ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๑๒ แรม ๗ ค่ำ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๒๐ ตรงกับ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๑ ลำดับที่ ๔๒ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๒๔ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเฉลิมพระยศขึ้นเป็นกรมหมื่น
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ ได้ทรงอุตสาหะร่ำเรียนวิชาการทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ชำนิชำนาญ จึงได้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณตรากตรำมา แต่ทรงพระเยาว์จนกาลบัดนี้ มีพระหฤทัย จงรักภักดีต่อราชการ ประกอบด้วยความอุตสาหะพากเพียรมิได้ย่อหย่อน ทรงบังคับการงานสิ่งใดโดยซึ่ง ตรงเที่ยงธรรมเรียบร้อยเปนที่ไว้วางพระหฤทัยมาช้านาน บัดนี้ทรงเจริญวัยวุฒิปรีชา ฉลาดในราชกิจทั้งปวง ทั่วถึงสมควรจะได้รับพระราชอิสริยยศเปนพระองค์ต่างกรมพระองค์หนึ่งได้จงมีพระบรมราชโองการมาน พระบัณฑูรสุรสิงหานาท ดำรัสสั่งให้สถาปนาเลื่อนตำแหน่งยศพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ เปนพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเทวะวงศ์ วโรปการ นาคนาม ทรงศักดิ์นา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมหาราชวัง
เจ้ากรม | เป็นหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ | ถือศักดินา | ๖๐๐ | |
ให้ทรงตั้ง | ปลัดกรม | เป็นหมื่นภูบาลสวามิภักดิ | ถือศักดินา | ๔๐๐ |
สมุหบาญชี | เป็นหมื่นรักษ์พยุหพล | ถือศักดินา | ๓๐๐ |
ในปีจอ พ.ศ. ๒๔๒๙ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศขึ้นเป็นกรมหลวงมีประกาศ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ ได้รับการฉลองพระเดชพระคุณเปนที่ไว้วางพระราชหฤทัย มาแต่ยังทรงพระเยาว์มีความชอบเป็นอันมาก ได้ปรากฏอยู่ในคำประกาศเมื่อเลื่อนกรมครั้งก่อนนั้นแล้ว จำเดิมแต่นั่นมา ก็ได้ทรงพระอุตสาหะรับราชการต่างๆ ซึ่งเปนราชการสำคัญใหญ่ยิ่งกว่าแต่ก่อน เปนที่ทรง ปรึกษาหารือในราชกิจต่างประเทศและการในพระนครเปนอันมาก แต่ยังเสด็จอยู่ในที่ไปรเวตศิเกรตารีหลวง ก็ได้รับกระแสพระราชดำริมีหนังสือไปมากับคนต่างประเทศด้วยข้อราชการในส่วนพระองค์บ้างข้อราชการ แผ่นดินบ้าง ระงับเหตุการณ์อันจะเป็นความลำบากในราชการให้เบาบางและสงบระงับไปโดยมาก จนภายหลัง ได้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณ ในตำแหน่งที่เสนาบดีว่าการต่างประเทศ จัดการในตำแหน่งให้เปนไป โดยเรียบร้อย สมควรแก่แบบอย่างราชการในกรุงสยามในกาลก่อน และอนุโลมตามแบบอย่างประเทศทั้งปวง ในการซึ่งสมควรนั้น ราชการในกรมผู้ว่าการต่างประเทศก็สงบเรียบร้อยเป็นอันเบาพระราชหฤทัย และเปนคุณต่อราชการขึ้นเปนอันมาก
จึงมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่งให้สถาปนาเลื่อนพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่น เทวะวงศ์วโรปการขึ้นเปนพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ใหญ่ มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการนาคนาม ทรงศักดิ์นา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมใน พระบรมมหาราชวัง
เจ้ากรม | เป็นหลวงเทวะวงศ์วโรปการ | ถือศักดินา | ๖๐๐ | |
ให้ทรงตั้ง | ปลัดกรม | เป็นขุนภูบาลสวามิภักดิ | ถือศักดินา | ๔๐๐ |
สมุหบาญชี | เป็นหมื่นรักษ์พยุหพล | ถือศักดินา | ๓๐๐ |
ในปีกุน พ.ศ. ๒๔๕๔ รัชกาลที่ ๖ พรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระยศขึ้นเป็นกรมพระ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เปนพระเจ้าบรมวงศ์ผู้ใหญ่อันพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรับ ราชการสนองพระเดชพระคุณเปนเสนาบดีมานานยิ่งกว่าเสนาบดีทั้งปวงในกาลบัดนี้ อันหน้าที่ในราชการใน แผนกว่าการต่างประเทศนั้นเล่าก็นับว่าเปนราชการสำคัญและยากยิ่งนัก เพระต้องทรงพระดำริคอยหาอุบาย ที่จะรักษาทางพระราชไมตรีระหว่างกรุงสยามกับนานาประเทศให้คงดีเป็นที่ปรองดองกันอยู่เสมอ ต้องคอยทรง ระวังรักษาพระเกียรติยศพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเกียรติยศแห่งชาติบ้านเมืองมิให้มีสิ่งใดมากระทบ กระเทือน อันจะทำให้พระบรมเดชานุภาพมีหนทางที่จะเสื่อมถอยหรือเปนที่สบประมาทได้แม้แต่นิดเดียว คอย ทรงระวังพิจารณาดูความเจริญแห่งชาติอื่นๆ ว่าจะดำเนินไปในทางใดแล้ว และคอยจัดการทางฝ่ายสยามให้ เปนไปตามสมควรเทียมทันนานาประเทศ มิให้เสียเปรียบเขาได้ ในการเหล่านี้ย่อมจะต้องมีเวลาที่ทรงปรึกษา โต้เถียงข้อราชการกับผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศอยู่เนืองๆ การที่ให้ทรงกระทำมาแล้วในทางนี้ นับว่าเปนที่เรียบร้อย ทุกคราวมา
อนึ่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ฯ ก็เปนพระราชโสทรเชษฐาธิบดีแห่งสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีได้ทรงสำแดงความจงรักภักดีในส่วนพระองค์มาโดยอเนกประการ นับว่าเปนมนตรีที่ปรึกษา ในส่วนพระองค์อันประเสริฐ สมควรมี่จะเลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเปนพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่เปนที่เคารพได้
จึงมีพระบรมราชโองการ ดำรัสสั่งให้เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการขึ้นเปนกรมพระ มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระเทวะวงศ์วโรปการ ขัตติยพิศาลสุรบพี ศรีพัชรินทรภราดร สดมสรอเนกศาตรวิบูลย์เกียรติจำรูญไพรัชการ สุภสมาจารสารสมบัติ มัทวเมตราธยาศัย ศรีรัตนตรัยคุนานุสุรสุนทรธรรมมิกบพิตร นาคนาม ให้ทรงศักดิ์นา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่าง พระองค์เจ้าต่างกรม ในพระบรมมหาราชวัง
เจ้ากรม | เป็นพระเทวะวงศ์วโรปการ | ถือศักดินา | ๘๐๐ | |
ให้ทรงตั้ง | ปลัดกรม | ปลัดกรมเป็นหลวงภูบาลสวามิภักดิ | ถือศักดินา | ๖๐๐ |
สมุหบาญชี | เป็นขุนรักษ์พยุหพล | ถือศักดินา | ๔๐๐ |
ในปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๕๙ รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเฉลิมพระยศขึ้นเป็นสมเด็จ ฯ กรมพระยา
พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรามหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทวะวงศ์วโรปการ ได้ทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณในตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงการต่างประเทศมาช้านาน ได้ทรงกระทำความดีความชอบทั้งในราชการแผ่นดิน และในส่วนพระองค์ แต่ในรัชกาลที่ ๕ มาจนรัชกาลปัจจุบัน ราชการในหน้าที่จะมีความสำคัญประการใด และได้ทรงจัดราชการนั้นๆ ให้เปนไปได้โดยเรียบร้อยประการใด มีปรากฏในประกาศเลื่อนกรมครั้งก่อนนั้นแล้ว ต่อมาราชการในหน้าที่ โดยทั่วถึง จึงได้ทรงผ่อนผันจัดราชการนั้นๆ ให้เปนไปตามกระแสพระบรมราโชบายมิได้คลาดเคลื่อน จึงมิได้ มีเหตุกระทบกระเทือนให้เปนที่มัวหมองแก่ทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศแม้แต่เล็กน้อย เปนเหตุประกอบ ให้เจริญพระราชอิสริยยศปรากฏพระเกียรติคุณแผ่พ่านไป กระทำให้มหาประเทศทั้งปวงมีความนิยมนับถือ พระราชกฤดาภินิหารยิ่งขึ้น จนสมเด็จพระเจ้ากรุงอังกฤษทรงถวายพระราชอิสริยยศ ตำแหน่งนายพลเอกพิเศษ กองทัพบกอังกฤษ และทรงรับตำแหน่งนายพลเอกพิเศษกองทัพบกสยามอันพระราชาธิบดีในชมพูทวีปยังมิได้เคย ทรงรับเลยนั้น เปนต้น ในส่วนพระองค์ทรงนับว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทวะวงศ์วโรปการเปนเอกอัครมนตรี ผู้ที่ได้ทรงปรึกษาสรรพราชกิจน้อยใหญ่ได้สมพระราชหฤทัยทุกเมื่อ เพราะพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นั้นทรงมี ความชำนิชำนาญในเชิงรัฐประศาสโนบายหาผู้ใดเปรียบปานได้โดยยาก ทั้งทรงเปนผู้ที่กราบบังคมทูลความเห็น โดยตรงทุกเมื่อโดยความจงรักภักดี
อนึ่ง ก็ทรงพระเจริญวัยอยู่ในชั้นพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่แล้วสมควรจะเพิ่มพระราชอิสริยยศให้ใหญ่ยิ่งขึ้น
จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้เลื่อน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทวะวงศ์วโรปการเปน สมเด็จกรมพระยามีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ขัตติยพิศาลสุรบพี บรมราชินีศรีพัชรินทรภราดร สโมสรอเนกนิติปรีชา มหาสุมัตยานุวิตรวิบูลย์ ไพรับราชกิจจาดุล สุนทรปฏิภาณ นิรุกติญาณวิทยาคณนาทิศาสตร์ โหรกลานุวาทนานาปกรณ์ เกียรติกำจรจิรกาลบริบูรณคุณสารสมบัติ สุจริตสมาจารวัตรมัทวเมตตา ชวาธยาศรัย ศรีรัตนตรัยสรณธาดา กัลยาณธรรมิกนาถบยพิตรนาคนาม ให้ทรงศักดินา ๓๕,๐๐๐ เปนพิเศษในตำแหน่งพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ใหญ่ในพระบรมมหาราชวัง
เจ้ากรม | เป็นพระยาเทวะวงศ์วโรปการ | ถือศักดินา | ๑,๐๐๐ | |
ให้ทรงตั้ง | ปลัดกรม | ปลัดกรมเป็นพระภูบาลสวามิภักดิ | ถือศักดินา | ๘๐๐ |
สมุหบาญชี | เป็นหลวงรักษพยุหพล | ถือศักดินา | ๕๐๐ |
ต่อมารัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศขึ้นเป็นมหาอำมาตย์นายกและยังคงดำรง ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ตลอดจนได้เป็นสภานายกแห่งสภาการคลังอีกตำแหน่งหนึ่งด้วยจน ตลอดพระชนม์ชีพ
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๘ แรม ๑ ค่ำ ปีกุน เบญจศกจุลศักราช ๑๒๘๕ ตรงกับ วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๖
พระชันษา ๖๖ ปี
ทรงเป็นต้นราชสกุล เทวกุล
ที่ ๒ ในสมเด็จพระปิยมาวดี
“น้าตุ้ย” (พระองค์เจ้าหญิงดวงประภา (พระองค์ตุ้ย))ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๓ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีจอ สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๐๐ ตรงกับวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๓๘๑ ลำดับที่ ๕ ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันอังคาร เดือน ๕ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีมะแม สัปตศก จุลศักราช ๑๒๕๗ ตรงกับวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๘
พระชันษา ๕๘ ปี
ที่ ๒ เจ้าจอมมารดามาลัย
“เสด็จยาย” (พระองค์เจ้าหญิงแม้นเขียน)ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีมะแม เบญจศก จุลศักราช ๑๑๕๘ ตรงกับวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๖๖ ลำดับที่ ๗๒ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
“เสด็จอาวัฒนา” (พระองค์เจ้าชายวัฒนา)ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือนอ้าย แรม ๕ ค่ำ ปีขาล ฉศก จุลศักราช ๑๒๑๖ ตรงกับวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๗ ลำดับที่ ๔๐ ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
สิ้นพระชนม์ (สืบค้นไม่ได้)
เจ้าจอมมารดาลำภู
“กรมหมื่นภูธเรศ” (พระองค์เจ้าชายทวีถวัลยลาภ)ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีเถาะ สัปตศก จุลศักราช ๑๒๑๗ ตรงกับวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๙๘ ลำดับที่ ๒๔ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ใน พ.ศ. ๒๔๑๙ รัชกาลที่ ๕ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเฉลิมพระยศขึ้นเป็นกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ เปนพระเจ้าน้องยาเธออันสนิท ได้มีความสวามิภักดิ์ ทรงพระอุตสาหะ รับราชการฉลองพระเดชพระคุณมาช้านานได้ทรงพระกรุณาโปรดให้ช่วยในศาลรับสั่งชำระความฎีกา และได้ทรง ชำระความบางเรื่องก็ประกอบด้วยความยุติธรรม และร้อนรนซึ่งกะให้แล้วสำเร็จไปโดยเร็ว และได้รับราชการอื่นๆ อีกก็เรียบร้อย และมีพระชนมายุเจริญวัยวุฒิประกอบด้วยวิริยะปรีชา รอบรู้ในราชกิจต่างๆ สมควรแก่ตำแหน่งยศ ที่พระองค์เจ้าต่างกรมรับราชการต่างพระเนตร พระกรรณได้จึงมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งให้เลื่อนตำแหน่งยศพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภเปนพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตาม จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ มุสิกนาม ได้ทรงศักดินา ๑๕,๐๐๐ ตาม พระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรม ในพระบรมมหาราชวัง
เจ้ากรม | เปนหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ | ถือศักดินา | ๖๐๐ | |
ให้ทรงตั้ง | ปลัดกรม | เปนหมื่นอนุรักษ์ภูธร | ถือศักดินา | ๔๐๐ |
สมุหบาญชี | เปนหมื่นนิกรพลรักษ์ | ถือศักดินา | ๓๐๐ |
ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงนครบาล
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันพุธ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีระกา นพศก จุลศักราช ๑๒๕๙ ตรงกับ วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๐
“พี่อัจฉรพรรณี” (พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา)ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๘ อุตราสาฒ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๓๔ ตรงกับ วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๑๕ ลำดับที่ ๖ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันอังคาร เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีจอ โทศก จุลศักราช ๑๒๗๒ ตรงกับ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓
พระชันษา ๓๙ ปี
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาตลับ (ท่านเป็นธิดาพระยาเวียงในนฤบาล (หรั่ง เกตุทัต)
“พี่วรลักษณ์” - พระองค์เจ้าหญิงวรลักษณาวดีประสูติเมื่อวันพุธ เดือน ๘ ปฐมาสาฒ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๓๔ ตรงกับวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ ลำดับที่ ๔ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันพุธ เดือน ๙ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีขาล อัฐศก จุลศักราช ๑๒๘๘ ตรงกับวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๙
พระชันษา ๕๕ ปี
เจ้าจอมมารดาสุด (เป็นธิดาพระยาสุรินทราชเสนี (จัน กุสุมลจันทร์)
“น้องหญิงใหญ่” (สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพาหุรัดมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร นริศรราชกุมารี)ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย แรม ๑๐ ค่ำ ปีขาล สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๔๐ ตรงกับวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๒๑ ลำดับที่ ๒๔ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันเสาร์ เดือน ๑๐ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีกุน นพศก จุลศักราช ๑๒๔๙ วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๐
พระชันษา ๑๐ ปี
ที่ ๑ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ
ในปีเถาะ สัปตศก จุลศักราช ๑๒๗๗ พ.ศ. ๒๔๕๘ รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระนามพระอัฐิเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระเทพนารีรัตน์
“สมเด็จตา” (เจ้าฟ้าชายกลาง)ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีเถาะ เอกศก จุลศักราช ๑๑๘๑ ตรงกับวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๓๖๒ ลำดับที่ ๖๕ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ในปีกุน พ.ศ. ๒๓๙๔ รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเปน กรมหมื่นปราบปรปักษ์
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงทศพิธราชธรรม อนันตคุณวิบุลย ปรีชาอันมหาประเสริฐ ทรงพระราชดำริว่า เจ้าฟ้าพระองค์กลางมีบรรดาศักดิ์เปนสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถอันทรงพระนามตามประกาศ ด้วยพระนามแห่งพระโหทิฐปฏิมาว่า พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เปนบรมราชกนิษฐาอันวิเศษแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์ได้ ทรงคุ้นเคยมาช้านาน และได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณโดยซื่อสัตย์สุจริต แต่ยังหามีพระนามจารึกลงไว้ ในพระสุพรรณบัฏไม่ บัดนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จารึกพระนามลงไว้ในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา อิศวราธิราชรวิวงศ์ บรมพงศ์ปฎิพัทธ์ บุรุษรัตนวโรภโตสุชาติ บริษัทยนาถนรินทราธิบดี มุสิกนาม
เจ้ากรม | เปนหมื่นปราบปรปักษ์ | |
ให้ทรงตั้ง | ปลัดกรม | เปนหมื่นพิทักษ์พยุห์ |
สมุหบาญชี | เปนหมื่นบรรลุอักษรศาสตร์ |
ทำราชการสนองพระเดชพระคุณสืบไป
ใน พ.ศ. ๒๔๑๐ ได้เลื่อนเป็นกรมขุนบำรุงราบปรปักษ์
ในปีจอ พ.ศ. ๒๔๑๗ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศเลื่อนกรมขึ้นเป็นกรมพระบำราบปรปักษ์
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์ เปนพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ในพระบรมราชตระกูลนี้ กอปรด้วยพระสติปัญญา วิริยะอุตสาหะในราชกิจใหญ่น้อย ได้ฉลองพระเดชพระคุณในราชการมาแต่รัชกาลที่ ๓ ที่ ๔ จนรัชกาลปัตยุบันนี้ และมีพระทัยจงรักภักดีสนิทชิดชอบเปนที่ไว้วางพระราชอัธยาศัย ได้ทรงจัดการนั้นๆ ให้สำเร็จได้ โดยพระราชประสงค์ และทรงพระปรีชารอบรู้ในอุดมวิชาคชกรรมศาสตร์ โหราศาสตร์และปฏิภาณ ในการแต่ง กาพย์ กลอน คำโคลง คำฉันท์ และแบบบรรพตำรับราชกิจศุภการต่างๆ ในพระนครและหัวเมืองทั่วไป มีพระอัธยาศัยซื่อตรงดำรงในยุติธรรมสุจริตเรียบร้อยมา สมควรจะเปนพระบรมวงศ์ดำรงที่ต่างกรมผู้ใหญ่ เปนที่ คำนับแก่พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งปวงได้ จึงมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งให้เลื่อน พระนาม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราปรปักษ์ เปนเจ้าฟ้าต่างกรมตำแหน่งใหญ่ ในชั้นเจ้าฟ้ากรมพระ มีพระนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ์ มหิศวรศักดิ์สุนทรวิวงศ์ บรมพงศ์บริพัตร วิวัฒนยโสดม สรรพศิลปาคมอุดมกิจ พิฆเนศวรประสิทธิคชกรรมศาสตร์ โหรกลานุวาทกายปฏิภาณ สฤษฎิสรรพศุภการสกลรัษฎาธิกกิจปรีชาวตโยฬาร์- ยุติธรรมาชวาธยาศรัย ไตรศรีรัตนธาดา มหันตเดชานุภาพบพิตร นาคนาม ทรงศักดินา ๕๐,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดกฎหมายเดิม
เจ้ากรม | เปนพระบำราบปรปักษ์ | ถือศักดินา | ๘๐๐ | |
ให้ทรงตั้ง | ปลัดกรม | เปนหลวงพิทักษ์ลพยุห | ถือศักดินา | ๖๐๐ |
สมุหบาญชี | เปนขุนบรรลุอักษรศาสตร์ | ถือศักดินา | ๔๐๐ |
ปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนกรมเฉลิมพระยศขึ้นเป็นสมเด็จกรมพระยา
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ์ เปนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ซึ่งเป็น อัครอุดมสุขุมาลชาติ มีพระเกียรติยศยิ่งใหญ่ในราชตระกูลควรเปนที่นอบน้อมยกย่องของชนทั้งปวงทั่วหน้า อีกประการหนึ่งได้ทรงรับราชการมาตลอดรัชกาลที่ ๓ ที่ ๔ จนถึงรัชกาลปัตยุบันนี้ ราชการทั้งทวงที่ได้ทรง ประพฤติมานั้น ล้วนแต่ตั้งอยู่ในความสุจริตซื่อตรงดำรงอยู่ในแบบอย่างของผู้ซึ่งมีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดิน และประเทศบ้านเมือง ตนจะประพฤติได้เพียงใดก็ได้ทรงประพฤติรักษาราชการนั้นๆ โดยความสัตย์สุจริต อันพิเศษเต็มที่ มิได้ด่างพร้อยแต่สักครั้งสักคราวหนึ่งเลย
จึงมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่งให้เลื่อนพระนามสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ์ เปนเจ้าฟ้าต่างกรมตำแหน่งใหญ่ ชั้นเจ้าฟ้าต่างกรม กรมสมเด็จพระ มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ มหิศวรศักดิสุนทรรวิวงศ์ บรมพงศ์บริพัตร วิวัฒนยโศดม สรรพศิลปาคมอุดมกิจ พิฆเนศวรประสิทธิคชกรรมศาสตร์ โหรกลานุวาทกาพยปฏิภาณ สฤษฏิศุภการสกลรักษฎาธิกกิจปรีชาวตโยฬารสมบูรณคุณสารสุจริต จริยาภิรมย์ ราชพงศานุกรมมุขประดิษฐาสกลนารภิมานิต นริศราธิบดินทร์ ปรมินทรมหาวโรประการ ปรัชาชาณยุตติธรรมาชวาธยาศรัย ศรีรัตนตรัยสรณคุณารักษ์ บรมอรรคมหาบุรุษยรัตน์ สุขุมาลกระษัตริย์ วิสุทธิชาติธรรมิกนาถบพิตร มุสิกนาม
พระราชทานศักดินาพิเศษเพิ่มขึ้นกว่าพระราชกำหนดเดิมให้ทรงศักดินา ๖๐,๐๐๐
เจ้ากรม | เปนพระยาบำราบปรปักษ์ | ถือศักดินา | ๑,๐๐๐ | |
ให้ทรงตั้ง | ปลัดกรม | เปนพระพิทักษ์พลพยุห | ถือศักดินา | ๘๐๐ |
สมุหบาญชี | เปนหลวงบันลุอักษรศาสตร์ | ถือศักดินา | ๔๐๐ |
ได้ทรงรับราชการแต่รัชกาลที่ ๓ ในตำแหน่ง กรมวัง ถึงรัชกาลที่ ๔ ได้ว่ากรมวัง กรมพระคชบาล และกรมสังฆการีธรรมการ ในต้นรัชกาลที่ ๕ ได้เป็นผู้สำเร็จราชการฝ่ายในในราชสำนัก และว่าการพระคลังทั้งปวง ต่อมาได้เป็นผู้สำเร็จราชการกรมมหาดไทย
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันพุธ เดือน ๑๐ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีจอ อัฐศก จุลศักราช ๑๒๔๘ ตรงกับวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๙
พระชันษา ๖๗ ปี
ทรงเป็นต้นราชสกุล มาลากุล
ที่ ๒ ในเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี