สารบัญ
พระแท่นมหาเศวตฉัตร

พระแท่นมหาเศวตฉัตรองค์นี้ เป็นพระราชบัลลังก์ทองแกมแก้ว ประดิษฐานเหนือพระแท่นลา ภายใต้ พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เป็นพระราชบัลลังก์สำหรับสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า ประทับในโอกาสที่เสด็จออกมหาสมาคมในการพระราชพิธีสำคัญต่างๆ เช่นเสด็จอกมหาสมาคมในการพระราชพิธี บรมราชาภิเษก และออกมหาเถรสมาคมในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรรษา เป็นต้น

ในโอกาสที่สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าเสด็จขึ้นประทับบนพระแท่นเศวตฉัตรนี้ได้เชิญพระที่นั่ง พุดตานกาญจนสิงหาศน์ ซึ่งเป็นพระราชอาสน์ที่ประทับ ขึ้นทอดเหนือพระแท่นเศวตฉัตร สองข้างพระราชอาสน์ ตั้งโต๊ะทองทอดเครื่องราชูปโภคพร้อมสรรพ ที่มุมพระแท่นลารองพระแท่นมหาเศวตฉัตร ตั้งต้นไม้เงินทองทั้ง ๔ มุม

สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าจะเสด็จขึ้นประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาศน์บนพระราชบัลลังก์ ภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร เป็นครั้งแรกในรัชกาลของพระองค์ เมื่อเสด็จออกมหาสมาคมในการพระราชพิธี บรมราชาภิเษก โอกาสนั้นจะทรงเครื่องบรมราชภูษิตาภรณ์ตามโบราณขัตติยราชประเพณี และทรงพระมหาพิชัยมงกุฎ

ส่วนการเสด็จออกมหาสมาคมในการพระราชพิธีอื่น บางรัชกาลก็ประทับพระแท่นเศวตฉัตร แต่บางรัชกาล ก็เสด็จออก ณ พระที่นั่งบุษบกมาลามหาพิมาน เช่นในรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ โดยปรกติเสด็จออก ณ พระที่นั่ง- บุษบกมาลาฯ และในรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระแท่นเศวตฉัตร ไปทอดที่ท้องพระโรง หน้าพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เวลาเสด็จออกมหาสมาคมในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เสด็จออก พระที่นั่งบุษบกมาลามหาพิมานเจริญรอยพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒

ในการพระราชพิธีหรือการพระราชกุศลอื่นๆ ซึ่งมิใช่การเสด็จออกมหาสมาคมสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า จะประทับ ณ พระราชอาสน์เบื้องล่างแล้วเชิญปูชนียวัตถุสำคัญในการพระราชพิธีหรือการพระราชกุศลนั้นๆ ขึ้น ประดิษฐานบนพระแท่นมหาเศวตฉัตร เช่นในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายสมเด็จพรบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ก็อัญเชิญพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน เป็นต้น

พระแท่นเศวตฉัตรนี้ สร้างขึ้นแต่ครั้งรัชกาลที่ ๑ เป็นพระแท่นจำหลักลงรักปิดทองประดับกระจกบ้างเป็นบาง ส่วนขออธิบายลักษณะลายที่จำหลักไว้พอเป็นสังเขปบ้างดังนี้:-

องค์พระแท่นเป็นฐาน ๕ ชั้น

ชั้นล่างสุด เป็นหน้ากระดานเชิงฐาน หน้าเรียบ ตอนบนประดับกระจัง ๒ ชั้น ชั้นในเป็นกระจังเจิม ชั้น นอกเป็นกระจังตาอ้อย

ชั้นที่ ๒ เป็นฐานชั้นสิงห์ มีลายเฉพาะกาบเท้า ปาก และจมูกสิงห์ มีกระจังเจิม กระจังตาอ้อย ประดับตอน บน องฐานชั้นสิงห์ด้วย

ชั้นที่ ๓ เป็นฐานปัทมชั้นที่ ๑ หน้ากระดานจำหลักลายลูกฟักก้ามปูใบเทศ มีบัวหงายรับ มีกระจังเจิม กระจังตาอ้อยประดับอยู่โดยรอบ

ชั้นที่ ๔ เป็นฐานปัทมชั้นที่ ๒ ท้องไม้จำหลักลายกระหนกก้านขดเป็นลายโปร่งมีรูปครุฑจับนาคติดลอย อยู่หน้าท้องไม้เป็นระยะๆ โดยรอบเหนือท้องไม้เป็นบัวหงายรับหน้ากระดาน หน้ากระดานจำหลักเป็นลายลูกฟัก ก้ามปูใบเทศ มีกระจังเจิมและกระจังตาอ้อยประดับอยู่ตอนบนโดยรอบ

ชั้นที่ ๕ เป็นฐานชั้นบนสุด ท้องไม้จำหลักลายกระหนกก้านเขตเป็นลายโปร่ง มีรูปเทพนมติดลอย หน้าท้องไม้แทนรูปครุฑ เหนือท้องไม้เป็นบัวหงาย หน้ากระดานฐานพระจำหลักลายลูกฟักก้ามปูใบเทศ มีกระจัง ปฏิญาณประดับอยู่เหนือหน้ากระดาน

บนพระแท่นประกอบด้วยพนักแกะสลักลายเทศพุดตาน โดยฝีมือช่างในรัชกาลที่ ๓ (ดูคำอธิบายในลาย พระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ฉบับลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๔๘๗ใน “สาส์นสมเด็จ” ฉบับ คุรุสภาจัดพิมพ์ เล่ม ๑๖ หน้า ๙๐) เข้าใจกันว่าพนักเดิมคงจะชำรุดสูญหายไป จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดทำขึ้นใหม่

พระแท่นมหาเศวตฉัตรนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีความเห็นว่า เดิมคง จะไม่ได้สร้างสำหรับพระที่นั่งองค์นี้ เพราะในพระที่นั่งองค์นี้มีพระที่นั่งบุษบกมาลามหาพิมานเป็นพระราชบัลลังก์ อยู่แล้ว จะมีอีกองค์หนึ่งซ้อนทำไมเข้าพระทัยว่าคงสร้างขึ้นเป็นพระราชบัลลังก์สำหรับพระที่นั่งอมรินทราภิเษก- มหาปราสาทและเมื่อคราวบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ คงจะประทับออกมหาสมาคมในพระที่นั่งที่กล่าวนั้นด้วย ต่อมา เมื่อมีพระแท่นประดับมุกอีกองค์หนึ่งแล้ว ก็เก็บพระแท่นมหาเศวตฉัตรองค์นี้ไว้ยกออกมาตั้งที่พระที่นั่งอมรินทร- วินิจฉัยเฉพาะคราวที่จะเสด็จออกมหาสามาคมในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเท่านั้น ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ เมื่อได้ยกออกมาตั้งในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้วก็ไม่ได้ยกเก็บเช่นในรัชกาลก่อน โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง เป็นพระราชบัลลังก์ประจำพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยนี้มีอีกองค์หนึ่ง

๑๖
หน้า ๑๖ จาก ๒๗ หน้า