สารบัญ
“พี่กิติยากร” - “พี่ระพีพัฒน์”
“พี่กิติยากร”  (พระองค์เจ้าชายกิติยากรวรลักษณ์)

ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน ๗ แรม ๙ ค่ำ ปีจอ ฉศก จุลศักราช ๑๒๓๖ ตรงกับ วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๗ ลำดับที่ ๑๒ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๔๖ รัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาขึ้นเป็นกรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถ มีคำประกาศดังนี้

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ ได้เสด็จออกไปเล่าเรียนวิชาการ ณ ประเทศยุโรป ครั้นเสด็จ กลับมาได้รับราชการอยู่ในกรมราชเลขานุการ ภายหลังได้ทรงรับตำแหน่งเปนอธิบดีกรมศึกษาแล้วย้ายมา รับราชการเปนอธิบดีกรมตำรวจ กรมสารบัญชีในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงพระอุตสาหะทำการราชการ เต็มตามหน้าที่มิได้ย่อหย่อนควรเปนเยี่ยงอย่างแก่ข้าราชการทั้งปวงอันตั้งอยู่ในตำแหน่งสำคัญดังนี้ เปน พระเจ้าลูกยาเธอมีพระชนมายุยิ่งกว่าพระองค์อื่น

จึงมีพระบรมราชโองการ ดำรัสสั่งให้สถาปนาพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ ขึ้นเปน พระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่าพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถ สิงหนาม ทรงมีศักดินา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง

เจ้ากรม เปนหมื่นจันทบุรีนฤนาถ ถือศักดินา ๖๐๐
ให้ทรงตั้ง ปลัดกรม ปลัดกรมเปนหมื่นตราดบุรบำรุง ถือศักดินา  ๔๐๐
สมุหบาญชี เปนหมื่นขลุงพลาภิบาล ถือศักดินา ๓๐๐

ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ ได้ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลัง ฯ

ในปีกุน พ.ศ. ๒๔๕๔ รัชกาลที่ ๖ โปรดให้เป็นสมุหมนตรี แล้วเลื่อนเป็นกรมหลวงฯ

ทรงพระราชดำริ พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นจันทรบุรีนฤนาถ เปนพระเชษฐาอันมีพระชนมพรรษาสูงกว่า พระองค์อื่น ทรงดำรงคุณสมบัติอันเปนที่ถึงพระราชหฤทัย ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิราชโดยอเนกประการ ดังปรากฏอยู่ในประเทศพระบรมราชโองการ ทรงตั้งเปนพระองค้เจ้าต่างกรมนั้นแล้ว ได้ทรงรับราชการในตำแหน่ง หน้าที่สำคัญอันเปนที่ไว้วางพระราชหฤทัยเปนลำดับมา จนได้ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ อันเปนตำแหน่งสำคัญอัน ๑ ในราชการ เพราะความจำเริญแลมั่นคงแห่งรัฐบาลก็จะมีมาได้โดย ความเรียบร้อยแล ความมั่นคงแห่งพระคลังที่ประเทศอื่นๆ จะมีความเชื่อถือในความมั่นคงของรัฐบาลก็โดยสังเกตเห็นว่า การในแผน พระคลังดำเนินไปโดยเรียบร้อย และไม่ง่อนแง่นนั้นเพราะ พระเจ้าพี่ยาเธอฯ ได้ทรงพระอุตสาหะดำริและจัดวางการ เพื่อให้บังเกิดผลอันดี มีพยานปรากฏมาแล้วเปนอันมาก ทั้งที่ได้ทรงริเริ่มขึ้นไว้แลดูไปเห็นว่าจะสำเร็จเปนผลอันดี ได้ก็ยังมีอยู่อีกมากเหมือนกัน

อนึ่ง ได้ทรงสังเกตมาตั้งแต่ครั้งเมื่อยังทรงศึกษาพร้อมกันคราว ๑ ณ ประเทศยุโรปตลอดมาจนกาลบัดนี้ว่า พระเจ้าพี่ยาเธอฯ มีพระอัธยาศัยอันดีมุ่งไมตรีต่อพระบรมวงศ์ทั้งปวง มีพระหฤทัย โอบอ้อมอารี และตั้งพระองค์ไว้ใน ที่อันควร กอปรด้วยความอุตสาหะวิริยภาพ แลทรงดำริการอย่างสุขุม ทั้งมีความจงรักภักดีเปนอย่างยิ่ง สมควรที่จะ เลื่อนขั้นเปนพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ใหญ่ได้

จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่ง ให้เลื่อนพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถขึ้น    เปนกรมหลวง มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงจันทบุรีนฤนาถ  สิงหนาท ให้ทรง ศักดินา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง

เจ้ากรม เปนหลวงจันทบุรีนฤนาถ ถือศักดินา ๘๐๐
ให้ทรงเลื่อน ปลัดกรม เปนขุนตราดบุรบำรุง ถือศักดินา  ๖๐๐
สมุหบาญชี เปนหมื่นขลุงพลภิบาล ถือศักดินา ๓๐๐

ใน พ.ศ. ๒๔๕๙ รัชกาลที่ ๖ โปรดให้เลื่อนเป็นกรมพระ

พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีสินทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงจันทบุรีนฤนาถ ได้ทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณสมบัติดังปรากฎในประกาศเลื่อนกรมครั้งก่อนแล้ว ต่อมาก็ได้จัดราชการในกระทรวงพระคลัง ให้เจริญมาโดยลำดับมิได้มีเวลาเสื่อมเสีย เมื่อได้รับพระกระแสพระบรมราโชบาย ไปประการใดแล้ว ก็ได้ทรงจัดราชการนั้น ๆ ให้สำเร็จไปตามพระราชประสงค์ เปนต้น ถือการเปิดคลังออมสินให้ทวยราษฎร ได้นำทรัพย์มาฝากได้ปราศจากภยันตราย มีโจรภัยและอัคคีภัย เปนต้น  กับทั้งได้ทรงจัดตั้งกรมพาณิชย์ และสถิติพยากรณ์ จัดการสหกรณ์ และรวมกรมสรรพากรที่แยกย้ายกันอยู่แต่ก่อน ให้มารวมอยู่ในบังคับบัญชากระทรวงเดียวกันทั่วพระราช อาณาจักร ทั้งได้ทรงจัดการสุรายาฝิ่นเปนของรัฐบาลเพื่อจะได้ดำเนินไปในทางที่จะเลิกมิได้ไพร่ฟ้าประชากรประพฤติสูบ ฝิ่นภายหน้า อนึ่งในเวลาที่มหาประเทศกระทำสงครามแก่กัน ณ ทวีปยุโรปย่อมมีผลกระเทือนถึงการค้าขายในพระราช- อาณาจักรสยาม ซึ่งเปนที่น่าวิตกว่าประโยชน์แผ่นดินจะตกต่ำไป จนเปนเหตุมิให้ราชการแผ่นดินก้าวหน้าขึ้นไป แต่ก็ หาเปนเช่นนั้นไม่ ยังได้ทรงจัดการให้เลิกอากรหวยเสียได้ทันพระราชประสงค์ กิจการที่ได้ทรงกระทำมาทั้งนี้ ล้วนเปน คุณแก่ราชการแผ่นดิน แลตลอดจนไพร่ฟ้าประชากร

จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่ง ให้เลื่อนพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงจันทรบุรีนฤนาถ ขึ้นเปนกรมพระ มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าพี่ยาเธอกรมพระจันทบุรีนฤนาถ สุรเชษฐาธิราชกิติยากร วรลักษณ์สุนทรวีรวิจิตร สรรพรัชดาธิกิจโกศล วิมลรัตนมหาโกศาธิบดีธีคุโณฬาร ศุภสมาจารสารสมบัติ มัทวเมตตาธยาศัยไตรศรีรัตนสรณาคม อุดมศักดิบพิตร สิงหนาม ให้ทรงศักดินา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนด อย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง

เจ้ากรม เปนหลวงจันทรบุรีนฤนาถ ถือศักดินา ๘๐๐
ให้ทรงเลื่อน ปลัดกรม ปลัดกรมเปนขุนตราดบุรบำรุง ถือศักดินา  ๖๐๐
สมุหบาญชี เปนหมื่นขลุงพลาภิบาล ถือศักดินา ๔๐๐

ในปีวอก พ.ศ. ๒๔๖๓ รัชกาลที่ ๖ ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลัง และเป็นนายกสภาเผยแผ่พาณิชย์

ในปีจอ พ.ศ. ๒๔๖๕   รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ และเป็นกรรมการสภาการคลัง

ในปีกุน พ.ศ. ๒๔๖๖  รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเป็นสภานายกแห่งสภาการคลัง

ในปีฉลู พ.ศ. ๒๔๖๘   รัชกาลที่ ๗ ได้ทรงเป็นอภิรัฐมนตรี

สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๗ ที่นครปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันพุธ เดือน ๗ ขึ้น ๑๑ ค่ำ    ปีมะแม ตรีศก จุลศักราช ๑๒๙๓ ตรงกับวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๔

พระชันษา ๕๗ ปี

ทรงเป็นต้นราชสกุล กิติยากร

ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาอ่วม (ท่านเป็นธิดาพระพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พศลยบุตร)

“พี่จุฑารัตน์”  (พระองค์เจ้าหญิงจุฑารัตน์ราชกุมารี)

ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือนอ้าย แรม ๒ ค่ำ ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๓๔ ตรงกับวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๕ ลำดับที่ ๗ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันเสาร์ เดือน ๗ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีมะเมีย โทศก จุลศักราช ๑๒๙๒ ตรงกับวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๓
พระชันษา  ๕๘ ปี
ที่ ๑  ในเจ้าจอมมารดามารกฎ (ท่านเป็นธิดาเจ้าพระยามหิทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล)

“อาดิศ”  (พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร)

ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๗ แรม ๙ ค่ำ ปีจอ จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๒๔ ตรงกับวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕ ลำดับที่ ๕๘ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้า น้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ได้ทรงศึกษาวิชาการทหารมาในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์แต่ยัง ทรงพระเยาว์ ได้เลื่อนยศขึ้นโดยลำดับ จนถึงเปนเลฟเตแนนต์เกอแนลและเปนผู้รับพระบรมราชโองการบังคับการ ในกรมทหารมหาดเล็กมาช้านาน ได้ทรงรักษาราชการตามตำแหน่งเรียบร้อยมั่งคง มิได้มีเหตุการณ์อันใด ซึ่งเปน ที่เสื่อมทราม และได้ทรงรับตำแหน่งเปนที่เอดเดอแกมป์หลวง ได้รับราชการเบ็ดเสร็จต่างๆ เปนอันมากเนืองนิตย์

อนึ่ง กรมแผนที่ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นไว้สำหรับฝึกหัดคนไทยทำแผนที่ในพระราชอาณาเขต แต่ก่อน ยังไม่เปนการมั่นคงเรียบร้อย ได้โปรดเกล้าฯ ให้ทรงจัดการเพิ่มเติมขึ้นให้เปนการเรียบร้อยมั่นคง นับเปนกรมหนึ่ง ซึ่งตั้งขึ้นใหม่ ก็ได้ทรงพระอุตสาหะจัดการนั้นให้เปนการแข็งแรงเรียบร้อยขึ้นกว่าแต่ก่อน และการสร้างสม เครื่องศัสตราวุธสำหรับพระนครก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้ทรงบัญชากรมกองแก้วจินดา ทำรางทำแท่นปืน จัดปืนใหญ่ เก่าใหม่ซึ่งยังจะใช้ราชการได้มาทำรางซ่อมแปลงของเก่าตั้งเรียบเรียงประจำโรงไว้สำหรับราชการแผ่นดิน เปนการ เรียบร้อยเปนประโยชน์แก่ราชการเปนอันมาก ภายหลังได้รับกระแสพระราชดำริและพระบรมราชโองการให้ตั้งโรงเรียน สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ และบุตรข้าราชการ ตลอดจนโรงเรียนราษฎร ก็ทรงพระอุตสาหะดำริตริตรองจัดการตั้ง โรงเรียนแล้วตรวจตราให้การเล่าเรียนแพร่หลายกว้างขวางขึ้น จัดการให้มีวิธีจะสอบไล่หนังสือนักเรียน ซึ่งไม่ได้เคย มีมาแต่ก่อน จัดการทั้งปวงให้เป็นคุณเปนประโยชน์แก่แผ่นดินและตัวผู้ซึ่งเล่าเรียน และเปนพระเกียรติยศใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

จึงมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งให้สถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้า ดิศวรกุมาร ขึ้นเปนพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ นาคนาม ทรงศักดินา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรม ในพระบรมมหาราชวัง

เจ้ากรม เปนหมื่นดำรงราชานุภาพ ถือศักดินา ๖๐๐
ให้ทรงตั้ง ปลัดกรม ปลัดกรมเปนหมื่นปราบบรพล ถือศักดินา  ๔๐๐
สมุหบาญชี เปนหมื่นสกลคณารักษ์ ถือศักดินา ๓๐๐

ในปีกุน พ.ศ. ๒๔๔๒ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเฉลิมพระยศเลื่อนขึ้นเป็น กรมหลวง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทร์มหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าน้องยา- เธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ได้ทรงบังคับการทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมกองแก้วจินดา กรมแผนที่ และ การจัดตั้งโรงเรียนอันเปนความชอบความดีมีปรากฏอยู่ในประกาศตั้งกรมเมื่อปีจอ อัฐศก จุลศักราช ๑๒๔๘ นั้นแล้ว สืบแต่นั้นมาได้ทรงเลื่อนตำแหน่งเปนนายพลตรีผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และจัดการโรงเรียนทั้งปวงอยู่อย่างเดิม ด้วย จนได้ตั้งขึ้นเปนกรมศึกษาธิการ แล้วได้เปนกรรมการจัดตั้งโรงพยาบาลบังคับราชการในกรมสังฆการีและธรรม- การ เมื่อรวบรวมตำแหน่งทั้งปวงนี้ยกขึ้นเปนกระทรวงธรรมการ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจากหน้าที่ ราชการทหารบกมาเปนอธิบดีกระทรวงธรรมการ ได้ทรงจัดราชการในหน้าที่วางแบบอย่างราชการทั้งปวงในกระทรวง ซึ่งรวมขึ้นใหม่นั้น โดยพระสติปัญญาสามารถและความอุตสาหะเปนอันมาก นับว่าเปนอันได้ตั้งต้นการศึกษาเปน แบบอย่าง ซึ่งได้จัดการเจริญสืบมา ณ บัดนี้ได้ทรงแต่งตำราเรียนบางอย่าง มีแบบเรียน เร็ว เปนต้น  แล้วได้ทรงรับ ตำแหน่งเปนราชทูตพิเศษออกไปยังนานาประเทศในยุโรป และทรงตรวจการศึกษาในประเทศต่างๆ บางประเทศ ในยุโรป และทรงตรวจการศึกษาในประเทศต่างๆ บางประเทศ ในยุโรป ทั้งเมืองอียิปต์ และอินเดีย ครั้นเมื่อเสด็จกลับ จากราชการนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปนเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ครั้นเมื่อทรงพระราชดำริจะจัดการ ปกครองพระราชอาณาเขตให้เปนการกวดขันมั่นคง และเปนการสะดวกดีในการปกครองขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรด- เกล้าฯ ให้ยกหัวเมืองจากกลาโหมและกรมท่า มารวมในกระทรวงมหาดไทย แบ่งพระราชอาณาเขตเปนมณฑล จัดการปกครองรักษาเปนแบบอย่างทั่วไปทุกแผนก พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ได้ทรงรับจัดการวางแบบอย่างปกครองทั้งปวง ซึ่งเปนการใหญ่ยิ่งยาก ที่จะสำเร็จได้ เปนที่ไว้วางพระราชหฤทัยอันสนิทเมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาสประเทศยุโรปได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เปนที่ปรึกษาของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ซึ่งสำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์ด้วยพระองค์หนึ่ง มีพระอัธยาศัยมั่นคงยั่งยืนและมีไมตรีอารีทั่วไปในประชุมชนทั้งปวง ประกอบทั้งความสามารถในราชกิจดังพรรณนา มาแล้วนั้น ทรงพระราชดำริเห็นสมควรที่จะยกขึ้นเปนพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ใหญ่

จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาเลื่อนพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ขึ้นเปน พระองค์เจ้าต่างกรมผู้ใหญ่ มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ นาถนาม ทรงศักดินา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนด อย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง

เจ้ากรม เปนหลวงดำรงราชานุภาพ ถือศักดินา ๖๐๐
ให้ทรงเลื่อน ปลัดกรม เปนขุนปราบบรพล ถือศักดินา  ๔๐๐
สมุหบาญชี คงเปนหมื่นสกลคณารักษ์ ถือศักดินา ๓๐๐

ในปีกุน พ.ศ. ๒๔๕๔ รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศเลื่อนขึ้นเป็นกรมพระ

ราชการทั้งส่วนที่เปนราชการแผ่นดินและราชการในพระองค์ ซึ่งกรมหลวงดำรงราชานุภาพได้ทรงปฏิบัติ มาแล้วในรัชกาลก่อนอย่างใด ครั้นมาในรัชกาลปัจจุบันนี้ (รัชกาลที่ ๓) ก็ยังคงทรงปฏิบัติอยู่เช่นนั้น ด้วยความ จงรักภักดี ทั้งเอาพระทัยใส่ในการศึกษายิ่งนัก และในสิ่งซึ่งทรงเห็นว่าจะเปนคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง ได้ทรง ช่วยสนองพระเดชพระคุณโดยเต็มพระทัย เพื่อการดำเนินไปได้ดีและเร็วทันพระบรมราชประสงค์ เช่น การโรงเรียน ข้าราชการพลเรือน กับการจัดตั้งเสือป่า และลูกเสือในหัวเมืองเปน ตัวอย่าง มีพระอัธยาศัยอันสุขุมรอบคอบ กอปรด้วย สติปัญหาอุตสาหะวิริยภาพ ทั้งตั้งพระองค์ไว้ในที่อันสมควรต่อชนทุกชั้น สมควรที่จะได้เลื่อนอิสริยยศ ขึ้นเปนพระองค์ เจ้าต่างกรมผู้ใหญ่อันควรเคารพต่อไปได้

จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสให้เลื่อน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพขึ้นเปนกรมพระ มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ อิศริยลาภบดินทร สยามวิชิตินทรวโรปการ มโหฬารราชกฤตยานุศรอาทรประพาสการสวัสดิ์ วรรัตนปัญญาศึกษาวิเศษ นรินทราธิเบศร์ บรมวงศ์อดิศัยศรีรัตนตรัยคุณธาดา อุดมเดชานุภาพบพิตร นาคนาม ให้ทรงศักดิ์นา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง

เจ้ากรม เปนพระดำรงราชานุภาพ ถือศักดินา ๘๐๐
ให้ทรงเลื่อน ปลัดกรม เปนหลวงปราบบรพล ถือศักดินา  ๖๐๐
สมุหบาญชี เปนขุนสกลคณารักษ์ ถือศักดินา ๓๐๐

ในปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๗๒ รัชกาลที่ ๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศขึ้นเป็นสมเด็จกรมพระยา

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ เปนพระเจ้าบรมวงศ์พระองค์ ๑ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงฝึกสอน รัฐประศาสโนบายแล้วสามารถรับราชการสนองพระเดชพระคุณได้ดั่งพระราชหฤทัยในตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ จนถึงได้ เปนเสนาบดี ตำแหน่งสำคัญมาตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๕ สมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงยกย่องพระสติปัญญาและพระวิริยะ อุตสาหะ กับทั้งพระอัธยาศัยที่ซื่อตรงดำรงสุจริต ปรากฏอยู่ในประกาศตั้งกรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ และประกาศเลื่อนกรม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ นั้นแล้ว

ถึงรัชกาลที่  ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงยกย่องว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรง- ราชานุภาพ ได้ทรงปฏิบัติราชการสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงมาอย่างใด ทรงปฏิบัติต่อพระองค์อย่า นั้นด้วยความจงรักภักดีสมควรเปนพระราชวงศ์ผู้ใหญ่อันควรเคารพ ดั่งแจ้งอยู่ในประกาศเลื่อนกรม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ อีกครั้ง ๑ แต่ในรัชกาลที่ ๖ นั้น เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพได้ทรงรับราชการเปนเสนาบดี  กระทรวงมหาดไทย แต่รัชกาลที่ ๕ สืบมา ได้ถึง ๒๓ ปี อ่อนพระกำลังลงจนเกิดอาการประชวร รู้สึกพระองค์ว่าจะไม่ สามารถทำราชการหนักในตำแหน่งสำคัญให้เรียบร้อยได้ดั่งแต่ก่อน จึ่งกราบบังคมทูลขอเวนคืนตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชปรารภถึงความชอบความดีที่พระเจ้าบรม- วงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้มีมามากแต่หนหลัง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งเปน เสนาบดีที่ปรึกษาแล้วดำรัสมอบพระราชประสงค์ให้ทรงอำนวยการจัดหอพระสมุดสำหรับพระนคร อันทรงพระราชดำริ ว่าเปนการสำคัญสำหรับบ้านเมือง แต่ไม่เปนงานหนักเกินพระกำลัง พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระดำรงราชานุภาพ ก็รับ สนองพระเดชพระคุณมา ได้ทรงพระอุตสาหะรวบรวมตรวจค้นเรื่องโบราณคดี และวรรณคดีต่างๆ  แสดงให้ปรากฏ แพร่หลายทั้งทรงพระราชนิพนธ์หนังสือขึ้นไว้เปนแบบฉบับก็หลายเรื่อง เปนปัจจัยให้เจริญความนิยมในการพิมพ์หนังสือ แจกวิชาความรู้เปนประโยชน์แก่มหาชนสืบมาจนบัดนี้ ครั้นเมื่อหายประชวร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสชวนให้กลับเข้าทรงรับราชการเปนกรรมการสภาการคลังและกรรมการทำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปนเสนาบดีประจำตำแหน่งอีกในกระทรวงมุรธาธร ต่อนั้นมาโปรดเกล้าฯ ให้เปน กรรมการองคมนตรีตรวจงบประมาณเงินแผ่นดินด้วย อนึ่ง เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินจากพระนคร และโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงนครราชสีมา กรมพระดำรงราชานุภาพเปนที่ปรึกษา ครั้นต่อเมื่อเสด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา ทิวงคตแล้ว ผู้ซึ่ง ทรงรับพระราชภาระเปนผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร ในตอนปลายรัชกาลที่ ๖ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ ก็ได้ทรงรับตำแหน่งเปนที่ปรึกษาอย่างเดียวกัน เปนเหตุให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ทราบตระหนักในพระปรีชาสามารถของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ  แต่ในคราวที่ทรงร่วมราชการด้วย กันนั้น

ครั้นถึงรัชกาลปัตยุบันนี้ (รัชกาลที่ ๗)เมื่อทรงพระราชดำริตั้งอภิรัฐมนตรีสภา จึงทรงเลือกพระเจ้าบรม- วงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ เปนอภิรัฐมนตรีพระองค์ ๑ ก็ได้ทรงปฏิบัติราชการในหน้าที่อันสำคัญด้วยพระปรีชา อุตสาหะ และความซื่อตรงจงรักภักดีเปนกำลังในพระราชกิจสืบมาจนบัดนี้

อนึ่ง หอพระสมุดสำหรับพระนครนั้น เมื่อถึงราชการปัตยุบันนี้ ทรงพระราชดำริว่าเจริญหลักฐานมั่นคงแล้วสมควร จะขยายการให้เกิดประโยชน์ออกไปถึงแผนกอื่นๆ อันเปนเครื่องอนุกูลวิชา จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งราชบัณฑิตยสถาน มีแผนก วรรณคดี โบราณคดี และศิลปากร บำรุงวิชานั้นๆ ให้รุ่งเรืองยิ่งขึ้น และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ เปนตำแหน่งนายกในสภานั้น ก็สามารถยังประโยชน์ให้เกิดแก่วิชาในแผนกต่างๆ เปนอันดับมา ดั่งพระราชประสงค์และเปนการเพิ่มพูนเกียรติยศของบ้านเมืองด้วยอีกสถาน ๑

จึ่งมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งให้เลื่อนกรมพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรง- ราชานุภาพ เปนสมเด็จกรมพระยา มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา- ดำรงราชานุภาพ อิสสริยลาภบดินทรสยามวิชิตินทรวโรปการ มโหฬารรัฐประศาสน์ ปิยมาหราชวรานุศิษฎ์ไพศาล- ราชกฤตยการี โบราณคดีปวัติศาสตรโกศล คัมภีรนิพนธนิรุกติปฏิภาน ราชบัณฑิตวิธานนิติธรรมสมรรถ ศึกษาภิวัฒน- ปิยวาที ขันติสัตยตรีสุจริตธาดา วิมลรัตนปัญญาอาชวาศรัย พุทธาทิไตรสรณาทรพิเศษ  คุณาภรณ์ธรรมมิกนาถพิตร นาคนามให้ทรงศักดินา ๓๕,๐๐๐ เปนพิเศษ ในตำแหน่งพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ใหญ่ในพระบรมมหาราชวัง

เจ้ากรม เปนพระดำรงราชานุภาพ ถือศักดินา ๑,๐๐๐
ให้ทรงเลื่อน ปลัดกรม ปลัดกรมเปนพระปราบบรพล ถือศักดินา  ๘๐๐
สมุหบาญชี เปนหลวงสกลคณารักษ์ ถือศักดินา ๕๐๐

สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๘ เมื่อวันพุธ เดือนอ้าย ขึ้น ๕ ค่ำ ปีมะแม เบญจศก จุลศักราช ๑๓๐๕ ตรงกับ วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๖

พระชันษา  ๘๑  ปี

ทรงเป็นต้นราชสกุล ดิศกุล

“พี่รพีพัฒน์”  (พระองค์เจ้าชายรพีพัฒนศักดิ์)

ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีจอ  จุลศักราช  ๑๒๓๖ ตรงกับวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ ลำดับที่ ๑๔ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ได้เป็นแบชเลอร์ ออฟ อาร์ต จากมหาวิทยาลัยออกสเฟิด

ในปีกุน พ.ศ.  ๒๔๔๒ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมและสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนาศักดิ์ ได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการ ณ กรุงอังกฤษแต่ยังทรงพระเยาว์ ภายหลังได้เข้าวิทยาลัยไครสเชิช ศึกษาในทางกฎหมายได้เป็นชั้น บี เอ ตามวิธีประโยคในการศึกษาพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เปนข้าหลวงพิเศษไปจัดการตั้งศาลในมณฑลกรุงเก่า ได้ทรงทำการในหน้าที่นั้นโดยความอุตสาหะ ซื่อตรง ทรงบังคับตัดสินคดีทั้งปวงด้วยพระองค์เอง เปนยุติธรรมแลรวดเร็วปรากฏพระปรีชาสามารถ เปนที่นิยมยินดี ที่ไปในหมู่ประชาชนมณฑลนั้น ท่านเสนาบดีที่ปรึกษาราชการจึงได้พร้อมกันการบบังคมทูลพระกรุณาว่า ถึงพระชน- มายุจะยังน้อยก็เห็นควรว่าสมควรที่จะได้รับราชการในตำแหน่งใหญ่ เปนที่ไว้วางพระราชหฤทัยได้ การในกระทรวง ยุติธรรมซึ่งตั้งขึ้นไว้ยังไม่เปนระเบียบเรียบร้อยดี มีถ้อยความคั่งค้างการดำเนินไปไม่ทันกาลสมัยแลยังไม่ได้จัดการ ออกไปหัวเมืองได้ดังพระราชประสงค์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงรับตำแหน่งที่เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ได้ทรงเริ่มจัดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในกระทรวงยุติธรรมกรุงเทพฯ แลได้จัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้น ทรงแนะนำสั่ง สอนด้วยพระองค์เอง ได้ผู้ซึ่งมีความสามารถพอควรแก่ที่จะเปนผู้พิพาทษาได้ขึ้นหลายนาย ได้จัดการขยายออกไป ตั้งศาลตามหัวเมือง ทั้งศาลข้าหลวงพิเศษ ศาลมณฑล แลศาลเมืองตามลำดับที่จะขยายออกไปได้ ในระหว่างสองปีก็ได้ ตั้งศาลพิจารณาความตามพระราชบัญญัติกระบวนพิจารณาความแพ่ง และความอาญาซึ่งตั้งขึ้นใหม่ได้ทั่วทุกมณฑลมี ผลปรากฏ คือ ราษฎรได้รับความยุติธรรม ตลอดรวดเร็วไม่คั่งค้างอย่างแต่ก่อน ถึงว่าการที่จะจัดให้เต็มบริบูรณ์ตาม ความมุ่งหมายยังไม่สำเร็จตลอดไปได้ในเวลาอันน้อยดังนี้ โดยเหตุที่มีความขัดข้องบางอย่าง มีหาคนสมควรแก่หน้าที่ ไม่ได้ก็ได้ทรงพระอุตสาหะจัดการศึกษากฎหมายแลเลือกหาผู้มีความสามารถที่พอจะทำการในหน้าที่ได้ให้รับราชการ ไป แลแก้ไขจัดการเพิ่มเติมไปโดยลำดับ นับว่าเปนที่หวังใจได้ว่า การศาลยุติธรรมคงจะได้ตั้งมั่นคงแพร่หลายไปทั่ว พระราชอาณาเขตโดยไม่นานเวลา การซึ่งได้ทรงจัดการมาได้ถึงเพียงเท่านี้นับว่าเปนความดีความชอบในราชการเปน อันมาก

จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนา พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ขึ้นเปน พระองค์เจ้า ต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ นาคนาม ทรงศักดินา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง

เจ้ากรม เปนหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ถือศักดินา ๖๐๐
ให้ทรงตั้ง ปลัดกรม ปลัดกรมเปนหมื่นวิชิตสมุทรสงคราม ถือศักดินา  ๔๐๐
สมุหบาญชี เปนหมื่นโพธารามประชุมพล ถือศักดินา ๓๐๐

ใน พ.ศ. ๒๔๕๕ รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการแล้วเลื่อนกรมเป็น กรมหลวง

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวิชราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงพระปรีชาสามารถในกิจราชการแลพระราโชบายโดยประการต่างๆ เปนอันมาก เช่นทรงจัดการในกระทรวงยุติธรรมให้เปนหลักฐาน แลมีผู้รู้พระราชกำหนดกฎหมายอาจจะเปนผู้พิพากษาแล ทนายความได้แพร่หลายเปนต้น เปนผลปรากฏอยู่ในบัดนี้ ส่วนการที่ได้ทรงศึกษาวิชาแลทรงจัดราชการ กระทรวงยุติธรรมมาประการใด ข้อความมีแจ้งอยู่ในประกาศตั้งกรมครั้งก่อนนั้นแล้ว บัดนี้ได้ทรงรับราชการ ในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ

อนึ่ง พระเจ้าพี่ยาเธอฯ พระองค์นี้ ตั้งแต่เมื่อทรงศึกษาอยู่ในประเทศยุโรปแล้วได้ทรงเปนผู้ที่ต้อง พระราชอัธยาศัยแห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เปนผู้ที่สนิทสนมตั่งแต่สมัยกาลอันนั้นสืบมาจน กาลบัดนี้ ได้ทรงสังเกตเห็นได้ถนัดว่า พระเจ้าพี่ยาเธอฯ ทรงมีความจงรักภักดีในพระองค์โดยซื่อสัตย์สุจริต แท้จริงมิได้ขาด เลยเปนผู้ที่เข้าพระทัยพระบรมราโชบายได้โดยง่าย เพราะมีทางที่ทรงพระดำริต้องกันในกิจการ โดยมาก จึงสมควรที่จะเปนที่ไว้วางพระราชหฤทัย แลสมควรที่จะทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งพระองค์เจ้าต่างกรม ผู้ใหญ่พระองค์ ๑ ได้

จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้เลื่อนพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ขึ้นเปน กรมหลวง มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดเรกฤทธิ์ คชนาม ทรงศักดิ์นา ๑๕,๐๐๐  ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง

เจ้ากรม เปนหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ถือศักดินา ๘๐๐
ให้ทรงเลื่อน ปลัดกรม เปนขุนวิชิตสมุทรสงคราม ถือศักดินา  ๖๐๐
สมุหบาญชี เปนหมื่นโพธารามประชุมพล ถือศักดินา ๔๐๐

สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ ณ นครปารีส ด้วยพระโรควักกะ เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๓

พระชันษา  ๔๗ ปี

ทรงเป็นต้นราชสกุล รพีพัฒน

ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาตลับ (เกตุทัต)

หน้า จาก ๒๗ หน้า