ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน ๕ แรม ๓ ค่ำ ปีระกา เบญจศก จุลศักราช ๑๒๓๕ ตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๖ ลำดับที่ ๘ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในปีชวด พ.ศ. ๒๔๓๑ รัชกาลที่ ๕ ได้เฉลิมพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร- วโรฬารลักษณสมบัติรัตนกุมารี มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร วโรฬารลักษณ์สมบัติรัตนกุมารี อรรคบริวารทรงศักดินา ๒๐,๐๐๐ ตามอย่าง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าในพระราชกำหนดใหม่
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๗ พระชันษา ๓๓ ปี เมื่อสิ้นพระชนม์ แล้ว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ ใน พ.ศ. ๒๔๔๗
มีพระบรมราชโองการ ดำรัสสั่งให้สถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร วโรฬารลักษณสมบัติรัตนกุมารีเปนเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัมวาร วโรฬารลักษณสมบัติรัตนกุมารี กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์
พระชันษา ๓๓ ปี
พระมารดาคือ หม่อมเจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาเปนพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ (ทรงเป็นธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี และเจ้าจอมมารดาจีน)
“พี่สุวภักตรวิไลยพรรณ” หรือ “พี่กลาง” (พระองค์เจ้าหญิงสุวพักตร์วิไลยพรรณ)ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน ๖ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีระกา เบญจศก จุลศักราช ๑๒๓๕ ตรงกับวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๖ ลำดับที่ ๑๐ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันพุธ เดือน ๙ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีมะเมีย โทศก จุลศักราช ๑๒๙๒ ตรงกับวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๓
พระชันษา ๕๗ ปี
ที่ ๒ ในเจ้าคุณพระประยุรวงศ์
“พี่หญิงสุทธาทิพย์รัตน์” (สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี)ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๐ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีฉลู นพศก จุลศักราช ๑๒๓๙ ตรงกับวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๐ ลำดับที่ ๒๐ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในปีเถาะ เบญจศก จุลศักราช ๑๒๕๖ พ.ศ. ๒๔๔๖ รัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร
จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี เปนสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ อรรคบริวาร ทรงศักดินา ๔๐,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน
เจ้ากรม | เปนหลวงศรีรัตนโกสินทร | ถือศักดินา | ๘๐๐ | |
ให้ทรงตั้ง | ปลัดกรม | เปนขุนนครเขื่อนธสิมา | ถือศักดินา | ๖๐๐ |
สมุหบาญชี | เปนหมื่นนนทประชาภิบาล | ถือศักดินา | ๓๐๐ |
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันอังคาร เดือนยี่ แรม ๑ ค่ำ ปีจอ จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๘๔ ตรงกับวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๕
พระชันษา ๔๖ ปี
ที่ ๑ ในสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
“เสด็จอาทองแถม” (พระองค์เจ้าชายทองแถมถวัลยวงค์)ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๑๑ แรม ๑๔ ค่ำ ปีมะเส็ง จุลศักราช ๑๒๑๙ ตรงกับวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๐๐ ลำดับที่ ๓๔ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ใน พ.ศ. ๒๔๓๑ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศสถาปนาขึ้นเป็นกรมหมื่น
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ ทรงพระปรีชาชำนาญในการช่างต่างๆ ประกอบด้วยพระอุตสาหะ อันยิ่งใหญ่มิได้ย่อหย่อน ได้ทรงรับทำการอันใดก็ตั้งพระหฤทัยทำการสั่งนั้นให้สำเร็จได้ตามกำหนดมิได้พลาดพลั้ง เมื่อครั้งปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้ทรงรับหน้าที่ประดับกระเบื้องทรงพระศรีรัตนเจดีย์ มีกำหนดน้อย วันมีผู้เห็นโดยมากกว่าการจะไม่ทันกำหนดฉลองพระอาราม ก็ทรงพระอุตสาหะทำการสำเร็จได้ดังพระราชประสงค์ จึงได้โปรดเกล้าฯ จะให้เปนพระองค์เจ้าต่างกรมแต่นั้นมา แต่การยังหาพรักพร้อมไม่ ต่อนั้นมาได้ทรงรับราชการ บังคับช่างต่างๆ ทำการในพระบรมมหาราชวังชั้นใน ทรงทำการด้วยพระหัตถ์ในการประณีตต่างๆ ทั้งกลางคืน กลางวันมิได้เว้นว่างส่วนราชการอย่างอื่นได้ทรงเปนพนักงานทำการที่พระราชวังบางปะอิน และสวนสราญรมย์ ทรงจัดการในที่สองสถานนั้นเปนการเรียบร้อยเจริญขึ้นเปนอันมาก ทั้งการด้านทำการโยธาที่เปนการใหญ่ๆ ก็ ได้ทรงทำเปนหลายแห่ง คือพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย และวัดราชบพิธเปนต้น การทั้งนั้นก็สำเร็จได้ดังพระราช ประสงค์ ใช่แต่เท่านั้นเมื่อได้ดำรงตำแหน่งราชองค์รักษ์ ก็ต้องเสด็จมาประจำเวรในพระบรมมหาราชวัง และ ตามเสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองด้วยทุกตำบล และทรงบังคับครัวหัวป่า ครัวข้าวต้น มีราชการพัวพัน อยู่เปนนิจ ได้ทรงรับราชการสนิทในที่ไว้วางพระราชหฤทัยเปนอันมาก บัดนี้ก็มีพระชนมายุเจริญวัย ประกอบ ด้วยคุณวุฒิดังกล่าวมาแล้วนั้น จึงเปนสมัยอันสมควรที่จะเลื่อนพระเกียรติยศขึ้นเปนพระองค์เจ้าต่างกรมพระองค์ หนึ่งได้
จึ่งมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งให้สถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ขึ้นเปนพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสาตรศุกกิจ อัชนามทรงศักดินา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนด อย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง
เจ้ากรม | เปนหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ | ถือศักดินา | ๖๐๐ | |
ให้ทรงตั้ง | ปลัดกรม | เปนหมื่นวิจิตรศุภวิจารณ์ | ถือศักดินา | ๔๐๐ |
สมุหบาญชี | เปนหมื่นบริหารนิกร | ถือศักดินา | ๓๐๐ |
ในปีมะแม พ.ศ. ๒๔๔๘ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศเฉลิมพระนาม กรมขึ้นเป็นกรมขุน
จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาเลื่อน พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ ขึ้นเปนพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ใหญ่มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสรรพสาตรศุภกิจ อัชนาม ทรงศักดินา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรม ในพระบรมมหาราชวัง
เจ้ากรม | เปนขุนสรรพสาตราศุภกิจ | ถือศักดินา | ๖๐๐ | |
ให้ทรงเลื่อน | ปลัดกรม | คงเปนหมื่นวิจิตรศุภวิจารณ์ | ถือศักดินา | ๔๐๐ |
สมุหบาญชี | เปนหมื่นบริหารนิกร | ถือศักดินา | ๓๐๐ |
ในปีชวด พ.ศ. ๒๔๕๕ รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนกรมขึ้นเป็นกรมหลวง
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ ฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสรรพสาตรศุภกิจ ได้ทรงรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการช่างต่างๆ ซึ่งเปนราชการในพระองค์ เปนที่ต้องพระราชหฤทัยประสงค์มาช้านาน ดังมีข้อความพิสดาร อยู่ในประกาศตั้งกรมนั้นแล้ว ต่อนั้นมาเมื่อหลายรัตนโกสินทร์ศก ๑๒๕ ก็ได้โดยเสด็จพระราชดำเนินประพาส ประเทศยุโรปเปนครั้งที่ ๒ และได้รับราชการในการช่างต่างๆ ต่อมาจนสิ้นรัชกาล มาในรัชกาลปัตยุบันนี้ก็ได้ ทรงรับราชการในหน้าที่เช่นนั้นมาโดยสม่ำเสมอมิได้ทรงท้อถอย มีราชการอันใดที่เปนการเร่งร้อนเช่นทรงรับ ซ่อมพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ให้แล้วทันงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกผ่านพิภพ และซ่อมพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งดุสิตภิรมย์และซ่อมชำระพระเบญจาบุษบกทองคำทั้งพระพุทธรุป และเครื่องทองภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตรศาสดาราม อันเปนการเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช และทรงรับทำพระเบญจาทองคำที่ได้ประดิษฐานพระโกศพระบรมศพ และพระพิมานทองคำลงยาที่ได้ประดิษฐาน พระบรมอัฐพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ การเหล่านี้ล้วนมีกำหนวันให้แล้ว และบางอย่างมีกำหนด เวลาอันน้อยด้วย ก็ได้ทรงพระอุตสาหะรับฉลองพระเดชพระคุณให้สำเร็จสมพระราชประสงค์ทุกประการ ทั้งนี้ก็อาศัยที่ทรงมีความจงรักภักดีต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทโดยมั่นคง
จึงมีพระบรมราชโองการ ดำรัสสั่งให้เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสรรพสาตรศุกกิจ ขึ้นเปนกรมหลวง มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ อัชนาม ทรงศักดินา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง
เจ้ากรม | เปนหลวงสรรพสาตรศุภกิจ | ถือศักดินา | ๘๐๐ | |
ให้ทรงเลื่อน | ปลัดกรม | เปนขุนวิจิตรศุภวิจารณ์ | ถือศักดินา | ๖๐๐ |
สมุหบาญชี | คงเปนหมื่นบริหารนิกร | ถือศักดินา | ๔๐๐ |
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันพุธ เดือน ๕ แรม ๑ ค่ำ ปีมะแม เอกศก จุลศักราช ๑๒๘๑ ตรงกับวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒
พระชันษา ๖๓ ปี
ทรงเป็นต้นราชสกุล ทองแถม
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาสังวาล
“สมเด็จป้า” (พระองค์เจ้าหญิงสุนันทากุมารีรัตน์)ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๑๒ แรม ๑๒ ค่ำ ปีวอก โทศก จุลศักราช ๑๒๒๒ ตรงกับวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๓ ลำดับที่ ๕๐ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เฉลิมพระยศขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี พระอัครมเหสี
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๗ แรม ๘ ค่ำ ปีมะโรง โทศก จุลศักราช ๑๒๔๒ ตรงกับวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ ด้วยเหตุเรือพระที่นั่งล่มที่บางพูด
พระชันษา ๒๑ ปี
ที่ ๓ ในสมเด็จพระปิยมาวดี
“น้องชายกลาง” (สมเด็จเจ้าฟ้าชายตรีเพ็ชรุฒม์ธำรง นริศวงศ์เทวราช วโรภโตชาตพิสุทธิ์ รัตนบุรุษย์จุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยวโรรส อดุลยยศ วิสุทธิกษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร)ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน ๓ แรม ๕ ค่ำ ปีมะเส็ง ตรีศก จุลศักราช ๑๒๔๓ ตรงกับวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๔ ลำดับที่ ๓๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันอังคาร เดือนอ้าย ขึ้น ๗ ค่ำ ปีกุน นพศก จุลศักราช ๑๒๔๙ ตรงกับวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๐
พระชันษา ๗ ปี
ที่ ๓ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ
“น้องหญิง” (สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารี)ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน ๕ แรม ๖ ค่ำ ปีวอก ฉศก จุลศักราช ๑๒๔๖ ตรงกับวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๗ ลำดับที่ ๔๘ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อปีกุน ตรีศก จุลศักราช ๑๒๗๓ พ.ศ. ๒๔๕๔ รัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร
มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนา สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์เปน สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าต่างกรมมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารีกรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร วรรณศรีเปนอาทิอักษร ให้ทรงศักดินา ๕๐,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน
เจ้ากรม | เปนหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร | ถือศักดินา | ๘๐๐ | |
ให้ทรงตั้ง | ปลัดกรม | เปนขุนปราณนครเขตรพิพัฒน์ | ถือศักดินา | ๕๐๐ |
สมุหบาญชี | เปนหมื่นศรีสวัสดิ์พลประมวญ | ถือศักดินา | ๔๐๐ |
ในปีกุน สัปตศก จุลศักราช ๑๒๙๗ พ.ศ. ๒๔๗๔ รัชกาลที่ ๘ โปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระยศ ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ฯ
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๘ เมื่อวันอาทิตย์ เดือนยี่ แรม ๑๐ ค่ำ ปีขาล สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๓๐๐ ตรงกับวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
พระชันษา ๕๔ ปี
ที่ ๕ ในสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวีฯ
“เสด็จอาเจริญจิตร” (พระองค์เจ้าชายจิตรเจริญ)ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน ๖ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีกุล เบญจศก จุลศักราช ๑๒๒๕ ตรงกับวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๖ ลำดับที่ ๖๓ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นกรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์
มีพระบรมราชโองการมานบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งให้สถาปนาตำแหน่งยศพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้า จิตรเจริญ เปนพระองค์เจ้าต่างกราม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ นาคนาม ทรงศักดินา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมใน พระบรมมหาราชวัง
เจ้ากรม | เปนขุนนริศรานุวัติวงศ์ | ถือศักดินา | ๖๐๐ | |
ให้ทรงตั้ง | ปลัดกรม | เปนหมื่นจำนงบริรักษ์ | ถือศักดินา | ๔๐๐ |
สมุหบาญชี | เปนหมื่นพลพรรคภิบาล | ถือศักดินา | ๓๐๐ |
ในปีกุน พ.ศ. ๒๔๓๐ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เฉลิมพระยศขึ้นเป็นเจ้าฟ้า
ในปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๔๘ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เฉลิมพระยศขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ จำเดิมแต่ได้ประกาศเมื่อครั้งรับพระสุพรรณบัฏเปน พระองค์เจ้าต่างกรมมา ได้ทรงรับราชการในหน้าที่ราชการอันสำคัญมาเปนอันมาก คือเปนผู้ร่วมพระดำริ ด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธ์วงศ์วรเดช และพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวง ดำรงราชานุภาพ รวบรวมทหารตั้งกรมยุทธนาธิการ ได้ทรงรับราชการในตำแหน่งใหญ่ในกรมนั้น ภายหลัง ได้รับราชการนอกตำแหน่งทหารเพิ่มเติมออกไป จนเปนตำแหน่งอธิบดีกรมโยธา ได้จัดรวบรวมการทั้งปวง เข้าจนภายหลังยกขึ้นเปนกระทรวงโยธาธิการ ได้ทรงดำรงตำแหน่งเสนาดีกระทรวงนั้นเปนครั้งแรก นับว่าเปนผู้จัดการก่อสร้างตั้งกระทรวงนั้นขึ้นเปนปฐม
ภายหลังเมื่อการพระคลังไม่เรียบร้อย จึงต้องทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทรงย้าย ตำแหน่งไปเปนเสนาบดีกระทรวงพระคลัง ภายหลังเมื่อจะจัดกระทรวงกลาโหมก็ต้องทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ทรงย้ายตำแหน่งไปเปนเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ภายหลังเปนผู้บัญชาการ กรมยุทธนาธิการด้วย ครั้งเมื่อ ร.ศ. ๑๑๖ เสด็จพระราชดำเนินประเทศยุโรป ได้ทรงรับราชการสนองหน้าที่ ทั้งเปนผู้แทนเสนาบดีกระทรวงพระคลังด้วยจนเสด็จพระราชดำเนินกลับ
ครั้งรัตนโกสินทรศก ๑๑๗ ได้ทรงกลับมารับตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมและเปนผู้สั่ง ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ จนรัตนโกสินทรศก ๑๑๘ จึงได้กลับทรงรับตำแหน่งเสนาบดีกระทรวง โยธาธิการตามเดิม ในศกนี้จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงวัง
จึ่งมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนา เลื่อนพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ขึ้นเปนสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าต่างกรมผู้ใหญ่ มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์ นาคนาม ทรงศักดินาเพิ่มขึ้น เปน ๕๐,๐๐๐ เต็มตามพระราชกำหนดอย่างสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าต่างกรมใน พระบรมราชตระกูลอันสูงศักดิ์
เจ้ากรม | เปนหลวงนริศรานุวัติวงศ์ | ถือศักดินา | ๘๐๐ | |
ให้ทรงเลื่อน | ปลัดกรม | ปลัดกรมเปนขุนจำนงบริรักษ์ | ถือศักดินา | ๖๐๐ |
สมุหบาญชี | คงเปนหมื่นพลพรรคภิบาล | ถือศักดินา | ๓๐๐ |
ในปีฉลู พ.ศ. ๒๔๕๖ รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศเลื่อนขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระ
มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้เลื่อน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์ ขึ้นเปนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระ มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพระนริศรานุวัดติวงศ์ มหามกุฏพงศ์นฤบดินทร์ ปรมินทรานุชาธิเบนทร ปรเมนทรราชบิตุลา สวามิภักดิ์สยามวิชิตสรรพศิลปสิทธิวิทยาธร สุรจิตรกรศุกโกศล ประพนธปรีชาชาญ โบราณคดี สังคีตวาทิตวิธีวิจารณ์ มโหฬารสีตลัธยาศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณานุวัติ ขัตติยเดชานุภาพบพิตร นาคนาม ทรงศักดินา ๕๐,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าต่างกรม ในพระบรมราชตระกูลอังสูงศักดิ์
เจ้ากรม | เปนพระนริศรานุวัดติวงศ์ | ถือศักดินา | ๘๐๐ | |
ให้ทรงเลื่อน | ปลัดกรม | ปลัดกรมเปนหลวงจำนงบริรักษ์ | ถือศักดินา | ๖๐๐ |
สมุหบาญชี | เปนขุนพลพรรคภิบาล | ถือศักดินา | ๔๐๐ |
ในปีระกา พุทธศักราช ๒๔๘๘ รัชกาลที่ ๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระยศขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยา
มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้เลื่อนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้า ฯ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ขึ้นเปนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยามีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้า ฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มหามกุฎพงศ์นฤบดินทร์ ปรมินทรานุชาธิเบนทร์ อัฐเมนทรราชอัยยกาสวามิภักดิสยามวิชิต สรรพศิลปสิทธิวิทยาธร สุรจิตรกรศุภโกศล ประพนธปรีชาชาญโบราณคดี สังคีตวาทิตวิธีวิจารณ์ มโหฬารสีตลัธยาสัย พุทธาทิไตรรัตนสรณานุวัตร์ขัติยเดชานุภาพบพิตร นาคนาม ทางศักดินา ๕๐,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าต่างกรมในพระบรมราชตระกูลอันสูงศักดิ์
เจ้ากรม | เปนพระยานริศรานุวัดติวงศ์ | ถือศักดินา | ๑,๐๐๐ | |
ให้ทรงเลื่อน | ปลัดกรม | เปนพระจำนงบริรักษ์ | ถือศักดินา | ๘๐๐ |
สมุหบาญชี | เปนหลวงพลพรรคภิบาล | ถือศักดินา | ๕๐๐ |
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ เป็นปีที่ ๑๒ (รัชกาลที่ ๘)
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน (รัชกาลที่ ๙) เมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๔ ค่ำ ปีกุน นพศก จุลศักราช ๑๓๐๙ ตรงกับวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๐
พระชันษา ๘๓ ปี ๑๐ เดือน ๑๒ วัน
ทรงเป็นต้นราชสกุล จิตรพงศ์
ที่ ๒ ในพระองค์เจ้าพรรณราย
“ดิลกนพรัฐ” (พระองค์เจ้าชายดิลกนพรัฐ)ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๖ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีวอก ฉศก จุลศักราช ๑๒๔๖ ตรงกับวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๗ ลำดับที่ ๔๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการในประเทศอังกฤษ ต่อมาก็ให้ทรงข้ามมาศึกษา ณ ประเทศเยอรมนีไปรับ ปริญญาเป็นดอกเตอร์ วิทสตาตส์ วิสเซนชัฟท์ ในมหาวิทยาลัยทุบบิงเงน
ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อทรงจบการศึกษาแล้ว ได้เสด็จกลับมารับราชการเป็นอำมาตรย์เอก เจ้ากรมพลัมภัง กระทรวงมหาดไทย
ในรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนาเป็นกรมหมื่นสรรควิสัยนรบดีเมื่อปีชวด จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๗๔ พ.ศ. ๒๔๕๕
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิรวุธ ฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐได้เสด็จออกไปทรงศึกษาวิชา ณ ประเทศยุโรปที่เมืองอังกฤษก่อน แล้วได้เสด็จไปศึกษาในประเทศเยอรมนีต่อไป จนทรงสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรเปนเปรียญรู้ในอรรถคดี ครั้งรัตนโกสินทรศก ๑๒๖ เสร็จการศึกษาแล้ว ได้เสร็จกลับมารับราชการในกระทรวงมหาดไทยในหน้าที่ ปลัดกรมพิเศษแผนกอัยการต่างประเทศ แล้วเปนปลัดสำรวจกรมมหาดไทยฝ่ายเหนือและเป็นเจ้ากรม เลขานุการเปนลำดับมา ในบัดนี้ได้ดำรงพระเกียรติยศในตำแหน่งผู้ช่วยราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย และเจ้ากรมพลัมภัง ทรงพระปรีชาสามารถอาจให้ราชกิจในหน้าที่นั้นๆ สำเร็จโดยเรียบร้อยตลอดมา บัดนี้ก็ทรงวัยวุฒิสมควรจะได้รับพระเกียรติยศเปนเจ้ากรมต่างกรมพระองค์ ๑ ได้
จึงมีพระบรมราชโองการ ดำรัสสั่งให้สถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ขั้นเปนพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี อัชนาม ทรงศักดินา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรม ในพระบรมมหาราชวัง
เจ้ากรม | เปนหมื่นสรรควสัยนรบดี | ถือศักดินา | ๖๐๐ | |
ให้ทรงตั้ง | ปลัดกรม | เปนหมื่นอุไทยธานีนรสมาคม | ถือศักดินา | ๕๐๐ |
สมุหบาญชี | เปนหมื่นมโนรมนรานุรักษ์ | ถือศักดินา | ๓๐๐ |
ต่อมาให้ทรงเลื่อนเป็นมหาอำมาตรย์ตรี คงตำแหน่งในกระทรวงมหาดไทย
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันอาทิตย์ เดือนยี่ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีชวด จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๗๔ ตรงกับวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๕
พระชันษา ๒๙ ปี
เจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกสร ชาวเชียงใหม่ (ท่านเป็นธิดาเจ้าน้อยมหาพรหมและเจ้าอุบลวรรณา)
“น้าแข” (พระองค์เจ้าหญิงแขไขดวง)ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีกุน เบญจศก จุลศักราช ๑๒๒๕ ตรงกับวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๖ ลำดับที่ ๖๘ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๙ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก จุลศักราช ๑๒๙๑ ตรงกับวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๒
พระชันษา ๖๖ ปี
ที่ ๘ ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง
“น้าประดิษฐา” (พระองค์เจ้าหญิงประดิษฐาสารี)
ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน ๘ แรม ๑๑ ค่ำ ปีฉลู สัปตศก จุลศักราช ๑๒๒๗ ตรงกับวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๐๘ ลำดับที่ ๗๕ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน (รัชกาลที่ ๙) เมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๙ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๒๔ ตรงกับวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๕
พระชันษา ๙๗ ปี
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาดวงคำ
“กรมหลวงวรศักดา” (พระองค์เจ้าชายอรุณวงศ์)ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๗ แรม ๖ ค่ำ ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๗๔ ตรงกับวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๕๕ ลำดับที่ ๕๘ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ใน พ.ศ. ๒๓๙๔ รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาขึ้นเปน กรมหมื่นวรศักดาพิศาล
มีพระบรมราชโองการ มานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่งให้สถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้า อรุณวงศ์ เปนกรมหมื่นวรศักดาพิศาล นาคนาม จงเจริญ พระชนมายุ พรรณะ สุขะ พละ ศิริสวัสดิ์ เทอญ
เจ้ากรม | เปนหมื่นวรศักดาพิศาล | ถือศักดินา | ๖๐๐ | |
ให้ทรงตั้ง | ปลัดกรม | เปนหมื่นชำนาญราชกิจ | ถือศักดินา | ๔๐๐ |
สมุหบาญชี | เปนหมื่นวินิจพลขันธ์ | ถือศักดินา | ๓๐๐ |
ในปีจอ พ.ศ. ๒๔๑๗ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนกรมขึ้นเป็น กรมหลวง
มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาล สุพฒนาการสวัสดิ คชนาม ทรงศักดินา ๑๕,๐๐๐ ตามกำหนดอย่างธรรมเนียมพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง
เจ้ากรม | เปนหลวงวรศักดาพิศาล | ถือศักดินา | ๖๐๐ | |
ให้ทรงตั้ง | ปลัดกรม | เปนขุนชำนาญราชกิจ | ถือศักดินา | ๕๐๐ |
สมุหบาญชี | เปนหมื่นวินิจพลขันธ์ | ถือศักดินา | ๓๐๐ |
ในรัชกาลที่ ๔ ได้ว่ากรมกองแก้วจินดาและกรมช่างหล่อ
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันศุกร์ เดือน ๘ อุตราสาฒ แรม ๔ ค่ำ ปีชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๕๐ ตรงกับวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๑
พระชันษา ๗๖ ปี
ทรงเป็นต้นราชสกุล อรุณวงศ์ ในเจ้าจอมมารดาเอม (ท่านเป็นธิดาพระยารัตนจักร (หงส์ทอง))