฎหมายไทยนั้นก็ได้พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ซึ้งได้เสด็จไปศึกษาวิชากฎหมายในประเทศอังกฤษและเสด็จพระราชดำเนินกลับมาถึงประเทศสยาม เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการดำเนินการ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์เป็นประธาน ทำหน้าที่ตรวจชำระร่างประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งในที่สุดก็ได้สำเร็จเป็นกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ อันเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย
สำนวนการเขียนกฎหมายของไทยตั้งแต่นั้นมาก็เริ่มมีแบบแผนรูปร่างตามอย่างการเขียนกฎหมายของประเทศตะวันตกและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาจนกระทั่งในปัจจุบัน
สำหรับสำนวนการเขียนกฎหมายที่ดีนั้น ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้อธิบายไว้ในหนังสือ เรื่อง "ภาษากฎหมายไทย" ว่าต้องประกอบไปด้วยคุณลักษณะ ๖ ประการ ได้แก่
ประการที่ ๑ แจ้งชัดและปราศจากช่องโหว่
ประการที่ ๒ สั้นกะทัดรัด
ประการที่ ๓ ใช้ถ้อยคำในภาษากฎหมายให้เป็นระเบียบเดียวกันโดยตลอด
ประการที่ ๔ ใช้ถ้อยคำที่ใช้ในตัวบทกฎหมาย
ประการที่ ๕ สุภาพ นุ่มนวล
ประการที่ ๖ สามารถจูงใจผู้ฟังผู้อ่านให้คล้อยตามได้