พระราชมณเฑียรสถานหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทนี้ เป็นพระราชมณเฑียรหมู่ใหญ่ สร้างอยู่ตรง กลางระหว่างพระที่นั่งในหมู่พระมหามณเฑียร และพระที่นั่งในหมู่พระมหาปราสาทที่ได้สร้างไว้แต่ใน รัชกาลที่ ๑ เดิมมีพระที่นั่งต่างๆ ต่อเนื่องกันถึง ๑๑ องค์ แต่ในปัจจุบันมีเพียง ๓ องค์ และตามโครงการ ที่จะสร้างขึ้นในอนาคตอีก ๑ องค์ รวม ๔ องค์ อย่างไรก็ตาม จำนวนพระที่นั่งที่ลดลงนั้นความจริงเป็น การลดลงแต่ชื่อ ส่วนอาณาบริเวณที่เป็นองค์พระที่นั่งนั้น เมื่อได้สร้างสำเร็จครบถ้วนทั้ง ๔ องค์แล้ว จะมี ปริมาตรเนื้อที่กว้างขวางใหญ่โตกว่าหมู่พระราชมณเฑียรเดิมมาก
เพื่อที่จะได้เข้าใจถึงสภาพของพระราชมณเฑียรสถานหมู่นี้ดีขึ้นว่าเดิมพระที่นั่งอะไรบ้าง เป็นที่ประกอบ พระราชกรณียกิจอย่างใดได้รื้อพระที่นั่งองค์ใดแล้วสร้างใหม่แทนอย่างไรบ้าง ฉะนั้นจึงจะได้นำมาเขียนเป็น ประวัติไว้ ณ ที่นี้ทั้ง ๑๑ องค์
ตำนานการสร้างพระราชมณเฑียรในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทพระราชมณเฑียรในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทนี้ มิได้สร้างขึ้นพร้อมกัน ในขั้นแรก ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่ง ๔ องค์ คือ พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ พระที่นั่ง ดำรงสวัสดิ์อนัญวงศ์ และพระที่นั่งนิพัทธพงศ์ถาวรวิจิตร ขึ้นก่อน
สถานที่ตรงที่สร้างพระที่นั่งทั้ง ๔ องค์นี้ แต่เดิมเป็นที่ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักถวายเป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมราชชนนี กรมสมเด็ พระศรีสุลาลัย ครั้นเมื่อกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัยสวรรคตแล้ว ก็พระราชทานให้เป็นที่ประทับของพระเจ้า- ลูกยาเธอ พระองค์เจ้าหญิงละม่อม(ทรงเป็นพระราชธิดา องค์ที่ ๒๖ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า- อยู่หัว ในรัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น พระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตน ราชประยูร) สืบต่อมา
ณ ตำหนักที่กล่าวนี้ กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุล- จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นหม่อมเจ้าหญิงรำเพย (พระธิดาสมเด็จพระบรมราชมาตา- มหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ (พระองค์เจ้าชายศิริพงศ์) พระราชโอสร องค์ที่ ๖ ในพระบาทสมเด็จ- พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้เคยเสด็จมาประทับร่วมอยู่กับกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ผู้เป็นพระปิตุจฉา และแม้ต่อมาจะได้ดำรงพระอิสริยยศเป็น พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ พระราชเทวี ในรัชกาลที่ ๔ แล้ว ก็ยังคงประทับอยู่ ณ พระตำหนักเดิมสืบมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชสมภพ ณ พระตำหนักที่กล่าวนั้นและได้เคยประทับอยู่กับสมเด็จพระบรมราชชนนี พร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าจันทร มณฑลโสภณภควดี สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี (กรมพระจักรพรรดิพงศ์) และสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังสี สว่างวงศ์ (กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช) ซึ่งเป็นพระขนิษฐภคินี และพระอนุชาร่วมพระราชชนนี้ ณ พระตำหนักนี้สืบมา และโดยนัยนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราช- สมบัติ จึงทรงพระราชดำริที่จะก่อสร้างพระราชมณเฑียรสถานที่ประทับลง ณ ที่นี้ ในหนังสือที่บรรจุศิลาก่อ ฤกษ์พระที่นั่งตอนหนึ่งมีข้อความว่า “ทรงพระราชดำริว่า พระตำหนักเดิมนี้เป็นชัยภูมิมงคลสถานที่ประสูติของพระองค์ และเป็นที่เสด็จประทับ สืบมาตามลำดับ มิได้มีผู้อื่นเข้ามาเจือปนจนถึงตลอดเวลาได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้เคยเสด็จประทับอยู่ เป็นที่สบายแต่เดิมมา จึงมีพระบรมราชโองการมาในพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่ง เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหา- โกษาธิบดี (เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี ที่เข้าพระยาพระคลัง (นามเดิม “ท้วม บุนนาค” บุตรสมเด็จเจ้า พระยาบรมมหาประยูรวงศ์) เป็นแม่กอง พระยาสุรศักดิ์มนตรี (พระยาสุรศักดิ์มนตรี )สามเดิม “แสง” เป็นต้น สกุล แสงชูโต))จางวางมหาดเล็ก เป็นกงสี พระยาเวียงในนฤบาล เป็นนายช่าง จัดการทำพระที่นั่งใหม่ ๒ องค์ โดยกว้างขื่อขาว ๕ วา เฉลี่ยง ๑๑ ศอก รวมกว้าง ๗ วา ๑๑ ศอก ยาวในองค์ ๑๐ วา เฉลียง ๒ ด้าน ๑๐ ศอก รวมยาว ๑๒ วา ๓ ศอก สูงถึงพื้น ๖ ศอก ๗ นิ้ว เดี่ยวสูง ๓ วาศอก ๖ นิ้ว มีมุขหน้ากว้าง ๖ วา สูงพื้นเท่าหลัง ใหญ่ เดี่ยว ๑๐ ศอก องค์ข้างตะวันออกพระราชทานนามว่า พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ องค์ข้างตะวันตก กว้างยาวสูงเท่ากับองค์ข้างตะวันออก พระราชทานนามว่า พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ”
ส่วนพระที่นั่งดำรงสวัสดิ์อนัญวงศ์ ที่สร้างทางตะวันออกพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ และพระที่นั่ง พิพัทธ์พงศ์ถาวรวิจิตร ที่สร้างทางตะวันตกพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติก็ได้สร้างขึ้นพร้อมกันในครั้งนั้น
พระที่นั่งทั้ง ๔ องค์นี้ เมื่อสร้างสำเร็จลงใน พ.ศ. ๒๔๑๖ ก็ได้เสด็จฯ มาประทับที่พระที่นั่งมูลสถาน บรมอาสน์แต่ยังหาได้มีการพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรไม่ เพราะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เริ่ม ทำการก่อสร้างหมู่พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬารขึ้นทางเบื้องหลังพระที่นั่ง ๔ องค์นี้ขึ้นอีกหมู่หนึ่ง
หมู่พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ สำเร็จเรียบร้อยโดยสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร ดังนี้
วันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๑๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๓๗ (พ.ศ. ๒๔๑๘)สวดมนต์เฉลิมพระราช มณเฑียร
วันศุกร์ เดือน ๔ แรม ๑ ค่ำ เลี้ยงพระและสรงพระมูรธาภิเษก
วันเสาร์ เดือน ๔ แรม ๒ ค่ำ เวลา ๑๐.๔๘ น. เป็นศุภมงคลฤกษ์ เสด็จฯ ขึ้นเฉลิมพระราชมณเฑียร
สำหรับองค์พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทนั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เป็นแม่กอง พระยาเวียงในนฤบาลเป็นผู้กำกับการทั่วไป พระดิษฐการภักดี เป็นผู้ตรวจ กำกับบัญชีและสิ่งของทั้งปวง มร. ยอด คลูนิช สถาปนิกชาวอังกฤษ เป็นนายช่าง และ มร. เฮนรี่ คลูนิซ โรส เป็นผู้ ช่วยนายช่าง ดำเนินการก่อสร้าง ได้เริ่มลงมือเตรียมการการก่อสร้างมาตั้งแต่ปลายปีพุทธศักราช ๒๔๑๔¬๒๔๑๘ ครั้นถึงต้นปี ๒๔๑๙ ก็พร้อมที่จะวางศิลาฤกษ์ได้ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปทางวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างเมื่อ วันพุธ เดือน ๖ แรม ๑๐ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๓๘ เวลา ๐๘.๓๖ ตรงกับพุทธศักราช ๒๔๑๙ เป็นปีที่ ๙ ในรัชกาลพระบา สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การก่อสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทครั้งนี้ ได้รื้อเขื่อนเพชรและมุขพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์มุขพระที่นั่ง สมมติเทวราชอุปบัติออก แล้วสร้างพระที่นั่งลงในชาลานั้นส่วนที่เป็นท้องพระโรงกลาง สร้างสอดเข้าไปในระหว่าง กลางพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์และพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ
ในชั้นแรก กำหนดที่จะก่อสร้างในแบบสถาปัตยกรรมยุโรปโดยตลอด หลังคาองค์พระที่นั่งทั้งองค์กลาง องค์ตะวันออก และองค์ระวันตกกำหนดให้ทำเป็นหลังคากลมแต่ในขณะที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่นั้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้เข้าเฝ้าฯ กราบบังคมทูลถวายความเห็นว่า เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยายังเป็น ราชธานีอยู่นั้น ในพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถานที่ปราสาทเรียงกัน ๓ องค์ คือ พระที่นั่งวิหารสมเด็จ พระที่นั่ง สรรเพชรปราสาทและพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้มีพระมหามณเฑียรหมู่พระที่นั่ง จักรพรรดิพิมาน ซึ่งเปรียบเหมือนพระที่นั่งวิหารสมเด็จ และมีพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ซึ่งเปรียบด้วยพระที่นั่ง สุริยาสอมรินทร อยู่แล้ว พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทอยู่กลาง ก็เปรียบเหมือนกระที่นั่งสรรเพชรปราสาท จึงไม่ควร สร้างเป็นอื่น ควรสร้างให้เป็นปราสาทเสียจึงจะเหมาะ และท่านยังได้กราบบังคมทูลอ้างว่า การสร้างพระมหาปราสาท นั้นถือกันมาแต่โบราณกาลว่า เป็นการเฉลิมพระเกียรติยศของสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ทรงสร้าง เพราะ เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก จะต้องทรงไว้ซึ่งพระบุญญาธิการและมีพระบารมีแผ่ไพศาลจึงกระทำได้ สมเด็จพระมหา- กษัตริยาธิราชเจ้าในมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระองค์ก่อนๆ ก็ทรงสร้างปราสาทในพระราชนิเวศน์นี้ไว้เป็นเครื่อง เฉลิมพระเกียรติยศแล้วทุกพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้างพระมหามณเฑียร และพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแม้จะมิได้ทรงสร้างปราสาทไว้ใน รัชกาลของพระองค์ แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงสร้างพระที่นั่งมหิศรปราสาท ถวายเป็น เครื่องเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมชนกนาถไว้แล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รางสร้างพระที่นั่ง สุทไธสวรรย์ปราสาท และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท ฉะนั้น ขอพระราชทานได้มีพระราชดำริให้สร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ให้เป็นพระมหาปราสาท จักได้เป็น เครื่องเฉลิมพระเกียรติยศต่อไปในภายภาคหน้า
พระบาทสมเด็จพระจุลตอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริแล้วเห็นชอบตามที่สมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาศรีสุริยวงศ์กราบบังคมทูล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ระงับการสร้างหลังคาตามแบบ สถาปัตยกรรมยุโรปเสีย แล้วสร้างเป็นหลังคายอดปราสาทแทน
เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จถึงขึ้นพอจะยกยอดปราสาทได้ ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำพิธียกยอด ปราสาท เมื่อวันศุกร์ แรม ๑๐ ค่ำ เอน ๙ ปีขาล จุลศักราช ๑๒๔๐ (พ.ศ. ๒๔๒๑) เวลา ๑๓.๓๐ น.
ภายหลังพิธียกยอดปราสาทแล้ว ก็ได้ดำเนินการก่อสร้างตกแต่งต่อไปอีก เมื่อการได้แล้วเสร็จโดยสมบูรณ์ ดังพระราชประสงค์แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร เมื่อเดือน ๙ ปีมะแม พุทธศักราช ๒๔๒๕
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัตินั้นประจวบกับกาลประดิษฐาน มหาจักรีบรมราชวงศ์ และการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ใกล้จะบรรจบครบรอบ ๑๕๐ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ฉะนั้น ในปี ๒๔๗๓ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศิลปากรสถาน แห่งราชบัณฑิยสภา ดำเนินการบูรณธพระที่นั่ง จักรีมหาปราสาท เพื่อให้แล้วเสร็จทันการฉลองพระนครครบรอบ ๑๕๐ ปี ซึ่งศิลปากรสถานก็ได้มอบหมายให้ หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร นายช่างสถาปนิกแห่งศิลปากรสถานในขณะนั้น เป็นผู้อำนวยการบูรณะซ่อมแซม
การซ่อมครั้งนี้เป็นการซ่อมใหญ่ ได้มีการเปลี่ยนทั้งรูปลักษณะแล้ววัตถุที่ใช้เป็นเครื่องบนเครื่องยอด เปลี่ยนแปลงทรวดทรงและลวดลายของพระทวารพระบัญชร และตัวอาคารทั้งภายในและภายนอกเป็นอันมาก
พระที่นั่งหมู่ใหญ่หลังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ซึ่งแต่เดิมเป็นพระราชมณเฑียรที่ประทับของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพระที่นั่งต่างๆ สร้างต่อเนื่องกันรวม ๑๐ องค์นั้น ในรัชการที่ ๕ จะได้มี การบูรณะซ่อมแซมอย่างไรบ้าง ไม่ปรากฏหลักฐานจากเอกสารทั้งราชการเลย แต่เข้าใจว่าคงจะได้มีการซ่อมแซม ตกแต่งอยู่เป็นประจำ ได้พบลายพระหัตถ์สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลยมารศรี พระอัครราชเทวี ที่ได้ทรงมีถึง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรควรพินิต พระโอสร เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๐ ความตอนหนึ่งว่า
“ที่ห้องทองเวลานี้กำลังปฏิกูลเต็มที่ ด้วยเขาร่างร้านขึ้นซ่อนสีและทาปูน สกปรกไปทั้งนั้น”
จากข้อความในลายพระหัตถ์นี้ แสดงว่าได้มีการบูรณะซ่อมแซมพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๔
ในรัชกาลที่ ๖ ตอนต้นรัชกาล สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ บรมราชชนนี พระพันปีหลวง เสด็จฯ มาประทับ ณ พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์ในพระราชมณเฑียรหมู่นี้ ก็น่าที่จะได้มีการบูรณะซ่อมแซม โดยทั่วๆ ไป แต่ปรากฏในเอกสารซ่อมสร้างทางสำนักพระราชวังว่า ได้มีการซ่อมพระที่นั่งในหมู่นี้เพียง ๔ องค์ ส่วนใหญ่ซ่อมชั้นล่างซึ่งเป็นที่สำหรับราชบริพาร
นอกจากการซ่อมใน พ.ศ. ๒๔๕๗ และ ๒๔๕๙ ดังได้กล่าวมาแล้ว ไม่ปรากฏว่าได้เคยมีการซ่อมอีกเลย ฉะนั้น ในกาลต่อมาจึงยิ่งเกิดความชำรุดทรุดโทรมมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ และยิ่งนานปีก็ยิ่งเสียหายมากขั้น จนอยู่ในสภาพที่เกือบจะพังเป็นบางส่วน ต้องใช้ไม้ค้ำยันไว้พอประทังมิให้พังลงมา แต่บางส่วนก็อยู่ในสภาพ ที่น่ากลัวว่าจะค้ำยันไว้ไม่อยู่อาจพังลงมาก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้คนและอาจกระทบกระเทือนพระที่นั่งส่วนอื่น จึงต้องขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตรื้อลงเสียบ้างเป็นครั้งคราว
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ สำนักพระราชวังได้พยายามขออนุมัติงบประมาณทำการบูรณะซ่อมทำ พระที่นั่งต่างๆ เตรียมไว้ เพราะใกล้เวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินกลับมาประทับ อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว และก็ได้รับอนุมัติงบประมาณให้ทำการบูรณะซ่อมแซมพระที่นั่งในหมู่พระมหา มณเฑียร ซึ่งจะต้องใช้ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอยู่เป็นอันดับแรกแล้วนั้น ม.ร.ว. เทวาธิราช ป. มาลากุล ประธานกรรมการปรึกษากิจการฝ่ายสำนักพระราชวังและฝ่ายศิลปากร ได้เสนอความเห็นว่าประเทศที่มี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ควรมีรั้ววังให้สมเกียรติ ในปัจจุบันนี้การคมนาคมสะดวกรวดเร็ว เมื่อพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ก็คงจะต้องมีการติดต่อสมาคมกับนานาประเทศ แต่ พระราชฐานล้วนแต่ชำรุดทรุดโทรม ห้องจะพระราชทานเลี้ยงก็ไม่มี ควรที่จะได้แก้ไขดัดแปลงพระที่นั่งใน หมู่หลังพระที่นั่งจักรรีมหาปราสาทดังนี้ คือ
๑. ดัดแปลงพระที่นั่งนิพัทธพงศ์ถาวรวิจิตร และพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์สร้างเป็นพระที่นั่งเดียว เพื่อจัด เป็นห้องพระราชทานเลี้ยงให้จุคนได้ประมาณ ๘๐ คน
๒. ดัดแปลงพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ และพระที่นั่งดำรงสวัสดิ์อนัญวงศ์เป็นพระที่นั่งเดียว เพื่อจัดเป็นห้อง สูบบุหรี่
๓. ดัดแปลงพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร สร้างเป็นพระที่นั่งใหม่สำหรับเป็นที่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินี จะประทับได้
สำนักพระราชวังเห็นพ้องกับข้อเสนอนี้ แต่การดังแปลงพระที่นั่งต่างๆ ตามข้อเสนอนั้นจะต้องใช้เงินมาก จึงได้เสนอโครงการขออนุมัติดำเนินการเฉพาะการสร้างพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์และพระที่นั่งสมมติเทวราช อุปบัติก่อน เพื่อให้ใช้ในการพระราชทานเลี้ยงได้ แต่คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นลงมติให้ระงับโครงการบูรณะดัด แปลงพระที่นั่งหมู่หลังพระที่นั่งจีกรีมหาปราสาทไว้ก่อน ให้เพียงรักษาท้องพระโรงกลางและมุขกระสันพระที่นั่งจักรี มหาปราสาทไว้ให้เรียบร้อย ส่วนการพระราชทานเลี้ยงถ้าจะมี ก็ให้จัดที่พระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัยไปพลางก่อน
ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ สำนักพระราชวังได้นำโครงการปรับปรุงพระที่นั่งหมู่หลังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทเพื่อขอพระราชทานกระแสพระราชดำริ คณะผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเห็นชอบด้วย สำนักพระราชวังจึงได้กำหนดโครงการ ดำเนินการปรับปรุงในระยะยาว เพื่อแบ่งเบาภาระทางการเงินในงบประมาณแผ่นดิน มิให้ต้องจัดสรรให้มาก ในระยะเวลาอันสั้น จึงได้รับอนุมัติงบประมาณให้ดำเนินการตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ เป็นต้นมา