ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือนยี่ ขึ้น ๑๔ ค่ำ นพศก จุลศักราช ๑๒๑๙ ตรงกับวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๐ ลำดับที่ ๓๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นกรมหมื่นสรรพสิทธิ- ประสงค์
จึงได้มีพระบรมราชโองการ มาในพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่งให้สถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภชเปนพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏซ่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ อัชนามทรงศักดินา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมใน พระบรมมหาราชวัง
เจ้ากรม | เปนหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ | ถือศักดินา | ๖๐๐ | |
ให้ทรงตั้ง | ปลัดกรม | ปลัดกรมเปนหมื่นดำรงราชกิจ | ถือศักดินา | ๔๐๐ |
สมุหบาญชี | เปนหมื่นลิขิตคณารักษ์ | ถือศักดินา | ๓๐๐ |
ในปีชวด พ.ศ. ๒๔๔๓ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเฉลิมพระยศขึ้นเป็นกรมขุน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้า น้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ จำเดิมแต่ได้รับพระสุพรรณบัฏเปน พระองค์เจ้าต่างกรมมา ได้รับ ราชการหน้าที่ต่างๆ หลายตำแหน่ง ทั้งฝ่ายทหารและ พลเรือน ราชการฝ่ายทหารนั้นได้เปนนายพันโท นายพันเอกจนถึงนายพลตรีโดยลำดับและได้ทรงทำการในหน้าที่ผู้บังคับการกองทหารหน้า และหน้าที่ ผู้บังคับการกองทหารหน้า และหน้าที่ปลัดทัพบกคราวหนึ่งราชการฝ่ายพลเรือนได้เปนอธิบดีบังคับการศาลฎีกา และกรรมการตรวจความฎีกาและได้รับตำแหน่งจนเปนข้าหลวงไปจัดการส่งกองทัพ ซึ่งยกขึ้นไปปราบฮ่อข้าศึก ซึ่งมาย่ำยีพระราชอาณาเขตทางเมืองหลวงพระบางตั้งอยู่ ณ เมืองพิไชย ภายหลังได้รับตำแหน่งเปนข้าหลวง ออกไปตรวจราชการเมืองภูเก็ต แล้วได้ทรงรับตำแหน่งเปนข้าหลางออกไปตรวจราชการเมืองภูเก็ต แล้วได้ ทรงรับตำแหน่งเปนข้าหลวงปราบปรามผู้ราย และจัดการเมืองนคราชสีมาอยู่ปีเศษ ภายหลังได้รับตำแหน่ง ที่เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการอยู่ไม่ช้า เมื่อมีราชการสำคัญขึ้นต้องเสด็จกลับขึ้นไปจัดการ ณ เมืองนครราชสีมา แล้วจึงได้รับตำแหน่งเปนข้าหลวงต่างพระองค์ ตั้งอยู่ ณ เมืองอุบลราชธานีจนถึงบัดนี้นับได้ ๗ ปี ล่วงมากอปร ด้วยพระสติปัญญาและพระอัธยาศัยอันสุขุมเยือกเย็นไปด้วยความเมตตาปราณีวิริยะอุตสาหะและความอดทน ต่อความลำบาก ด้วยเห็นแก่ราชการมิได้มีความท้อถอยและมีอัธยาศัยมิได้หนักไปในโลกธรรมทั้งปวง สมควร ที่จะเลื่อนพระเกียรติยศขึ้นเปนพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ใหญ่ได้
จึงมีพระบรมราชโองการ ดำรัสสั่งให้สถาปนาเลื่อนพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพประสิทธิประสงค์ ขึ้นเปนพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ใหญ่ มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสรรพ- สิทธิประสงค์ อัชนาม ทรงศักดินา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง
เจ้ากรม | เปนขุนสรรพสิทธิประสงค์ | ถือศักดินา | ๖๐๐ | |
ให้ทรงเลื่อน | ปลัดกรม | คงเปนหมื่นดำรงราชกิจ | ถือศักดินา | ๔๐๐ |
สมุหบาญชี | คงเปนหมื่นลิขิตคณารักษ์ | ถือศักดินา | ๓๐๐ |
ในปีชวด พ.ศ. ๒๔๕๕ รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศเลื่อนกรมขึ้นเป็นกรมหลวง
จึงมีพระบรมราชโองการ ดำรัสสั่งให้เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสรรพสิทธิประสงค์ขึ้นเป็นกรมหลวง มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ อัชนาม ทรงศักดินา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมาหาราชวัง
เจ้ากรม | เปนหลวงสรรพสิทธิประสงค์ | ถือศักดินา | ๘๐๐ | |
ให้ทรงเลื่อน | ปลัดกรม | ปลัดกรมเปนขุนดำรงราชกิจ | ถือศักดินา | ๖๐๐ |
สมุหบาญชี | คงเปนหมื่นคณารักษ์ | ถือศักดินา | ๔๐๐ |
ต่อมาได้ทรงเป็นสมุหมนตรี เสนาบดีที่ปรึกษา
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๕ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีจอ จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๘๔ ตรงกับวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๕
พระชันษา ๖๖ ปี
ทรงเป็นต้นราชสกุล ชุมพล
ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาพึ่ง
“เสด็จอาโส” (พระองค์เจ้าชายโสณบัณฑิต)ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน ๕ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีกุน เบญจศก จุลศักราช ๑๒๒๕ ตรงกับวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๖ ลำดับที่ ๖๒ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๓๔ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นกรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิธาดา
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต ได้รับราชการในออฟฟิศหลวงและเปนราช องครักษ์แต่เดิมมา ภายหลังทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เสด็จไปเรียนวิชา ณ กรุงอังกฤษ แล้วได้เสด็จไปในหมู่ราชทูตซึ่งไป เจริญทางพระราชไมตรี ณ ประเทศยุไนติดสเตตอเมริกา ครั้งเมื่อเสด็จกลับมา ณ กรุงเทพ ฯ ก็ได้รับราชการ ในตำแหน่งราชเลขาธิการฝ่ายอังกฤษตามเดิม
ครั้นเมื่อปีชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๕๐ มีราชการที่จะต้องจัดป้องกันรักษาพระราชอาณาเขต ทางเมืองเชียงใหม่ ซึ่งต่อกับยางแดงและเงี้ยว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เสด็จขึ้นไปทรงบังคับบัญชาข้าราชการ ฝ่ายทหารพลเรือนทั้งในกรุงและหัวเมือง จัดการรักษาพระราชอาณาเขต ซึ่งนับว่าเปน ราชการอันสำคัญ กวดขัน ครั้นเมื่อเสร็จการแล้วจึงได้เสด็จกลับลงมารับราชการในกรุงเทพฯ ตามเดิม
จึงมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งให้สถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต ขึ้นเปนพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้า- น้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิธาดา มุสิกนาม ทรงศักดินา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่าง พระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง
เจ้ากรม | เปนหมื่นพิทยาลาภพฤฒิธาดา | ถือศักดินา | ๖๐๐ | |
ให้ทรงตั้ง | ปลัดกรม | ปลัดกรมเปนหมื่นอุตสาหลาภประสิทธิ | ถือศักดินา | ๔๐๐ |
สมุหบาญชี | เปนหมื่นฤทธิลาภพลารักษ์ | ถือศักดินา | ๓๐๐ |
ในปีชวด พ.ศ. ๒๔๔๓ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เฉลิมพระยศเลื่อนเป็นกรมขุน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า พระเจ้า- น้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิธาดา จำเดิมแต่ได้ทรงรับพระสุพรรณบัฏเปนพระองค์เจ้าต่างกรมแล้ว ได้ทรงรับตำแหน่งเปนเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร และในขณะเมื่อเสานาบดีกระทรวงโยธาธิการมีราชการ ไปหัวเมือง ได้ทรงรับตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการควบกับตำแหน่งเดิมด้วย ครั้นเมื่อเริ่มตั้งรัฐมนตรี ได้ทรงรับตำแหน่งเปนสภานายกรัฐมนตรี จัดการวางแบบอย่างและเปนประธานในที่ประชุม โดยพระอุตสาหะ และพระสติปัญญาสามารถให้การประชุมแห่งรัฐมนตรีเปนระเบียบขึ้นได้เปนประถม ครั้นเมื่อเปลี่ยนเสนาบดี กระทรวงมุรธาธร ได้ทรงรับตำแหน่งเปนเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ได้ทรงจัดการสร้างทางรถไฟสาย นครราชสีมา และเริ่มสร้างสายเพชรบุรีและได้จัดการก่อสร้างในกระทรวงโยธาธิการ และวางแบบอย่าง กรมเจ้าท่าจัดการรักษาคลองน้ำทั้งปวงในกรุงเทพฯ และได้ทรงช่วยราชการในกรมราชเลขานุการ เวลาเสด็จ พระราชดำเนินประเทศยุโรป ภายหลังทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง อันเปนตำแหน่งสำคัญในพระราชฐาน และในราชการซึ่งเปนราชประเพณีทั่วไป มีพระอัธยาศัยซื่อตรงจงรัก- ภักดีต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงพระปรีชาสามารถในราชการซึ่งจะรักษาพระบรมเดชานุภาพและขัตติย- ราชประเพณี นับว่าเป็นบรมราโชประการได้ฉลองพระเดชพระคุณทั้งราชการในส่วนพระองค์และราชการ แผ่นดิน มีพระหฤทัยโอบอ้อมอารีทั่วไปในราชบริพารทั้งหวงสมควรแก่ตำแหน่งมณเฑียรบาล เปนที่เบา พระราชหฤทัยในสรรพราชกิจทั้งภายในภายนอก สมควรที่จะเลื่อนพระเกียรติยศเปนพระองค์เจ้าต่างกรม ผู้ใหญ่ได้
จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาเลื่อนพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิธาดา ขึ้นเปนพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ใหญ่ มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนพิทยาลาภพฤฒิธาดา มุสิกนาม ทรงศักดินา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้า ต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง
เจ้ากรม | เปนขุนพิทยาลาภพฤฒิธาดา | ถือศักดินา | ๖๐๐ | |
ให้ทรงเลื่อน | ปลัดกรม | เปนหมื่นอุตสาหลาภประสิทธิ | ถือศักดินา | ๔๐๐ |
สมุหบาญชี | คงเปนหมื่นฤทธิลาพพลารักษ์ | ถือศักดินา | ๓๐๐ |
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันอังคาร เดือน ๑๑ แรม ๑๔ ค่ำ ปีฉลู เบญจศก จุลศักราช ๑๒๗๕ ตรงกับวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๕
พระชันษา ๕๐ ปี
ทรงเป็นต้นราชสกุล โสณกุล
ในเจ้าจอมมารดาวาด รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าให้เป็นท้าววรจันทร์ (ท่านเป็นธิดาท่านสมบุญ และท่านถ้วย)
“เสด็จป้าอรไทย” (พระองค์เจ้าหญิงอรไทยเทพกัญญา)ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๑๐ แรม ๗ ค่ำ ปีมะแม เอกศก จุลศักราช ๑๒๒๑ ตรงกับวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๒ ลำดับที่ ๔๓ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันพุธ เดือน ๕ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีมะเมีย อัฐศก จุลศักราช ๑๒๖๘ ตรงกับวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๙
พระชันษา ๔๗ ปี
ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาบัว
“สมเด็จเจ้าฟ้าสิริราช” (สมเด็จฟ้าชายสิริราชกกุธภัณ์ สรรพวิสุทธิ์มหุดิมงคล อเนกนภดลดารารัตน์ สมันตบริพัตรวโรภาส อดิศรราชจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยวโรรสวิสุทธิสมมตวโรภโตปักษ์ อุกฤษฐศักดิ์ อัครวรราชกุมาร)ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๒ แรม ๖ ค่ำ ปีระกา สัปตศก จุลศักราช ๑๒๔๗ ตรงกับวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๘ ลำดับที่ ๕๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันอังคาร เดือน ๗ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีกุน นพศก จุลศักราช ๑๒๔๗ ตรงกับวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๐
พระชันษา ๒ ปี ๖ เดือน
ที่ ๘ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ
“องค์หญิงโกมลเสาวมาลย์” (พระองค์เจ้าหญิงโกมลเสาวมาล)ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีกุน นพศก จุลศักราช ๑๒๔๙ ตรงกับวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๐ ลำดับที่ ๖๒ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สิ้นพระชนม์เมื่อวันเสาร์ เดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีขาล โทศก จุลศักราช ๑๒๕๒ ตรงกับวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๓
พระชันษา ๓ ปี
เจ้าจอมมารดาวง (ท่านเป็นธิดาพระยาอัครราชนาถภักดี (เนตร) )
“กรมขุนขัตติยกัลยา” (พระองค์เจ้าหญิงกรรณิกาแก้ว)ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๒ ค่ำ ปีเถาะ สัปตศก จุลศักราช ๑๒๑๗ ตรงกับวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๘ ลำดับที่ ๒๑ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สิ้นพระชนม์ในรัชการที่ ๕ เมื่อวันพุธ เดือน ๗ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมะเมีย จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๔๔ ตรงกับวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๕
พระชันษา ๒๘ ปี
ที่ ๑ ในหม่อมเจ้าพรรณราย รัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้า ทรงเป็นพระธิดากรมหมื่น มาตยาพิทักษ์
พระองค์เจ้าหญิงกรรณิกาแก้วนี้ ภายหลังเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้า ฯ สถาปนาขึ้นเป็น กรมขุนขัตติยากัลยา
“น้าสร้อย” (พระองค์เจ้าหญิงพวงสร้อยสอางค์)ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๑๐ แรม ๖ ค่ำ ปีขาล อัฐศก จุลศักราช ๑๒๒๘ ตรงกับวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๙ ลำดับที่ ๗๘ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันอังคาร เดือน ๓ แรม ๖ ค่ำ ปีขาล โทศก จุลศักราช ๑๓๑๒ ตรงกับวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓
พระชันษา ๘๔ ปี
ที่ ๑๐ ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง
“เสด็จน้านภาพร” (พระองค์เจ้าหญิงนภาพรประภา)ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีชวด ฉศก จุลศักราช ๑๒๒๖ ตรงกับวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๐๗ ลำดับที่ ๖๙ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้า ฯ ให้ทรงเป็นอธิบดีบัญชาการรักษาฝ่ายในภายในพระบรมมหาราชวัง
ในปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๗๐ รัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้า ฯ สถาปนาขึ้นเป็นกรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก ฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภาได้ทรงรับตำแหน่งเปนอธิบดีบัญชาการรักษาพระราชวังฝ่ายใน ตั้งแต่ในราชกาลสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงปฏิบัติราชการ โดยซื่อตรง กอปรด้วยพระวิริยะอุตสาหะสามารถให้ราชการทั้งปวงในหน้าที่เรียบร้อย เปนที่ไว้วาง พระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เพิ่มอำนาจและหน้าที่ ให้ทรงบังคับบัญชาราชการฝ่ายในมากขึ้นโดยลำดับมาก็ทรงสามารถสนองพระเดชพระคุณได้ดั่งพระราชประสงค์ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงยกย่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปฐมจุลจอมเกล้าและพระราชทาน เข็มอักษรพระนาม ซึ่งสร้างขึ้นพระราชทานเฉพาะผู้มีความชอบในการโดยเสด็จ หรือที่ได้รักษาการทางพระนคร เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรป เพราะความดีที่ได้สนองพระเดชพระคุณมาในรัชกาลที่ ๕ ครั้นถึงราชการแห่ง สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้พระองค์เจ้านภาพร- ประภาทรงเปนอธิบดีบัญชาราชการฝ่ายในทั่วทั้งพระราชนิเวศน์สถาน ก็ทรงปฏิบัติราชการต่อมาด้วยความ โอบอ้อมอารี และมิได้ลุแก่อคติอย่างหนึ่งอย่างใดตลอดรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จักรีบรมราชวังศ์เปนพระเกียรติยศพิเศษในรัชกาลนั้นอีกมาถึงรัชกาลปัตยุบันนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระองค์เจ้านภาพรประภาทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีราชการฝ่ายในต่อมา ก็ทรงรับราชการสนองพระเดช พระคุณมาด้วยความซื่อสัตย์สามารถมั่นคงเหมือนหนหลังตลอดมาจนกาลบัดนี้ ทรงพระราชดำริว่า พระองค์เจ้านภาพรประภาได้ทรงรับราชการฝ่ายในในตำแหน่งสำคัญมาโดยเรียบร้อยทั้ง ๓ รัชกาล และทรงพระปรีชาสามารถเปนที่นับถือทั่วไปทั้งฝ่ายในและฝ่ายหน้า สมควรจะทรงสถาปนาขึ้นเปน ต่างกรมผู้ใหญ่ฝ่ายในเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้อีกพระองค์ ๑ จึงมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่งให้สถปนาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภาเปนพระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิพยรัตนกิริฏกุลินี วรรคอุตสาหะ ทรงศักดินา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนด อย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง
เจ้ากรม | เปนหลวงทิพยารัตนกิริฏกุลินี | ถือศักดินา | ๖๐๐ | |
ให้ทรงตั้ง | ปลัดกรม | เปนขุนดุษฎีวิศวิไจย์ | ถือศักดินา | ๔๐๐ |
สมุหบาญชี | เปนหมื่นสมไนยนุทวิจารย์ | ถือศักดินา | ๓๐๐ |
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันเสาร์ เดือน ๘ อุตราสาฒ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีจอ สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๓๒๐ ตรงกับวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๑
พระชันษา ๙๔ ปี
ที่ ๕ ในเจ้าจอมมารดาสำลี