สารบัญ
พระมหามณเฑียร

พระมหามณเฑียร เป็นหมู่พระที่นั่งที่มีความสำคัญที่สุดหมู่หนึ่งในพระบรมมหาราชวัง เป็น มูลสถานที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงสร้างขึ้น เป็นพระราชมณเฑียรแห่งแรกในกรุงเทพ- พระมหานครอมรรัตนโกสินทร เป็นพระราชมณเฑียรที่ทรงใช้เป็นพระราชพิธีมณฑลในการพระราชพิธีปราบดา ภิเษกครั้งแรก เป็นพระราชมณเฑียรที่ได้เสด็จขึ้นเฉลิมพระราชมณเฑียร และประทับอยู่เป็นประจำตลอดรัชสมัย ของพระองค์ และในกาลต่อมาก็จัดเป็นพระราชพิธีมณฑลสำหรับประกอบการพระราชพิธี บรมราชาภิเษกของสมเด็จ พระมหากษัตริยาธิราชเจ้าในพระบรมราชวงศ์จักรีสืบเนื่องต่อกันมาทุกรัชกาล

พระมหามณเฑียรนี้ เป็นพระที่นั่งหมู่ใหญ่ มีพระที่นั่งและหอใหญ่น้อยที่สร้างขึ้นในแบบสถาปัตยกรรมไทย อันประณีตงดงาม สร้างติดต่อสืบเนื่องกันรวม ๗ องค์ คือ :-

  • พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน
  • พระที่นั่งไพศาลทักษิณ
  • พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน
  • พระที่นั่งบุษบกมาลามหาพิมาน
  • พระแท่นมหาเศวตฉัตร
  • พระที่นั่งเทพสถานพิลาส
  • พระที่นั่งเทพอาสน์พิไล
นามพระที่นั่งในหมู่พระมหามณเฑียร

พระที่นั่งในหมู่พระมหามณเฑียรนี้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มิได้มีนามเรียกแยกเป็นองค์ๆ หากแต่เรียกรวมกันทั้งหมู่ว่า “พระที่นั่ง จักรพรรดิพิมาน” พึ่งมีพระราชโองการให้แยกเรียกเป็นองค์ๆ อย่างเช่นที่เรียกกันทุกวันนี้ในรัชกาลที่ ๓ แต่ก่อน ถ้าจะมีการแยกเรียกเป็นองค์ ก็เรียกกันตามความหมายพอเป็นที่เข้าใจ ไมได้มีนามบัญญัติไว้ เช่น เรียกพระที่นั่ง อัมรินทรวินิจฉัย ว่า "ท้องพระโรง” หรือ “พระที่นั่งบุษบกมาลา” เรียกพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ว่า “หลังสิบเอ็ดห้อง” หรือ “พระที่นั่งหน้าพระโรงใน” และเรียกพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานว่า “พระวิมาน” หรือ “พระมหามณเฑียร”ส่ วน “พระที่นั่งเทพสถานพิลาส “ และ “พระที่นั่งเทพอาสน์พิไล” นั่นยังไม่มีนามคงเรียกกันแต่ว่า พระปรัศว์ขวา พระปรัศว์ซ้าย เรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่ ๖ จึงได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงวังประกาศพระบรมราชโองการขนานนามเป็นพระที่นั่งเมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๔๖๗

ตำนานการสร้างพระมหามณเฑียร

พระที่นั่งในหมู่พระมหามณเฑียรทั้งหมดดังที่ได้กล่าวมาแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ ในชั้นแรกได้สร้างขึ้นด้วยเครื่องไม้พอเป็นที่ ประกอบการพระราชพิธีปราบดาภิเษกโดยสังเขป และพอเป็นที่ประทับชั่วคราว แล้วมาสร้างเป็นพระที่นั่งก่ออิฐ ถือปูนภายหลังแต่ทั้งนี้จะเป็นเมื่อใด หาได้มีเอกสารหลักฐานยืนยันให้แน่ชัดไม่ ในพระราชพงศาวดารฉบับ พระราชหัตถเลขา (เขียนขึ้นในรัชกาลที่ ๓) มีข้อความว่า

“ในปีเถาะนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ดำรัสให้จัดการก่อกำแพงทั้งพระราชวังหลวง วังหน้าแล้วให้ฐาปนาพระราชมณเฑียรทั้งข้างหน้าข้างในสำเร็จบริบูรณ์ “

ซึ่งก็ไม่อาจที่จะวินิจฉัยได้ว่า พระราชมณเฑียรทั้งข้างหน้าข้างในที่สร้างสำเร็จในปีนั้น เป็นพระราช- มณเฑียรไม้หรือก่ออิฐถือปูนแล้วอย่างใด แต่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรง สันนิษฐานเรื่องการสร้างพระมหามณเฑียรไว้ในหนังสือพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๒ ว่า

“การสร้างพระนครใหม่ ครั้งนั้นเป็นการรีบเร่ง แม้กำแพงพระราชวังก็ใช้แต่ปักเสาระเนียด พระราชมณเฑียรที่เสด็จมาประทับแต่แรกคงจะทำขึ้นชั่วคราว เห็นจะสร้างราวตรงหมู่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ทุกวันนี้"

ความปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จมาเฉลิม พระราชมณเฑียรในพระราชวังที่สร้างใหม่ ได้ทำพิธีปราบดาภิเษกแต่โดยสังเขป ฯลฯ ครั้งสร้างพระนครและ พระมหาปราสาท (พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท) สำเร็จแล้ว จึงทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเต็มตาม ตำราโบราณราชประเพณีอีกครั้งหนึ่งเมื่อปีมะเสง สัปตศก จุลศักราช ๑๑๔๗ (พ.ศ. ๒๓๒๘) เมื่อทำการ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกคราวที่กล่าวนี้ เสด็จไปเฉลิมพระราชมณเฑียรประทับอยู่ในหมู่พระที่นั่งอมรินทราภิเษก แล้วจึงรื้อพระมหามณเฑียรที่ทำขึ้นชั่วคราว สร้างพระมหามณเฑียรใหม่หมู่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานจนทุกวันนี้”

ถ้าการได้เป็นไปตามที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานไว้ก็ควรจะอนุมานได้ว่า พระมหามณเฑียรหมู่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานนี้ได้สร้างขึ้นเป็นพระราชมณเฑียรถาวรเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ และคงจะ แล้วเสร็จก่อนเดือน ๖ ปีพุทธศักราช ๒๓๓๑ เพราะมีความปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ว่า ในเดือน ๖ พุทธศักราช ๒๓๓๑ นั้น โปรดเกล้าฯ ให้มีการประชุมชำระพระไตรปิฎก ณ พระที่นั่ง อมรินทราภิเษกมหาปราสาท ซึ่งย่อมเป็นการแสดงชัดว่า ขณะนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ พระที่นั่ง ในหมู่พระมหามณเฑียรแล้ว

แต่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงสันนิษฐานว่า คงจะได้เปลี่ยนเป็น พระที่นั่งก่ออิฐในรัชกาลที่ ๓ พร้อมๆ กับการทำฐานหนุนพระที่นั่งบุษบกมาลา ข้อสันนิษฐานของพระองค์ท่าน มีดังนี้ “เวลาทำฐานหนุนยก คงเป็นเวลาเดียวกันกับก่อแก้หมู่พระที่นั่งจักรพรรดิเป็นตึก พระที่นั่งหมู่นั้นเดิมเป็นไม้ ปรากฏคำของการฟัด” (กรฟัด หมายถึงนายจอห์นครอว์ฟอร์ด ซึ่งมาร์ควิสเทสติวส์ ผู้สำเร็จราชการหัวเมือง อินเดียของอังกฤษส่งเข้ามาเป็นทูตเจริญทางพระราชไมตรี ครั้งรัชกาลที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๕ ครอว์ฟอร์ดได้เขียน จดหมายเหตุพรรณนาลักษณะท้องพระโรงไว้ถี่ถ้วน เช่นว่า เสาท้องพระโรงเป็นเสาไม้ เป็นต้น) นั้นอย่าง หนึ่งกับทั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ตรัสว่า กรมสมเด็จพระสุดารัตนเล่าถวายว่า เมื่อทรงพระเยาว์ ได้ทรงปีนบัวกำแพงแก้วที่ท้องพระโรงหน้า เพื่อทอดพระเนตรออกไปข้างนอก แล้วตรัสอธิบายว่า แต่ก่อน ท้องพระโรงหน้าไม่มีผนัง เป็นเสาไม้โปร่ง มีแต่กำแพงแก้วกั้นอยู่ในระหว่างเสา พิจารณาก็เห็นจริง ที่พระที่นั่ง เหล่านั้นทั้งหมู่ มีเสาก่ออิฐสี่เหลี่ยมโตๆ กับทั้งที่เรียกว่าช่องกบ อันเป็นแบบสมัยรัชกาลที่ ๓ ไปทั้งนั้น” (“สาส์นสมเด็จ” ฉบับคุรุสภาจัดพิมพ์ เล่ม ๑๖ หน้า ๙๓) การเปลี่ยนเสาไม้เป็นเสาปูน ซึ่งเป็นงานเล็กกว่าการเปลี่ยนองค์พระที่นั่ง เครื่องไม้เป็นก่ออิฐก็ยังบอกไว้ อนึ่ง ถ้าจะสังเกตพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๓ โดยตลอด จะเห็นว่า แม้การสร้างตำหนัก ตึกกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย ตำหนักตึกพระเจ้าลูกเธอ ตึกแถวเจ้าจอมอยู่งานพนักงาน ก็มีความปรากฏในพงศาวดาร รัชกาลนี้ และแม้การบูรณะหอกลองก็ยังเขียนไว้โดยละเอียดว่า “หอกลองนั้นเดิมก็เป็นเครื่องไม้ยอดมณฑป โปรด ให้ทำเป็นเครื่องก่อชั้นล่าง แต่ชั้นกลางชั้นบนนั้นเป็นฝาขัดแตะถือปูน” (พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ เล่ม ๑ หน้า ๑๓) ฉะนั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงพระมหามณเฑียรทั้งหมู่จากเครื่องไม้เป็นก่อตึก ในรัชกาลที่ ๓ นี้แล้ว ไฉนจึงมิได้มีข้อความปรากฏในพระราชพงศาวดารเลย ทั้งๆ ที่มีเรื่องการก่อสร้างเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญน้อยกว่าอยู่โดยละเอียด

ลักษณะของพระที่นั่งในหมู่พระมหามณเฑียรในรัชกาลที่ ๑

ในตำนานเรื่องวัตถุสถาน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาซึ่งราชบัณฑิตยสภาเป็นผู้ รวบรวม ๆได้เขียนอธิบายเกี่ยวกับวัตถุสถานโดยทั่วไปที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ ไว้ว่า

"พระราชวังเมื่อแรกสร้างในรัชกาลที่ ๑ นั้น นอกจากป้อมปราการ (กับพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม) สร้างด้วยเครื่องไม้ทั้งสิ้น ต่อมาทางวังหน้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงสร้างพระราชมณเฑียร กับทั้งตำหนักในวัง เปลี่ยนเป็นตึกหมดแต่ในรัชกาลที่ ๑ แต่ทางฝ่ายวังหลวงนั้น ได้สร้างเปลี่ยนเป็นตึกแต่ พระมหาปราสาทและพระมหามณเฑียร ( กับ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ) นอกจากนั้น เป็นต้นว่าตำหนัก ใหญ่น้อยข้างในพระราชวัง และสถานที่สำหรับราชการต่างๆ ในบริเวณพระราชวังยังมิได้เปลี่ยนแปลง” (ตำนานเรื่องวัตถุสถานฯ ฉบับราชบัณฑิตยสภา)

ฉะนั้น เมื่อได้นำข้อความที่ปรากฏในพระราชพงศาวดาร ตลอดจนหลักฐานต่างๆ ที่แสดงว่าในรัชกาล ต่อๆ มาได้มีการแก้ไขและบูรณะซ่อมแซมพระมหาปราสาทราชมณเฑียรสถานอย่างใดบ้าง มาพิจารณาประกอบ ก็พอจะอนุมานได้ว่า พระที่นั่งในหมู่พระมหามณเฑียรนี้ ได้สร้างเป็นพระที่นั่งก่ออิฐถาวรมาตั้งแต่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แต่หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาทุกองค์ ท้องพระโรงหน้าพระที่นั่ง จักรพรรดิพิมานเป็นท้องพระโรงโถงเสาไม้ และไม่มีฝาผนัง มีแต่กำแพงแก้วกั้นอยู่ระหว่างเสา (กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร เล่าถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนองค์พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยนั้น ในหนังสือบางเล่มก็กล่าวว่าเป็นท้องพระโรงโถงไม่มีผนัง แต่ในหนังสือ “ตำนานเรื่องวัตถุสถานซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนา” มีข้อความระบุชัดว่า ก่อนการสถาปนาในรัชกาลที่ ๓ นั้น พระที่นั่งองค์นี้มีฝาอยู่แล้ว แต่เสาในองค์พระที่นั่งยังเป็นเสาไม้ พระบัญชร

๑๑
หน้า ๑๑ จาก ๒๗ หน้า