สารบัญ
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

พระที่นั่งองค์นี้ สร้างขึ้นในแบบสถาปัตยกรรมผสมผสาน องค์พระที่นั่งสร้างในแบบสถาปัตยกรรมยุโรป สมัยสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย แต่หลังคาสร้างในแบบสถาปัตยกรรมไทย เป็นหลังคายอดปราสาท ๓ ยอด เรียงกันจากด้านตะวันออกไปตะวันตก

รูปลักษณ์ขององค์พระที่นั่ง เป็นอาคารรูปตัว T ตอนที่เป็นตอนบนของตัว T เป็นองค์พระที่นั่งด้านหน้า สร้างเป็นอาคาร ๓ ชั้น ส่วนตอนที่เป็นเสมือนลำตัวของตัว T เป็นอาคารชั้นเดียว แต่ยกพื้นสูงเสมอชั้นกลาง บางตอนของอาคาร ๓ ชั้น

องค์พระที่นั่งด้านหน้าแบ่งเป็น ๕ ตอน สามตอนที่มีหลังคาเป็นยอดปราสาท เป็นพระที่นั่งองค์ประธาน องค์กลางเรียกว่า “พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทองค์กลาง’” ส่วนองค์ริม ๒ ข้างเรียก “พระที่นั่งจักรีมหา ปราสาทองค์ตะวันออก” และ “พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทองค์ตะวันตก” ตามทิศทางที่พระที่นั่งแต่ละ องค์ตั้งอยู่ ระหว่างองค์ปราสาททมีมุขกระสันเชื่อมให้ต่อเนื่องกัน มุขกระสันที่ต่อเนื่องระหว่าง “พระที่นั่งจักรี ฯ องค์กลาง” กับ “พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทองค์ตะวันออก” เรียกว่า “มุขกระสันด้านตะวันออก” ส่วนมุขกระสันที่ต่อเนื่องระหว่าง “พระที่นั่งจักรี ฯ องค์กลาง” กับ “พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท องค์ตะวันตก” เรียกว่า “มุขกระสันด้านตะวันตก”

ส่วนองค์พระที่นั่งต่อจากองค์พระที่นั่งด้านหน้าในลักษณะเหมือนลำตัวของตัว T นั้น เป็นท้องพระโรงกลาง และท้องพระโรงหลัง

ลักษณะและความสำคัญของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทแต่ละส่วนมีดังนี้

พระที่นั่งจักรีฯ องค์กลาง

พระที่นั่งส่วนนี้ เป็นพระที่นั่ง ๓ ชั้น

ชั้นบน – เป็นหอพระบรมอัฐิ ภายในตกแต่งศิลปะลายไทยอย่างวิจิตรบรรจงงดงามอย่างหาที่เปรียบ มิได้ ผนังเรียบไม่ได้เขียนสีหรือลวดลายอย่างใด แต่ที่เชิงผนังประกอบบัวไม้ แม่ลายจำหลักเป็นลายกุดั่นดอกใหญ่ ลงรักปิดทองประดับกระจก ขอบบัวประกอบด้วยกระจังปฏิญาณ ผนังตอนบนประกอบบัวเชิงเพดานเป็นลายเฟื่อง เพดานตกแต่งด้วยดาวทองแกมแก้วดอกลอยภายในกรอบเหลี่ยม มุมกรอบประกอบด้วยลายผีเสื้อทั้งดาวลอยทั้งกรอบ และลายมุมกรอบเป็นไม้จำหลักลงรักปิดทองประดับกระจกทั้งสิ้น ขอบพระทวารด้านในประกอบด้วยไม้จำหลักลาย กระหนกแข้งสิงห์ ภายในช่องจระนำเหนือ พระทวารเขียนรูปเทพพนมประกอบลายกระหนก เบื้องล่างลายกระหนก เป็นลายราชวัตรบานพระทวารจำหลักลายกระหนกแข้งสิงห์ล้อมลายรักร้อย

ที่ผนังด้านตะวันออก ตะวันตก และด้านใต้ สร้างเป็นคูหากระจก ขอบคูหาเขียนลายทองประกอบ ลายจำหลักเป็นลายกระหนกแข้งสิงห์ ภายในคูหาด้านใต้เป็นพระวิมานที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ ๕ และพระบรมอัฐิสมเด็จพระอัครมเหสีในสองรัชกาลนี้ และภายในคูหาด้านตะวันออก เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ที่ ๗ และที่ ๘ ส่วนภายในคูหาด้านตะวันออก ประดิษฐานพระพุทธรูป

ภายนอกพระทวารพระบรมอัฐิด้านเหนือเป็นมุขเด็จแบบไทย

ชั้นกลาง - เป็นท้องพระโรงหน้า ท้องพระโรงนี้เป็นห้องโถง ซึ่งเป็นทางที่จะผ่านไปยังส่วนอื่นๆ ของ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ดังนี้

ทางด้านใต้ของท้องพระโรงมีพระทวารใหญ่เป็นทางเข้าสู่ท้องพระโรงกลางพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทางด้านตะวันออกเป็นอัฒจันทร์ขึ้นไปสู่มุขกระสันและห้องรับแขกภายในพระที่นั่งฯ องค์ตะวันตก ส่วนทางด้าน เหนือเป็นทางออกสู่มุขหน้า

มุขหน้านี้ เป็นมุขที่ต่อยื่นจากองค์พระที่นั่งจักรี ฯ องค์กลางออกมาทางด้านเหนือเป็นเสมือนชาน อัฒจันทร์ ด้านตะวันออกและด้านตะวันตกของมุขมีอัฒจันทร์ใหญ่ เป็นทางลงไปสู่พื้นลานด้านหน้าพระที่นั่ง ด้านเหนือของมุขหน้า มีชานเล็กสร้างเป็นรูปโค้งเสี้ยวพระจันทร์ยื่นออกไปนอกองค์พระที่นั่ง ชานนี้เป็น ชานสีหบัญชรสำหรับสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าเสด็จฯ ออกให้ประชาชนเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในบางโอกาส เมื่อ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษก ได้เสด็จฯ ออกให้ประชนเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลที่มุขนี้

ภายในท้องพระโรงหน้า แต่เดิมตกแต่งด้วยอาวุธโบราณ ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นแขวนพระรูปเขียน ของพระบรมราชวงศ์บางพระองค์ ในปัจจุบันแขวนพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการปัจจุบัน ทรงเครื่องบรมราชภูษิตาภรณ์ตามขัตติยราชประเพณี พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลปัจจุบัน พระรูปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

ชั้นล่าง – เป็นกองรักษาการณ์ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์

พระที่นั่งจักรีฯ องค์ตะวันออก

ชั้นบน – เป็นหอประดิษฐานปูชนียวัตถุของสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า

ชั้นกลาง – เป็นห้องรับแขก ห้องนี้เรียกกันแต่ครั้งรัชกาลที่ ๕ ว่า “ห้องไปรเวต” ด้าน ตะวันออกเพราะเมื่อครั้งยังประทับ ณ พระราชมณเฑียรหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทนี้เสด็จฯ ออกรับแขกที่มิได้ เฝ้าฯ เป็นทางราชการที่ห้องนี้ ในปัจจุบัน ทรงใช้เป็นห้องรับรองพระราชอาคันตุกะชั้นสมเด็จพระราชาธิบดี และ พระราชวงศ์ หรือพระราชอาคันตุกะชั้นประมุขของประเทศ ในโอกาสที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงาน พระราชทานเลี้ยงรับรอง

ที่ผนังด้านใต้ของห้องนี้ แขวนภาพเขียนสีน้ำมันขนาดใหญ่ กว้าง ๓ เมตร ยาว ๔ เมตร เป็น พระบรมฉายาลักษณะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับร่วมกับสามเด็จพระศรีพัชรินทรา- บรมราชินินาถ และสมเด็จพระบรมราชปิโยรส ๕ พระองค์ เป็นภาพที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โปรเฟสเซอร์ เอดุวารโดเยลลี ช่างเขียนชาวอิตาเลียนเขียนขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐

ชั้นล่าง – เป็นห้องพักแขก เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับ ณ พระราช- มณเฑียรหมู่พระที่นั่งจักรีฯ ห้องนี้เป็นห้องสำหรับราชองค์รักษ์

พระที่นั่งจักรีฯ องค์ตะวันตก

ชั้นบน – เป็นหอประดิษฐานพระอัฐิพระมเหสี และพระอัฐิพระบรมราชวงศ์ในสมเด็จพระมหา- กษัตริยาธิราชเจ้า

ชั้นกลาง – เป็นห้องรับแขก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดเป็น “ออฟฟิศหลวง” และเคยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และพระเจ้าลูกยาเธอ เสด็จออกทรงพระอักษร กับครูที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์หรือข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายหน้าในห้องนี้ ตามหลักฐานปรากฏ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (สมเด็จพระปิตุลา ในรัชกาลปัจจุบัน) และพระเจ้า- ลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ (กรมพระจันทบุรีนฤนาท พระอัยกาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม- ราชินีนาถ ในรัชกาลปัจจุบัน) เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ก็ได้เสด็จมาทรงพระอักษร ณ ห้องนี้ โดยมีพระศรีสุนทร เป็นผู้ถวายการสอน และมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้กำกับ

ในรัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯ ให้จัดห้องนี้เป็นห้องเฝ้าฯ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี

ที่ผนังด้านใต้ แขวนพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพพรรณี พระบรมราชินี เป็นพระบรมฉายาลักษณะที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จิตรกรไทยเป็นผู้เขียน

ชั้นล่าง – เป็นห้องสมุด

มุขกระสันด้านตะวันออก

ชั้นบน – เป็นเฉลียงทางเดินระหว่างหอพระบรมอัฐิบนพระที่นั่งจักรีฯ องค์กลางกับหอประดิษฐาน ปูชนียวัตถุบนพระที่นั่งจักรีองค์ตะวันออก

ชั้นกลาง – เป็นห้องโถง โดยปรกติจัดเป็นที่รับรองคณะทูตานุทูต ก่นที่จะนำเข้าเฝ้าทูลละอองธุลี- พระบาทถวายพระราชสาสน์ตราตั้ง แต่ในโอกาสที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานเลี้ยงรับรองพระราช- อาคันตุกะชั้นประมุขของประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงนำพระราชอาคันตุกะเสด็จฯ ออกให้ผู้ได้ รับเชิญเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และทรงมีพระราชปฏิสันถารกับผู้ได้รับเชิญ ณ ห้องนี้

ห้องโถงภายในมุขกระสันนี้ แบ่งเป็น ๒ ตอน ตอนในเป็นห้องรับรอง ตอนนอกเป็นเฉลียงทางเดินต่อ เนื่องระหว่างท้องพระโรงหน้าพระที่นั่งจักรีฯ องค์กลาง กับห้องรับแขกพระที่นั่งจักรีฯ องค์ตะวันออก แต่ระหว่าง ห้องกับเฉลียงนี้ มิได้มีผนังกั้น มีแต่เสานางจรัลเรียงรายเป็นช่องๆ ตลอดแนว

ผนังมุขกระสันตอนใน ประดับพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า แต่รัชกาล ที่ ๑ ถึง รัชกาลที่ ๗ และพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมฉายาลักษณ์ทั้ง ๘ องค์ เป็นภาพเขียนสีน้ำมัน ฝีมือจิตรกรชาวต่างประเทศบ้าง และฝีมือจิตรกรชาวไทยบ้าง

ชั้นล่าง – เป็นห้องโถง

มุขกระสั้นด้านตะวันตก

ชั้นบน - เป็นเฉลี่ยงทางเดินระหว่างหอพระบรมอัฐิบนพระที่นั่งจักรีฯ องค์กลางกับหอพระอัฐิบน พระที่นั่งจักรีฯองค์ตะวันตก

ชั้นกลาง – เป็นห้องโถง สำหรับรับรองแขกผู้มีเกียรติ เป็นห้องที่มีขนาดและลักษณะเหมือนมุขกระสัน ด้านตะวันออกทุกประการ แต่ผนังประดับพระบรมฉายาลักษณ์และพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระอัครมเหสีในองค์ สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า รวม ๖ พระองค์ คือ

๑. กรมสมเด็จพระเทพสิรินทรามาตย์

๒. สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ บรมราชชนนี พระพันปีหลวง (เป็นพระบรมรูปสมัย ยังดำรงพระอิสริยยศเป็นพระนางเธอฯ)

๓. สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (เป็นพระบรมรูปสมัยทรงดำรง พระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระราชชนนีสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช)

๔. สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี

๕. สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมมาลย์มารศรี พระอัครเทวี (เป็นพระรูปสมัยทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็นพระนางเธอฯ)

๖. สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗

ชั้นล่าง – เป็นห้องโถง

ห้องพระโรงกลาง ท้องพระโรงกลางพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทนี้ เป็นท้องพระโรงสำหรับสมเด็จพระมาหากษัตริยาธิราชเจ้า เสด็จฯ ออกให้คณะทูตานุทูตต่างประเทศเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระราชสาสน์ตราตั้งเป็นเอกอัครราชทูต ประจำพระราชสำนัก หรือเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่สำหรับประกอบการ พระราชพิธี การพระราชกุศล หรือประกอบพระราชกรณียกิจอย่างอื่นตามควรแก่โอกาส เช่น จัดเป็นที่พระราชทาน เลี้ยงรับรองพระราชาธิบดี หรือประธานาธิบดีต่างประเทศที่เข้ามาเยือนประเทศไทยเป็นทางการ เป็นต้น

ในรัชกาลที่ ๕ เคยทรงใช้เป็นที่เสด็จฯ ออกขุนนางด้วย

ท้องพระโรงนี้ เป็นท้องพระโรงกว้าง ๑๒.๗๐ เมตร ยาว ๒๔.๐๐ เมตร เพดานสูง ๑๔.๐๐ เมตร

ผนังและเพดานภายในท้องพระโรงกลางนี้ เป็นไปตามลักษณะของตัวอาคาร คือ เป็นสถาปัตยกรรมยุโรป มิได้ตกแต่งลวดลายแบบไทยดังเช่นที่หอพระบรมอัฐิ เชิงผนังและเสาหินอ่อนเป็นสีดำตัดกับสีผนังซึ่งเป็นสีฟ้าอ่อน บัวหัวเสา บัวคอสอง บัวเชิงเพดานเป็นลายปูนปั้นปิดทอง ที่คอสองประดับหินอ่อนแผ่นสี่เหลี่ยมเป็นช่องๆ คล้ายลักษณะของช่องลม

เพดาน – บางส่วนเป็นเพดานทึบ บางส่วนประกอบเป็นลวดลายใส่กระจกสีให้เป็นลายโปร่งแสง กลางเพดานแขวนโคมระย้าแก้วผลึกขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓.๐ เมตร ยาว ๔.๕ เมตร ๑ ระย้า และขนาด ย่อมกว่าอีก ๒ ระย้า สุดท้องพระโรงด้านใต้ ยกพื้นขึ้นเป็นฐานหินอ่อน บนฐานนี้ตั้งพระแท่นลาและทอดพระที่นั่ง พุดตานถม กางกั้นด้วยพระนพปฏลมหาเศวตฉัตร สองข้างพระที่นั่งพุดตานถมตั้งพระบวรเศวตฉัตร มีเทวรูปเชิญ พระแสงและเชิญหีบพระราชลัญจกรตั้งอยู่เบื้องหน้าพระบวรเศวตฉัตร

พระที่นั่งพุดตานถม ซึ่งเป็นพระราชอาสน์ราชบัลลังก์ประจำพระที่นั่งจักรีมหาประสาทนี้ องค์ประที่นั่ง ทำด้วยไม่หุ้มเงินถมลงยาทาทอง ซึ่งเรียกกันว่า ถมตะทอง พนักและใบปรือหุ้มทองคำลงยากประดับพลอย เป็นศิลปกรรมเครื่องถมชิ้นเอกอีกชิ้นหนึ่งของประเทศไทย ประวัติการสร้างพระที่นั้นราชาอาสน์ราชบัลลังก์องค์นี้ ท่านผู้รู้ยังกล่าวอ้างขัดแย้งกันอยู่ คือ พระยาเทวาธิราชท่านได้เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง “ราชูปโภคและเครื่อง ประกอบพระราชอิสริยยศพระมหากษัตริย์” ว่า สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๕ พระยาเพชรพิชัย (จีน) เป็นผู้ทำ แต่ตามตำนานเครื่องถมไทย ของหลวงวิศาลศิลปกรรมกล่าวว่า ท่านเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ได้นำ มาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมกับพระเสลี่ยง เมื่อเดือน ๗ จุลศักราช ๑๒๐๒ (พ.ศ. ๒๓๘๓)

ความที่ว่าท่านเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) นำพระเสลี่ยงถมและพระแท่นถม ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น มีข้อความปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ และพระเสลี่ยงถม ก็ยังมีอยู่ที่พระที่นั่งเทพสถานพิลาสในพระบรมมหาราชวัง แต่พระแท่นนั้นนอกจากพระที่นั่งพุดตานถมที่ทอดเป็น พระราชบัลลังก์ในท้องพระโรงกลางพระที่นั่งจักรีมหาประสาทแล้ว ไม่มีที่ไหนอีก ถ้าองค์นี้พระยาเพชรพิชัย (จีน) เป็นผู้ทำในรัชกาลที่ ๕ องค์ที่เจ้าพระยานครศรีธรรมาราชถวายหายไปไหน จะเป็นได้หรือไม่ว่าองค์ที่มีอยู่นี้คือ องค์ที่เจ้าพระยานครศรีธรรมราชถวายตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๓ ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมี พระราชประสงค์จะให้ทอดเป็นพระราชบัลลังก์ประจำพระที่นั่งจักรีฯ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาเพชรพิชัย (จีน) จัดทำพนัก ใบปรือและพระแท่นลาเพิ่มขึ้น เพราะทั้งพนักและใบปรือนี้ก็ทำด้วยไม้แกะสลักหุ้มทองคำ ลงยา ส่วนพระแท่นลาแม้จะเป็นเงินถมลงยาทาทองแต่ลายก็ต่างกับองค์พระที่นั่ง จึงสมที่จะเป็นของทำคนละคราวได้

เบื้องหลังพระแท่นเศวตฉัตรทำเป็นซุ้มจระนำ กลางซุ้มจระนำเขียนเป็นตราจักรีอันเป็นสัญญลักษณ์ของ สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าในราชรวงศ์ จักรีนี้

ส่วนผนังด้านอื่นประดับด้วยภาพเขียนสีน้ำมัน เกี่ยวกับประวัติการเจริญทางพระราชไมตรีระหว่างประเทศไทย กับประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส ดังนี้

ผนังด้านตะวันออก – เป็นภาพเซอรยอนเบาริง เข้าเฝ้าฯ ถวายพระราชสาสน์ของสมเด็จพระบรม- ราชินีนาถวิกตอเรีย แห่งบริเตนใหญ่ แด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งอนัตสมาคม หมู่พระ- อภิเนาวนิเวศน์ ในพระบรมมหาราชวัง

ผนังด้านตะวันตก – เป็นภาพพระวิสูตรสุนทร อัครราชทูตไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เข้าเฝ้าจำทูลพระราชสาสน์แด่สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ พระราชาธิปดีแห่งฝรั่งเศส ณ พระราชวังแวร์ซายล์

ผนังด้านเหนือ ซีกตะวันตก – เป็นภาพสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย เสด็จฯ ออกรับ พระยามนตรีสุริวงค์ราชทูตไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระราชวังบัคกิงแฮม

ผนังด้านเหนือ ซึกตะวันออก – เป็นภาพสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ ทรงรับพระราช- สาสน์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระยาสุริวงศ์นตรีราชทูต ได้นำขึ้นถวาย ณ พระราชวังฟองเตน- เบลอประเทศฝรั่งเศส

ภาพหลังนี้ เป็นภาพที่สมเด็จพระเจ้าจักรพรรดินโปเลียน ที่ ๓ พระราชาธิบดีแห่งฝรั่งเศส ส่งมาถวาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ภายในท้องพระโรงนี้ นอกจากโคมระย้าแก้วเจียระไนแขวนเพดานแล้ว ยังมีโคมแก้วเจียระไนตั้งพื้น ขนาดใหญ่ ทำเป็นพุ่มติดดวงโคมพุ่มละหลายสิบดวง ตั้งอยู่ทั้งสี่มุมท้องพระโรง และมีโคมไฟฟ้าประดิษฐ์เป็น แจกันแก้วผลึกขนาดใหญ่ แต่ภายในเป็นโคมไฟฟ้าตั้งอยู่ริมผนังทั้งด้านตะวันออกและด้านตะวันตก โดมไฟฟ้า ทั้งหมดนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีต่างประเทศจัดส่งมาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งสิ้น

จากท้องพระโรงกลางพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทนี้ มีพระทวารไปสู่พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ทางด้าน ตะวันออก และไปสู่พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติทางด้านตะวันตกทางผนังด้านทิศใต้มีพระทวารสองข้างแทน ฐานหินอ่อนที่ประดิษฐานพระท่านเศวตฉัตรพระทวารนี้เป็นพระทวารทางออกไปสู่ท้องพระโรงหลัง

ห้องพระโรงหลัง

ท้องพระโรงนี้เป็นท้องพระโรงเล็ก อยู่เบื้องหลังท้องพระโรงกลาง เป็นท้องพระโรงที่ต่อเนื่องกันพระที่นั่ง บรมราชสถิตยมโหฬาร ซึ่งเป็นพระราชมณเฑียรที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในสมัยเมื่อฝ่ายในยังคงเฝ้าในพระฉาก มิได้ออกเฝ้าฯ รวมกับฝ่ายหน้าอย่างในปัจจุบันนี้ เวลามีงาน พระราชพิธีในท้องพระโรงกลางพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายใน เฝ้าฯ ในท้องพระโรงหลังนี้

ท้องพระโรงหลังนี้ชำรุดทรุดโทรมมาก ตามโครงการจะรื้อสร้างใหม่ เปลี่ยนรูปลักษณะให้เข้ากับพระที่นั่ง บรมราชสถิตยมโหฬารที่จะสร้างขึ้นใหม่ทางเบื้องหลัง

๒๒
หน้า ๒๒ จาก ๒๗ หน้า