สารบัญ
“ลุงจักษ์” - “น้องชายยุคล”
“ลุงจักษ์” (พระองค์เจ้าชายทองกองก้อนใหญ่)

ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะโรง อัฐศก จุลศักราช ๑๒๑๘ ตรงกับวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๙ ลำดับที่ ๒๕ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๒๔ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศสถาปนาเปน กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม มีประกาศดังนี้

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าน้องยาเธอ- พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ทรงพระเจริญวัยวุฒิปรีชาว่องไวในการช่างต่างๆ มีความอุตสาหะพากเพียรมิได้ย่อหย่อน ได้รับราชการอันใดก็ให้สำเร็จประสงค์โดยเร็วพลันทันเวลา เรียบร้อยมิได้เสียราชการ และมีอัธยาศัยจงรักต่อราชการ มิได้เบื่อหน่าย และรอบรู้ในราชกิจทั้งปวงควรจะเปนพระองค์เจ้าต่างกรมพระองค์หนึ่งได้ จึงมีพระบรมราชโองการมาน- พระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งให้สถาปนาเลื่อนตำแหน่งยศ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ เปน พระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม มุสิกนาม ทรงศักดินา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง

เจ้ากรม เปนหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ถือศักดินา ๖๐๐
ให้ทรงตั้ง ปลัดกรม เปนหมื่นอภิรมย์ราชกิจ ถือศักดินา  ๔๐๐
สมุหบาญชี เปนหมื่นพินิจพลภักดี ถือศักดินา ๓๐๐

ให้ผู้ซึ่งได้รับตำแหน่งทั้ง ๓ นี้ ทำราชการในหลวงและในกรมตามอย่างธรรมเนียม เจ้ากรม ปลัดกรม สมุหบาญชี ในพระองค์เจ้าต่างกรมทั้งปวงสืบไป

ในปีกุน พ.ศ. ๒๔๔๒ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนกรมขึ้นเป็น กรมหลวง พระบาทสมเด็จพระปริมนทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงพระสติปัญญาว่องไวได้เริ่มรัชกาลเปนนักเรียนอยู่ที่ศาลฎีกา ครั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์เปนอธิบดี และได้ทรงทำการโยธาต่างๆ มีการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามเปนต้น แล้ว รับราชการบังคับบัญชากรมวังนอก ภายหลังได้เปนผู้ช่วยราชการกรมวังเวรในด้วย และได้ทรงจัดการรวบรวมผู้กำกับประตู ต่างๆ ตั้งเปนทหารดับเพลิงในพระบรมมหาราชวังขึ้นกองหนึ่ง และได้ทรงจัดการตั้งกรมทหารล้อมพระราชวัง แล้วได้ทรง รับตำแหน่งเปนนายพันโทบังคับบัญชาการทหารในกองนั้นเปนการกวดขันแข็งแรงและประจำราชการอยู่ใน พระบรม มหาราชวังโดยมาก มีความจงรักภักดีต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเสมอมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ครั้งเมื่อมีราชการพวกฮ่อข้าศึก เข้ามาเบียดเบียนประชาชนในพระราชอาณาเขตทางแขวงเมืองพวน ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเปนแม่ทัพใหญ่ ขึ้นไปปราบปรามพวกฮ่อข้าศึกตั้งอยู่ที่เมืองหนองคายจัดการในหัวเมืองลาวและเมืองพวนจนสำเร็จราชการตลอด แล้วได้ เสด็จกลับลงมารับราชการในกรุงเทพฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง ได้ทรงศึกษาราชการในหน้าที่รอบรู้ทั่วถึง ในการเก่าใหม่ทั้งปวงทั่วไป และได้ทรงเปนตำแหน่งนายพลตรี บังคับราชการทหารประจำซองในพระบรมมหาราช วังทั้งสิ้น และได้ทรงช่วยกรมพระตำรวจจัดการรับฎีกาที่ราษฎรทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเปนแบบแผนเรียบร้อยดีขึ้น ภายหลังได้ทรงรับตำแหน่งเปนข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ ประจำราชการอยู่ในครั้งหลังนี้ถึง ๗ ปีเศษ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เสด็จกลับลงมาดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมและรับราชการในหน้าที่ผู้บัญชาการ ทหารเรือในครั้งนี้ เมื่อทรงดำรงที่แม่ทัพและข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือนั้น ได้ทรงจัดราชการ ทั้งปวง ทั้งส่วนปราบปรามข้าศึกศัตรู และการปกครองรักษาพระราชอาณาเขตด้วยสุรภาพปรีชาสามารถ

จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาเลื่อน พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม มุสิกนาม ทรงศักดินา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง

เจ้ากรม เปนหลวงประจักษ์ศิลปาคม ถือศักดินา ๖๐๐
ให้ทรงตั้ง ปลัดกรม เปนขุนอภิรมย์ราชกิจ ถือศักดินา ๔๐๐
สมุหบาญชี คงเปนหมื่นพินิจพลศักดิ์ ถือศักดินา ๓๐๐

ให้ผู้ที่ได้เลื่อนตำแหน่ง และคงตำแหน่งยศทั้ง ๓ นี้ ทำราชการในหลวงและในกรมตามอย่างธรรมเนียม เจ้ากรม ปลัดกรม สมุหบาญชี ในพระองค์เจ้าต่างกรมทั้งปวงสืบไป

ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๓ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีชวด ฉศก จุลศักราช ๑๒๘๖ ตรงกับวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๗ พระชันษา ๖๙  ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล ทองใหญ่

“ทูลหม่อมบน” (สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามกุฎ บุรุษยรัตนราช รวิวงศ์วรุตมพงศ์บริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร)

พระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน ๑๐ แรม ๓ ค่ำ ปีฉลู เบญจศก จุลศักราช ๑๒๑๕ ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ ลำดับที่ ๙ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเฉลิมพระยศขึ้นเป็น กรมหมื่น

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าชาย- พระองค์ใหญ่ เมื่อเวลาประสูติใหม่ ท่านเสนาบดีทั้งปวงได้พร้อมกันกราบทูลขอยกย่องให้เป็นพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า เพื่อจะ รักษาแบบอย่างบุราณราชประเพณีไว้ไม่ให้เสื่อมสูญ แต่ยังหาได้พระราชทานพระสุพรรณบัฏจารึกพระนามไม่ครั้งนี้จึงมี พระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งให้เลื่อนเฉลิมพระนามพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพ มหามกุฏ บุรุษยรัตนราชวิวงศ์ วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร ดังนี้ และให้เปนเจ้าฟ้า ต่างกรมมีพระนามว่า กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ ได้ทรงศักดินา ๔๐,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่าง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า

อนึ่ง เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระอิสริยยศเปนเจ้าฟ้าต่างกรมพระองค์หนึ่งแล้วดังนี้

เจ้ากรม เปนหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ ถือศักดินา ๘๐๐
ให้ทรงตั้ง ปลัดกรม เปนหมื่นวรราชบุตรารักษ์ ถือศักดินา ๖๐๐
สมุหบาญชี เปนหมื่นอนุรักษ์พลสังขยา ถือศักดินา ๓๐๐

ในปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๐ รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระยศเฉลิมพระนามขึ้นเป็น กรมขุนพินิต- ประชานาถ

เจ้ากรม เปนขุนพินิจประชานาถ ถือศักดินา ๘๐๐
ให้ทรงตั้ง ปลัดกรม เปนหมื่นวรราชบุตรารักษ์ ถือศักดินา ๖๐๐
สมุหบาญชี เปนหมื่นอนุรักษ์พลสังขยา ถือศักดินา ๓๐๐

ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกำกับราชการกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมทหารวังหน้า เมื่อ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้ว

ใน พ.ศ. ๒๔๑๑ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบ- สันตติวงศ์ต่อจากพระบรมราชชนกนาถ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๓๐ ตรงกับวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ และได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันพุธ เดือน ๑๒ แรม ๑๒ ค่ำ ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๓๐ ตรงกับวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๑ เฉลิมพระปรมาภิไธย ตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์บดินทรเทพมหามกุฏ บุรุษรัตนราชวิวงศ์ วรุตมพงศ- บริพัตร วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรัตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราหณีจักรีบรมนาถ มหามกุฎราช- รามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอรรคอุกฤกฐไพบูลย์ บุรพาดูลย์กฤษดาภินิหาร สุภาธิการรังสฤษฎิ์ ธัญญลักษณ์วิจิตรโสภาคย- สรรพางค์ มหาชโนตมางคประนต บาทบงกชยุคลประสิทธิสรรพศุภผล อุดมบรมสุขุมาล ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณ อดุลยพิเศษสรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิสมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัตติยราชประยูรมูลมุขมาตยาภิรมย์ อุดมเดชาธิราช บริบูรณคุณสารสยามาทินครวรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษ- สิรินธร อเนกชนนิกรสโมสรสมมตประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณ์ มหาบรมราชาภิเษกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยาหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรด มบรมนาถ ชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิอัคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลาหฤทัย อโนปไมย- บุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดินทร์ปรมินทรธรรมิมหาราชาธิราชบรมนาถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในปีมะแม พ.ศ. ๒๔๑๓ ได้เสด็จประพาสสิงค์โปร์ และชวา

ในปีวอก พ.ศ. ๒๔๑๕ ได้เสด็จประพาสอินเดีย และพม่า

ในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่สองเมื่อวันเสาร์ เดือน ๑๒ แรม ๑๑ ค่ำ ปีระกา เบญจศก จุลศักราช ๑๒๓๕ ตรงกับวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๖

ในปีระกา พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก

ในปีมะแม พ.ศ. ๒๔๕๐ ได้เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สอง

เสด็จดำรงอยู่ในราชสมบัติ ๔๒ ปีนับเป็นรัชกาลที่ยั่งยืนนานกว่าอดีตพระมหากษัตริย์แห่งกรุงสยามที่ปรากฏ ในพงศาวดารแต่ก่อนมาทุกพระองค์

สวรรคตเมื่อวันเสาร์ เดือน ๑๑ แรม ๔ ค่ำ ปีจอ โทศก จุลศักราช ๑๒๗๒ ตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓

พระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา

ที่ ๑ ในสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ (พระองค์ทรงเป็นพระธิดาในกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์)

“สมเด็จแม่” (พระองค์เจ้าหญิงสว่างวัฒนา)

ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน ๑๐ แรม ๒ ค่ำ ปีจอ จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๒๔ ตรงกับวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๕ ลำดับที่ ๖๑ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี

รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งสภานายิกาแห่งสภากาชาดสยาม เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๔๖๓

ในปีฉลู พ.ศ. ๒๔๖๘ รัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพัน- วัสสามาตุจฉาเจ้า

ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ได้ทรงเปน ประธานราชการฝ่ายใน ตั้งแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง เสด็จสวรรคตมาจนบัดนี้ ทั้งทรงพระคุณแก่ บ้านเมืองปรากฎเปนอเนกปริยาย ดังเช่นทรงอำนวยการสภากาชาดสยามเปนต้น ในส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จ- พระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าก็ได้ทรงประคับประคองโดยทรงพระเมตตากรุณามาเปนนิจตั้งแต่ยังทรง- พระเยาว์วัย มีพระคุณควรนับเปนอย่างยิ่ง ทุกวันนี้ก็เปนที่ทรงเคารพนับถือเหมือนดังเช่นสมเด็จพระบรมราชชนนี สมควรจะเฉลิมพระเกียรติยศให้ใหญ่ยิ่ง เพื่อเปนที่ทรงปฏิบัติบูชาต่อไป

จึงมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งให้สถาปนาสมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ขึ้นเปนสมเด็จพระพันวัสสา มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระศรีวรินทิรา- บรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า

ในปีจอ พ.ศ. ๒๔๗๗ รัชกาลที่ ๘ โดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จ- พระเจ้าอยู่หัวได้ออกประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ให้ออกพระนามว่า สมเด็จพระศรีสวรินทิรา- บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

สวรรคตในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีมะแม สัปตศก จุลศักราช ๑๓๑๗ ตรงกับวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๘

พระชนมายุ ๙๓ พรรษา

“พี่อรพิน” (พระองค์เจ้าหญิงอรพินทุ์เพ็ญภาค)

ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีระกา เบญจศก จุลศักราช ๑๒๓๕ ตรงกับวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๖ ลำดับที่ ๒๕ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๘ เมื่อวันศุกร์ เดือน ๕ แรม ๘ ค่ำ ปีกุน สัปตศก จุลศักราช ๑๒๙๗ ตรงกับวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘

พระชันษา ๖๓ ปี

“ป้าโสม” (พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา)

ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๘ ค่ำ ปีชวด จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๑๔ ตรงกับวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๕ ลำดับที่ ๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๔๖ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระยศสถาปนาขึ้นเป็น กรมหลวง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า ในการพระราช- พิธีฉัตรมงคลครั้งนี้ ประจวบปีซึ่งได้เสด็จดำรงสิริราชสมบัติมาครบสองเท่ารัชกาลที่ ๔ พระราชรำพึงถึงพระเดช- พระคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ควรจะยกย่องพระราชธิดาพระองค์ใด พระองค์หนึ่งขึ้นเปนพระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน ให้เปนพระเกียรติยศดังพระราชประเพณีเคยมีมาแต่ก่อน

จึงทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา เปนพระเจ้าลูกเธออัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระเมตตามาก ได้ฉลองพระเดชพระคุณสนิทมากยิ่งกว่าพระองค์อื่นๆ ด้วยทรงพระปรีชาว่องไวในราชกิจทั้งปวงและมีพระอัธยาศัยโอบอ้อมอารี กว้างขวางในหมู่พระบรมวงศ์ และ ข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ทั้งได้เปนที่สนิทชิดชอบพระราชอัธยาศัยในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทแต่ยังทรง พระเยาว์มาก ได้ทรงมีอุปการะในกิจการต่างๆ เปนอันมาก ครั้นภายหลังมาก็ได้ทรงรับเลี้ยงสมเด็จพระบรม- วงศานุวงศ์ ทรงพระอุตสาหดำริกะการและบอกกล่าวบังคับบัญชาการฝ่ายในให้สำเร็จไปตามพระราชประสงค์และ ราชประเพณี ทรงพระปรีชาสามารถในราชกิจเก่าใหม่ตั้งพระหฤทัยจงรักภักดีเปนอันมาก บัดนี้ทรงเจริญวัยวุฒิเปน ผู้ใหญ่ในราชตระกูลสมควรที่จะดำรงพระเกียรติเปนพระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายในพระองค์หนึ่ง

จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดีศรีรัตนราชธิดา เปน พระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าพี่นางเธอ กรมหลวงสมรรัตคนสิริเชษฐ วรรคบริวาร ทรงศักดินา ๑๕,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง

เจ้ากรม เปนหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ ถือศักดินา ๖๐๐
ให้ทรงตั้ง ปลัดกรม เปนขุนพิเศษสรรพกิจผดุง ถือศักดินา ๔๐๐
สมุหบาญชี เปนหมื่นบำรุงบริวาร ถือศักดินา ๓๐๐

ในรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้ดูแลรักษากุญแจพระบรมมหาราชวังชั้นในมาจนตลอดรัชกาล สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันอังคาร เดือน ๖ แรม ๔ ค่ำ ปีมะแม ตรีศก จุลศักราช ๑๒๙๓ ตรงกับวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๔

พระชนมายุ ๗๙ ปี

ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง (ท่านเป็นธิดาพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)

“เสด็จน้า”  (พระองค์เจ้าหญิงเสาวภาผ่องศรี)

ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย แรม ๗ ค่ำ ปีกุน เบญจศก จุลศักราช ๑๒๒๕ ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๖ ลำดับที่ ๖๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชการที่ ๕ โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศ เฉลิมพระเกียรติดังนี้

พระนางเธอ เสาวภาผ่องศรี
พ.ศ. ๒๔๒๔ พระนางเจ้า เสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี
พ.ศ. ๒๔๓๗ สมเด็จพระนางเจ้า เสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี
พ.ศ. ๒๔๔๐ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
พ.ศ. ๒๔๔๐ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์ ขณะที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป
พ.ศ. ๒๔๕๓ ในรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระราชอิสริยยศขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี

เสด็จสวรรคตเมื่อวันจันทร์ เดือน ๑๑ แรม ๑๑ ค่ำ ปีมะแม เอกศกจุลศักราช ๑๒๘๑ ตรงกับวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๒

พระชนมายุ ๕๗ พรรษา

ที่ ๕ ในสมเด็จพระปิยมาวดี

“น้องชายน้อย”  (สมเด็จเจ้าฟ้าชายสมมติวงศ์วโรทัย ศตสมัยมงคลเขตร บรมนฤเบศร์จักรีวงศ์ จุฬาลงกรณนาถนรินทร์ สยามินทรราชวโรรส อุกฤษฐวรยศอุภัยปักษ์ วิสุทธิศักดิอรรควิมลรัตน์ขัตติยาราชกุมาร)

ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน ๗ แรม ๘ ค่ำ ปีมะเมีย จักตวศก จุลศักราช ๑๒๔๔ ตรงกับวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๕ ลำดับที่ ๔๐ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อปีเถาะ ตรีศก จุลศักราช ๑๒๕๓ พ.ศ. ๒๔๓๔ รัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าฟ้า กรมขุน- ศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์

จึงมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทให้สถาปนา พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าชายทั้งสองพระองค์ ขึ้นเปนสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าต่างกรมพระองค์หนึ่ง มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศวโรทัย ศตสมัยมงคลเขต บรมนฤเบศร์จักรีวงศ์ จุฬาลงกรณนาถ- นรินทร์ สยามินทรราชวโรรส อุกฤษฐวรยศอุภัยปักษ์ วิสุทธิศักดิ์อรรควิมลรัตน์ ขัตติยราชกุมาร กรุมขุนศรีธรรมราช- ธำรงฤทธิ์ อัชนาม

เจ้ากรม เปนขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ ถือศักดินา ๘๐๐
ให้ทรงตั้ง ปลัดกรม เปนหมื่นสิทธิศรีสัตนาคนหุต ถือศักดินา ๖๐๐
สมุหบาญชี เปนหมื่นวิสุทธิตรังกานูพล ถือศักดินา ๓๐๐

โปรดเกล้าฯ ให้ทรงกำกับกรมมหาดเล็ก

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันเสาร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีกุล เอกศก จุลศักราช ๑๒๑๖ ตรงกับวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๒

พระชันษา ๑๘ ปี

ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ ๔ ในสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี

“น้องชายเล็ก” (สมเด็จเจ้าฟ้าชายจักรพงศ์ภูวนาถ นริศรราชมหามกุฎวงศ์ จุฬาลงกรณนรินทร์ สยาม พิชิตินทรวรางกูร สมบูรณ์พิสุทธิชาติ วิมดลภาสอุภัยปักษ์ อรรควรรัตน์ ขัตติยราชกุมาร)

ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๓ แรม ๙ ค่ำ ปีมะเมีย จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๔๔ ตรงกับวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ.

๒๔๒๕ ลำดับที่ ๔๓ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อทรงพระเยาว์ได้ศึกษาวิชาภาษากับพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) และขุนบำนาญวรรัตน์ (สิงห์โต) ในพระบรมมหาราชวังต่อเมื่อตั้งโรงเรียนราชกุมารแล้วก็ให้ทรงเข้าเรียนเป็นรุ่นแรกได้ทรงศึกษาอังกฤษกับ นายวุลสเลย์ ลูวิส และนายเอคอลฟิลค์เยมส์

ในปีเถาะ ตรีศก จุลศักราช ๑๒๕๓ พ.ศ. ๒๔๓๔  รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพิษณุโลกประชานาถ ได้เสด็จไปทรงศึกษาทางวิชาการ ณ ประเทศอังกฤษ แล้วเสด็จ ไปประทับอยู่ในราชสำนักสมเด็จพระเจ้านิโคลัสที่ ๒ เอมปเรอรุสเซีย ได้ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ซึ่งเป็นทั้งโรงเรียนทหารบกด้วย

เมื่อปีกุน ตรีศก จุลศักราช ๑๒๗๓ พ.ศ. ๒๔๕๔ รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเปน สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ

ครั้งเมื่อเสร็จการศึกษาแล้ว เสด็จกลับคืนเข้ามาสู่พระมหานคร ก็ให้ทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในตำแหน่งหน้าที่สำคัญในแผนกทหารบก นับจำเดิมตั้งแต่ทรงรับ ตำแหน่งเปนผู้บัญชาการโรงเรียนทหารบกและกรมยุทธศึกษาแล้ว ก็ได้ทรงอุตสาหะจัดวางระเบียบการศึกษา ฝ่ายทหารบกให้จำเริญรุ่งเรืองขึ้นยิ่งกว่าเก่าเปนอันมาก ในรัชกาลที่ ๖ นี้ เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง สภาการทัพขึ้น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอก็ทรงได้รับตำแหน่งเลขานุการแห่งสภานั้น นับว่าเปนการเพิ่มหน้าที่ ราชการสำคัญขึ้นอีกส่วนหนึ่ง

ครั้นเมื่อกำหนดมีงานราชาภิเษกพระเจ้ายอชที่ ๕ แห่งกรุงอังกฤษได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ พระเจ้าน้องยาเธอฯ เสด็จออกไปช่วยงานนี้ต่างพระองค์ทั้งได้เสด็จไปเยี่ยมราชสำนักต่างประเทศอีกหลายแห่ง และได้ทรงมอบให้ตรวจการงานต่างๆ อีกหลายอย่างอันจะนำประโยชน์ให้บังเกิดมีมาแก่ราชการกรุงสยาม สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ ก็ได้เสด็จไปโดยเรียบร้อย นับว่าเหมือนหนึ่งได้ทรงนำพระเกียรติยศไปประกาศให้ ปรากฏแก่นานาประเทศ

จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้เลื่อนสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงศภูวนาถ กรมขุนพิษณุโลก- ประชานาถ ขึ้นเปนสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้า- น้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงศภูวนาถ นริศรราชมหามกุฎวงศ์ จุฬาลงกรณนรินทร์ สยามพิชิตินทรวรางกูร สมบูรณพิสุทธิ- ชาติ วิมโลภาสอุภัยปักษ์ อรรควรรัตน์ ขัตติยราชกุมาร กรมหลวงพิษณุโลก ประชานาถสิงหนาม ให้ทรงศักดินา ๕๐,๐๐๐ ตามพระราชกำหนด อย่างสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้า ต่างกรมในพระบรมราชตระกูลอันสูงศักดิ์

เจ้ากรม เปนหลวงพิษณุโลกประชานาถ ถือศักดินา ๘๐๐
ให้ทรงตั้ง ปลัดกรม เปนขุนมาตยหริภุญไชย ถือศักดินา ๖๐๐
สมุหบาญชี เปนกลันตาไนสุริยพล ถือศักดินา ๔๐๐

ทรงเป็นจอมพลทหารบก เสนาธิการทหารบก ราชองค์รักษ์

เสด็จทิวงคตที่เมืองสิงคโปร์ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๗ แรม ๑๒ ค่ำ ปีวอก โทศก จุลศักราช ๑๒๘๒ ตรงกับวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๓ พระชนมายุ ๓๘ ปี

รัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนาพระเกียรติยศเป็น สมเด็จพระอนุชาธิราช พระราชทานเศวตฉัตร ๕ ชั้น

ทรงเป็นต้นราชสกุล จักรพงศ์

ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ ๔ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ

ทรงมีพระโอรส คือ หม่อมเจ้าจุลจักรพงศ์

ประสูติวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๐

วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า

สิ้นพระชนม์วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๖

หม่อมคัทรินท เคสนิทสกี้ (หม่อมคัทริน มาแต่คฤหบดีชาวประเทศรุสเซีย)

“น้องชายยุคล”  (พระองค์เจ้าชายยุคลทิฆัมพร บดินทรเทพยนิพันธ์ ขัตติยราชกุมาร)

ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๔ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีมะเมีย จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๔๔ ตรงกับ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๕ ลำดับที่ ๔๔ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในปีชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๕๐ พ.ศ. ๒๔๓๑ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศเป็นเจ้าฟ้า มีประกาศดังนี้

ในปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๓๔ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มพระเกียรติยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร จุฬาลงกรณ์ราชรวิวงศ์ อุภัยพงศพิสุทธิ์ วรุตโตสุชาต  บรมนฤนาถราชกุมาร กรมหมื่นลพบุราดิศร ได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ได้เป็นแบชเลอร์  ออฟ อาร์ต ของมหาวิทยาลัยเคมเบริดช์ เสด็จกลับมารับราชการ

ในปีมะเมีย อัฐศก จุลศักราช  ๑๒๖๘ พ.ศ. ๒๔๔๙ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มพระเกียรติยศขึ้น เป็นกรมขุน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพรเปนสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธออันสูงศักดิ์ ได้ตามเสด็จพระราชดำเนิน ออกไป ณ ประเทศยุโรป แล้วเสด็จอยู่ทรงศึกษาในประเทศอังกฤษโดยลำดับ จนถึงได้เข้าในมหาวิทยาลัย เคมบริดช์ ได้ทรงสอบสวนวิชาการรับประกาศนียบัตรเต็มที่บริบูรณ์เสร็จแล้ว จึงเสด็จกลับเข้ามารับราชการ ฉลองพระเดชพระคุณ ณ กรุงเทพฯ นับว่าเปนหลักเปนพยานในการที่ทรงพระปรีชาสามารถรอบรู้ในวิทยาเปนอันดี บัดนี้ทรงเจริญพระชนมายุ สมควรที่จะได้ดำรงตำแหน่งเจ้าฟ้าต่างกรมผู้ใหญ่พระองค์หนึ่งตามราชประเพณีที่มีมา แต่ปางก่อนได้

จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร ซึ่งแต่ก่อนได้ ดำรงตำแหน่งพระยศเปนเจ้าฟ้ากรมหมื่นลพบุราดิศร เลื่อนขึ้นเปนสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุน มีพระนาม ตามจารึกในพระสุพรรณบักฏว่า

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพรจุฬาลงกรณ์ราชวิวงศ์ อุภัยพงศพิสุทธิ์ วรุตโมภโตสุชาต บรมนฤนาถราชกุมาร กรขุนลพบุรีราเมศวร์ คชนาม ทรงศักดินา ๔๐,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่าง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าต่างกรม ในพระบรมราชตระกูลอันสูงศักดิ์

เจ้ากรม เปนขุนลพบุรีราเมศร์ ถือศักดินา ๘๐๐
ให้ทรงตั้ง ปลัดกรม คงเปนหื่นนันเขตรบำรุง ถือศักดินา ๖๐๐
สมุหบาญชี คงเปนหมื่นยลาผดุงพหล ถือศักดินา ๓๐๐

ได้ทรงเปนข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช

ในรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็นนายพลโทราชองค์รักษ์ สมุหมนตรีตำแหน่งอุปราชมณฑลปักษ์ใต้

ในรัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงฯ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำรัสว่า สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนลพบุรีราเมศร์ ตั้งแต่เสด็จกลับจากประเทศอังกฤษ เมื่อทรงสำเร็จการศึกษา สอบวิชาได้ชั้น บี.เอ. มหาวิทยาลัยเคมบริดช์แล้ว สมเด็จพระบรมชนกนาถได้โปรดเกล้าฯ ให้ทรงรับราชการใน กระทรวงมหาดไทยเปนตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง และเจ้ากรมพลัมภัง แล้วได้เลื่อนเปนตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล มณฑลนครศรีธรรมราช ครั้งถึงรัชกาลที่ ๖ สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชได้โปรดเกล้าฯ ให้ทรงเลื่อนตำแหน่งขึ้นเปน อุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ได้ทรงสำเร็จราชการทั้งมณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลปัตตานี และมณฑลสุราษฎร์ด้วยกัน มาจนตลอดรัชกาล สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้าฯ กรมขุนลพบุรีราเมศร์ ได้ทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณ โดยกำลังพระฉันทะ วิริยะ อุสาหะ อันแรงกล้า กอปรด้วยความสัตย์สุจริตและเมตตาอารี เปนที่นับถือของบรรดา ผู้ซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาทั่วไป ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าที่ยาเธอเจ้าฟ้าฯ กรมขุนลพบุรีราเมศวร์ได้ทนความ ลำบากตรากตรำรับราชการบ้านเมืองมาช้านานมีความชอบมากสมควรจะเลื่อนพระเกียรติยศขึ้นกว่าแต่ก่อน

จึงมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิหนาท ดำรัสสั่งให้เลื่อนกรมสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนลพบุรีราเมศวร์ ขึ้นเปนกรมหลวง มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร จุฬาลงกรณ์ราชรวิวงศ์อภัยพงศพิสุทธิ์ วรุตโมภโตสุชาต บรม    นฤนาถราชกุมาร  กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ คชมาน ทรงศักดินา ๕๐,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างสมเด็จเจ้าฟ้าต่างกรม

เจ้ากรม เปนหลวงลพบุรีราเมศวร์ ถือศักดินา ๘๐๐
ให้ทรงเลื่อน ปลัดกรม เปนขุนนันทเขตอำรุง ถือศักดินา ๖๐๐
สมุหบาญชี เปนหมื่นยลาผดุงพหล ถือศักดินา ๔๐๐

เมื่อปีฉลู สัปตศก จุลศักราช  ๑๒๘๗ พ.ศ. ๒๔๖๘ โปรดเกล้าฯ ให้ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย

ใน พ.ศ. ๒๔๗๓ โปรดเกล้าฯ ให้ทรงเป็นอภิรัฐมนตรี

สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันศุกร์ เดือน ๕ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๙๔ ตรงกับ วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕

พระชันษา ๕๐ ปี

ทรงเป็นต้นราชกุล ยุคล

ที่ ๑ ในหม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์ ซึ่งรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้า สายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฎ และในรัชกาลที่ ๗  โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น   พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา (ทรงเป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี)

หน้า จาก ๒๗ หน้า