สารบัญ
บทนำบันทึกเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ

จดหมายเหตุรายวัน ในสมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร) เป็นบันทึกส่วนพระองค์จากสมุดที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานเป็นของขวัญวันประสูติ ครบ ๕ ปี (๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๖) การบันทึกใน ครั้งแรกทำเพียงแต่เป็นการเล่าถวาย พระเจ้าบรมวงศ์ พระองค์เจ้าโสมาวดี กรมหลวงสมรรัตน์สิริเชษฐ และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์อื่นๆ จดตามทรงเล่าไว้ในสมุด กระทั่งทรงเจริญพระชันษาได้ ๘ ปี จึงทรงบันทึก ด้วยพระองค์เอง ถึงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ หลังจากนั้นมิได้ทรงบันทึกอะไรอีก จนอีก ๑๐ เดือนต่อมา ทรงประชวรหนักและสวรรคตในวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ พระชนมายุได้ ๑๖ ปี ๖ เดือน

นอกจากเนื้อและสาระสำคัญในจดหมายเหตุรายวันฉบับนี้จะมีคุณค่าทางวิชาการอย่างมหาศาลแล้ว ความสำคัญอีกประการหนึ่งเกี่ยวเนื่องตัวพระองค์ของผู้จดบันทึก สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ทรงเป็น พระราชโอรสองค์โตในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิรา พระบรมราชเทวี ทรงได้รับการสถาปนาให้ดำรงพระเกียรติที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร พระองค์ แรกของสยามประเทศ และตั้งเป็นตำแหน่งสำคัญที่มิเคยปรากฏมาก่อนในประเทศสยาม มีความเทียบเท่ากับ ตำแหน่งอุปราช หรือสมเด็จกรมพระราชวังบวร (วังหน้า) แต่ครั้งโบราณกาล อีกทั้งมีความชัดเจนต่อระบบการ สืบราชสันตติวงศ์อีกประการหนึ่ง ด้วยทรงเป็นพระหน่อขัตติยราชตระกูลที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงหมายมั่นพระราชหฤทัยที่จะให้เป็นผู้สืบราชตระกูลเป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อไป ดังความ ปรากฏในพระบรมราโชวาทที่ทรงมีถึง สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (ลูกชายใหญ่) ทั้ง ๒ ฉบับ

ในส่วนของเนื้อหาสาระในจดหมายเหตุรายวันนั้น เปรียบได้กับแว่นส่องสังคมไทยในสมัยพระบาทสมเด็จ- พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เป็นอย่างดีทั้งเนื้อหาความรู้ด้านทางสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ โดยเฉพาะลัทธิ ธรรมเนียม ประเพณี บุคคลสำคัญ เหตุการณ์และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นสาระสำคัญต่างๆ ใน จดหมายเหตุรายวันฯ จึงเปรียบเสมือนขุมทรัพย์ทางความรู้ที่จะชี้ให้เห็นถึงสภาพสังคมในยุคดังกล่าวได้เป็น อย่างดี ซึ่งถูกซ้อนเร้นอยู่ภายใต้เนื้อหาในแต่ละวันที่ทรงบันทึก ดังปรากฏอยู่ในบันทึกดังกล่าว

หน้า จาก ๒๗ หน้า